ลำดับที่  226. “ถอดต๋ง    หื้อหล่มจ้อง” 

อ่าน (-ถอด-ต๋ง-หื้อ-หล่ม-จ้อง-)

หมายถึง.....วางกลอุบายลวงให้ผู้อื่นหลงกล ได้รับความเสียหาย 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ถอดต๋ง หื้อหล่มจ้อง”            

การนำไปใช้       ระวังอย่าหลงกลอุบายของพวกมิจฉาชีพ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ขุดบ่อล่อปลา”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “ถอดตงให้(ขา)ตกลงช่อง”

ลำดับที่  227. “ถ้าจะกิ่วขอหื้อกิ่วคองู  ถ้าจะอูขอหื้ออูคอจ๊าง”

อ่าน (-ถ้า-จะ-กิ่ว-ขอ-หื้อ-กิ่ว-คอ-งู///ถ้า-จะ-อู--ขอ-หื้อ-อู-คอ-จ๊าง-)

หมายถึง….แม้ยากจนเข็ญใจ  สิ้นไร้ไม้ตอก   ควรดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี  ดิ้นรนทำมาหากินด้วยตนเอง

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ถ้าจะกิ่วขอหื้อกิ่วคองู   ถ้าจะอูขอหื้ออูคอจ๊าง” 

การนำไปใช้       รักศักดิ์ศรีตนเอง ขยันทำมาหากิน อย่างอมืองอเท้า

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “คอดกิ่วให้เหมือนคองู(น่าเกรง) จะอู(อวบกลม)ให้เหมือนคอช้าง 

ลำดับที่  228. “ถางเผี้ยวป่าไม้    หื้อเป๋นป่าหญ้า    เต้ากับสร้างป่าจ๊า    ไว้หื้อลูกหลาน”

อ่าน  (-ถาง-เผี้ยว-ป่า-ไม้///หื้อ-เป๋น-ป่า-หย้า///เต้า-กับ-สร้าง-ป่า-จ๊า///ไว้-หื้อ-ลูก-หลาน-)

หมายถึง…..ตัดไม้ทำลายป่าผลาญทรัพยากรธรรมชาติ อนาคตลูกหลานพินาศวอดวาย  

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ถางเผี้ยวป่าไม้หื้อเป๋นป่าหญ้า เต้ากับสร้างป่าจ๊าไว้หื้อลูกหลาน”

การนำไปใช้        ช่วยกันส่งเสริมอนุรักษ์ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ป่าไม้คือชีวิตอย่าคิดทำลาย”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ตัดไม้ทำลายป่าเท่ากับสร้างป่าช้าให้ลูกหลาน”

ลำดับที่  229. “ถ่านไฟเก่าขี้เต้ามันยัง”  อ่าน (-ถ่าน-ไฟ-เก่า-ขี้-เต้า-มัน-ยัง--)

หมายถึง.....คนเคยรักกัน เคยมีสัมพันธ์กันมาก่อน ย่อมจะกลับคืนดีหรือสานสัมพันธ์กันใหม่ได้ง่ายดาย            กำบ่าเก่าจึงว่า     “ถ่านไฟเก่า  ขี้เต้ามันยัง”   

การนำไปใช้        ระวังความสัมพันธ์ที่ผิดศีลธรรมอันดีงาม

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ถ่านไฟเก่า///วัวเคยขาม้าเคยขี่”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ถ่านไฟเก่าขี้เถ้ายังมีอยู่”

 

 

 

ลำดับที่  230. “ถามนักได้ปัญญา    นั่งผ่อหน้าได้ก้าก้นด้าน”

อ่าน (-ถาม-นัก-ได้-ปั๋น-ยา///นั่ง-ผ่อ-หน้า-ได้-ก้า-ก้น-ด้าน-)

หมายถึง....ถามมากรู้มาก ถามน้อยรู้น้อย  ไม่ถามไม่รู้  ไม่ดูไม่เห็น  ไม่ทำก็ไม่เป็น 

กำบ่าเก่าจึงว่า       “ถามนัก  ได้ปั๋ญญา นั่งผ่อหน้า  ได้ก้าก้นด้าน”  

การนำไปใช้        ใช้หลัก  สุ  จิ  ปุ  ลิ  (ฟัง  คิด  ถาม  เขียน)

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “อยากรู้ให้ถาม  อยากงามให้แต่ง”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ถามมากได้ปัญญา นั่งมองหน้าได้แค่ก้นด้าน”

ลำดับที่  231. “ถ้วยแตกแล้ว  เอามาเตาะต่อกั๋น  ตี้ไหนจามัน  จะหายแตกร้าว”

อ่าน   (-ถ้วย-แตก-แล้ว///เอา-มา-เตาะ-ต่อ-กั๋น///ตี้-ไหน-จา-มัน///จะ-หาย-แตก-ร้าว-)

