ลำดับที่  201. “ตกก่อนเป๋นขุน  ตกลูนเป๋นไพร่” อ่าน  (-ตก-ก่อน-เป๋น-ขุน/// ตก-ลูน-เป๋น-ไพร่-)

หมายถึง....การเริ่มก่อน เร่งขยันหมั่นทำกินตอนมีโอกาส  ตอนมีกำลังแข็งแรง ย่อมเจริญก้าวหน้ากว่า

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ตกก่อนเป็นขุน  ตกลูนเป๋นไพร่” 

 การนำไปใช้      การทำงานอย่ามัวรอเวลา ควรลงมือทำ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “การเริ่มต้นที่ดีเท่ากับสำเร็จไปครึ่งหนึ่ง”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “มาก่อนเป็นขุนแน่   มาทีหลังเป็นไพร่”

ลำดับที่  202.  “ตุ๊กข์บ่ได้กิ๋น   บ่มีไผต๋ามไฟส่องต๊อง  ตุ๊กข์บ่ได้นุ่งได้หย้อง  ปี้น้องดูแควน”

อ่าน  (-ตุ๊ก-บ่อ-ได้-กิ๋น/บ่อ-มี-ไผ-ต๋าม-ไฟ-ส่อง-ต๊อง/ตุ๊ก-บ่อ-ได้-นุ่ง-ได้-หย้อง/ปี้-น้อง-ดู-แควน-)

หมายถึง.....ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่  

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ตุ๊กข์บ่ได้กิ๋น  บ่มีไผต๋ามไฟส่องต๊อง  ตุ๊กข์บ่ได้นุ่งได้หย้อง  ปี้น้องดูแควน”   

การนำไปใช้       ควรความเป็นอยู่  พอสมควรตามฐานะ    อย่าเด่นหรือด้อยจนเกินไป ทั้งเรื่องการกิน 

การแต่งกาย อย่าให้ผู้อื่นนินทาว่าเป็นคนขี้เหนียว

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ไก่งามเพราะขน  คนงามเพราะแต่ง”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ไม่มีกินใครไม่ใส่ใจ ยากจนไม่ได้แต่งกายพี่น้องดูถูกดูแควน”

ลำดับที่  203. “ตกต่าเปิ้นเป๋นดีใคร่หัว    ตกต่าตั๋วเป๋นดีใคร่ไห้”

อ่าน  (-ตก-ต่า-เปิ้น-เป๋น-ดี-ใค่-หัว///ตก-ต่า-ตั๋ว-เป๋น-ดี-ใค่-ไห้-)

หมายถึง....เห็นคนอื่นโชคร้ายดูน่าขบขัน  ถึงคราวตนเองประสบเคราะห์กรรมจึงรู้สึกถึงความลำบาก

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ตกต่าเปิ้น    เป๋นดีใคร่หัว  ตกต๋าตั๋ว   เป๋นดีใคร่ไห้” 

 การนำไปใช้       เห็นใจผู้ประสบเคราะห์  ช่วยเหลือได้ให้ช่วยเหลือ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “หัวเราะทีหลังดังกว่า///ทีใครทีมัน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ทีคนอื่นน่าหัวเราะ  ถึงคราวตนเองอยากร้องไห้”

ลำดับที่  204. “ตกน้ำหื้อปอเปียะ”  (-ตก-น้ำ-หื้อ-ปอ-เปียะ-)

หมายถึง…..ได้ลงมือทำแล้วก็ทำต่อเนื่องจนสำเร็จเรียบร้อยมีความสมบูรณ์ทำให้คุ้มค่ากับที่ได้ลงทุนไป          กำบ่าเก่าจึงว่า     “ตกน้ำหื้อปอเปียะ”   

การนำไปใช้        ลงมือทำจริงจัง  มีความตั้งใจอยากเห็นความสำเร็จ

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “ตกน้ำให้มันเปียกไปเลย

ลำดับที่ 205.  “ตดบ่เป๋นปูด” อ่าน  (-ตด-บ่อ-เป๋น-ปูด-)

หมายถึง…..ทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง ไม่มีเวลาพักผ่อนหรือไม่มีเวลาเป็นของตนเอง

กำบ่าเก่าจึงว่า      “ตดบ่อเป๋นปูด”  

การนำไปใช้        ควรพักผ่อนร่างกายบ้าง  ป่วยไข้ขึ้นมาจะลำบาก

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “สายตัวแทบขาด”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ตดไม่เต็มที่”  (เพราะทำงานหนักตลอดเวลา)

ลำดับที่  206. “ตดบ่จ้างตดขี้ก็ออก    หยอกบ่จ้างหยอกก็ผิดกั๋น”

อ่าน  (-ตด-บ่อ-จ้าง-ตด-ขี้-ก่อ-ออก///หยอก-บ่อ-จ้าง-หยอก-ก่อ-ผิด-กั๋น-)

หมายถึง…..ควรรู้กาลเทศะ รู้จักสำรวมกริยาวาจา รู้ว่าบางเรื่องหยอกล้อได้แต่บางเรื่องใดเป็นเรื่องจริงจัง            กำบ่าเก่าจึงว่า    “ตดบ่จ้างตดขี้ก็ออก   หยอกบ่จ้างหยอกก็ผิดกั๋น”   

การนำไปใช้     ควรวางตัวสำรวมเหมาะสม  ถูกกาลเทศะ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “กาลเทศะ”(-กา-ละ-เท-สะ-ความควรไม่ควร)

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ถ้าตดไม่เป็น  ระวังขี้ไหล  หยอกไม่เป็นมีเรื่อง”

ลำดับที่  207. “ตดหื้อหมาดม”  อ่าน  (-ตด-หื้อ-หมา-ดม-)

หมายถึง.....หลอกลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อ หลอกให้หลงดีใจ   กำบ่าเก่าจึงว่า    “ตดหื้อหมาดม”

การนำไปใช้       อย่าหลอกลวงผู้อื่น

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ขุบ่อล่อปลา”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “ตดให้สุนัขดม”

ลำดับที่  208. “ตดหน้าขี้”  อ่าน  (-ตด-หน้า-ขี้-)

หมายถึง.....แรกๆลงมือทำจริงจัง พอหลังๆปล่อยทิ้งไว้ไม่ใจใส่ ทำไม่สำเร็จ  กำบ่าเก่าจึงว่า   “ตดหน้าขี้”       

การนำไปใช้      อย่าทำเฉพาะตอนเริ่มต้น   ควรทำสิ่งใดอย่างจริงจัง  ทำให้ประสบความสำเร็จ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ท่าดีทีเหลว”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ตดก่อนขี้”

 

 

ลำดับที่  209. “ตอกสั้นหื้อมัดตี้กิ่ว  สิ่วสั้นหื้อสิ่วไม้บาง”

อ่าน  (-ตอก-สั้น-หื้อ-มัด-ตี้-กิ่ว///สิ่ว-สั้น-หื้อ-สิ่ว-ไม้-บาง-)

หมายถึง.....อย่าทำอะไรเกินฐานะความเป็นอยู่   ควรรู้เจียมตัว 

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ตอกสั้นหื้อมัดตี้กิ่ว      สิ่วสั้นหื้อสิ่วไม้บาง” 

การนำไปใช้  รู้เจียมตัว  รู้ประมาณตนเอง

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เจียมตัว”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ตอกสั้นมัดที่คอดกิ่ว สิ่วสั้นให้สิ่วไม้บาง(ไม้หนาสิ่วไม่ทะลุ)”

ลำดับที่  210. “ต๋ามีหน้า  ผ่อหน้าบ่อหัน”  อ่าน  (-ต๋า-มี-หน้า///ผ่อ-หน้า-บ่อ-หัน-)

หมายถึง.....มองไม่เห็นความผิดพลาดของตน ไม่รู้ประมาณตน

กำบ่าเก่าจึงว่า   “ต๋ามีหน้า ผ่อหน้าบ่หัน”    