หมายถึง....คนเราถ้ามีเรื่องทะเลาะกัน  การที่จะกลับมาคืนดีกันดังเดิมเป็นเรื่องที่ยาก 

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ถ้วยแตกแล้ว  เอามาเตาะต่อกั๋น  ตี้ไหนจามัน  จะหายแตกร้าว” 

 การนำไปใช้       อย่าให้เกิดเรื่องทะเลาะกัน  ควรมีไมตรีต่อกัน  รักใคร่ปรองดองกัน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “แก้วร้าวยากประสาน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ถ้วยแตกแล้วเอามาต่อกัน  มีที่ไหนกันจะหายแตกร้าวได้”

ลำดับที่  232. “ถึงจะอยู่ขวงเงินขวงคำ  บ่เต้าฝนฮำแสนห่า” 

อ่าน (-ถึง-จะ-หยู่-ขวง-เงิน-ขวง-คำ///บ่อ-เต้า-ฝน-ฮำ-แสน-ห่า-) 

หมายถึง.....มนุษย์และสรรพสัตว์ย่อมต้องการมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างอิสระ มีเสรีภาพ        

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ถึงจะอยู่ขวงเงินขวงคำ  บ่เต้าฝนฮำแสนห่า” 

 การนำไปใช้        ใช้ชีวิตอย่างเสรีจะมีความสุข

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “กรำฝนแสนห่า  ยังสุขใจกว่า   อยู่กรงทองคำ” 

ลำดับที่  233. “ถึงเป๋นเจ้าจ๊าง   มหาเศรษฐี   จื่อเสียงบ่ดี   ไผบ่อวดอ้าง   จื่อเสียงเฮาดี  

ถึงต๋ายกระด้าง  ก็ยังมีคนอวดไว้”อ่าน  (-ถึง-เป๋น-เจ้า-จ๊าง-//มะ-หา-เสด-ถี//จื่อ-เสียง-บ่อ-ดี//ไผ-บ่อ-อวด-อ้าง-//จื่อ-เสียง-เฮา-ดี/// ถึง-ต๋าย-กะ-ด้าง/// ก่อ-ยัง-มี-คน-อวด-ไว้)

หมายถึง......คนร่ำรวยจากการทำชั่ว  สร้างฐานะจากอาชีพทุจริต ย่อมไม่มีใครสรรเสริญ  แต่คนยากจนที่ทำความดี  แม้ตายไปผู้คนยังเล่าลือในคุณงามความดี  ให้การยกย่องสรรเสริญ                     

 กำบ่าเก่าจึงว่า    “ถึงเป๋นเจ้าจ๊าง มหาเศรษฐี  จื่อเสียงบ่ดี  ไผบ่อวดอ้าง จื่อเสียงเฮาดี ถึงต๋ายกระด้าง 

ก็ยังมีคนอวดไว้”                    การนำไปใช้       การทำความดีมีคุณค่ากว่าการร่ำรวยทรัพย์สินเงินทอง(แต่ทำชั่ว)เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “แม้เป็นเจ้าของช้างเป็นมหาเศรษฐี ชื่อเสียงไม่ดี คนไม่สรรเสริญ  ถ้าเราทำความดี  แม้ตายไปแล้วก็ยังมีคนสรรเสริญ”

ลำดับที่  234. “ทำดีร้อยหน   เสียงคนเงียบมุด   ฟังหาบ่ได้กำเดียว   ความดีเฮานั้น   

ไผบ่แลเหลียว   ทำชั่วหนเดียว   คนเล่าตึงบ้าน

อ่าน  (-ทำ-ดี-ร้อย-หน///เสียง-คน-เงียบ-มุด///ฟัง-หา-บ่อ-ได้-กำ-เดียว///ความ-ดี-เฮา-นั้น///

ไผ-บ่อ-แล-เหลียว///ทำ-ชั่ว-หน-เดียว///คน-เล่า-ตึง-บ้าน-)

หมายถึง..…ทำดีร้อยครั้ง  ไม่เท่าทำชั่วเพียงครั้งเดียว        กำบ่าเก่าจึงว่า    “ทำดีร้อยหน    เสียงคนเงียบมุด   ฟังหาบ่ได้กำเดียว   ความดีเฮานั้น  ไผบ่แลเหลียว   ทำชั่วหนเดียว  คนเล่าตึงบ้าน”  

การนำไปใช้    ควรกระทำแต่ความดี แม้ไม่มีใครรู้เราก็มีความสุขใจ  

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ปิดทองหลังพระ”  

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ทำดีร้อยครั้ง  ไม่มีใครแลเหลียว  ทำชั่วครั้งเดียว คนนินทาทั้งเมือง”