การนำไปใช้     ควรรู้จักสำรวจตนเองว่าประพฤติปฎิบัติตามความถูกต้องของสังคมหรือไม่

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ไม่ดูเงาหัว”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ตาบนใบหน้า ไม่เคยเห็นตัวเอง”

ลำดับที่  211. “ต๋าหันดายเหมือนควายหันหญ้า    ผัดไปผัดมาแวดแฮ้ว”

อ่าน  (-ต๋า-หัน-ดาย-เหมือน-ควาย-หัน-หญ้า///ผัด-ไป-ผัด-มา-แวด-แฮ้ว-)

หมายถึง....สุดความสามารถที่จะเข้าไปหาผลประโยชน์    

กำบ่าเก่าจึงว่า  “ต๋าหันดายเหมือนควายหันหญ้า  ผัดไปผัดมา แวดแฮ้ว”  

การนำไปใช้   ควรรู้จักระงับจิตใจ  สิ่งใดเกินความสามารถอย่าพยายามไขว่คว้า

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง  “หมาเห็นข้าวเปลือก”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ได้แต่มองหา  เหมือนควายเห็นหญ้า  แต่โดนผูกแร้ว ”

ลำดับที่  212. “ต๋าหล็วกก่อได้   ต๋าใบ้ก่อเสีย”  อ่าน  (-ต๋า-หล็วก-ก่อ-ได้///ต๋า-ใบ้-ก่อ-เสีย-)

หมายถึง.....รู้เท่าทันก็ไม่โดนต้มตุ๋นโดนหลอกลวง 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ต๋าหล็วกก่อได้  ต๋าใบ้ก่อเสีย”             

การนำไปใช้      ศึกษาหาความรู้   เพื่อให้เท่าทันคนอื่น   จะได้ไม่หลงกลใคร

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ตาดีได้  ตาร้ายเสีย”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ถ้าฉลาดได้  รู้น้อยก็เสียท่า  ”

 

 

 

 

ลำดับที่  213. “ต๋ามไฟบ่ดีอ้าปาก    บ่ดีถากไม้เข้าหามือ”

อ่าน  (-ต๋าม-ไฟ-บ่อ-ดี-อ้า-ปาก///บ่อ-ดี-ถาก-ไม้-เข้า-หา-มือ-)

หมายถึง.....ทำงานใช้เครื่องมือต้องนึกถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก

กำบ่าเก่าจึงว่า   “ต๋ามไฟบ่ดีอ้าปาก      บ่ดีถากไม้เข้าหามือ” 

การนำไปใช้     ควรยึดหลักความปลอดภัย  จุดไฟอ้าปากควันเข้าปาก  ถากไม้เข้าหามือคมมีดจะโดนมือ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ปลอดภัยไว้ก่อน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “จุดไฟอย่าอ้าปาก  อย่าถากไม้เข้าหามือ”

ลำดับที่  214.  “ต๋ามใจ๋ปากลำบากต๊อง    กิ๋นหลายต๊องแตก     แบกหลายหลังหัก”

อ่าน  (-ต๋าม-ใจ๋-ปาก-ลำ-บาก-ต๊อง///กิ๋น-หลาย-ต๊อง-แตก///แบก-หลาย-หลัง-หัก-)

หมายถึง.....การระมัดระวังดูแลสุขภาพ  อย่าทานอาหารตามใจปาก อยากทานอะไรก็ทาน   หรือทานมาก

อาจเกิดผลเสียกับกระเพาะตนเอง  ส่วนการแบกหามถ้าหนักเกินกระดูกสันหลังจะหักได้   

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ต๋ามใจ๋ปาก ลำบาก ต๊อง กิ๋นหลายต๊องแตก แบกหลายหลังหัก” 

การนำไปใช้       ดูแลรักษาสุขภาพตนเอง

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง  “ตามใจปาก  ลำบากท้อง”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ถ้าตามใจปาก  จะลำบากท้อง   แบกมากควรตรอง   หลังตนจะหัก”

ลำดับที่  215.  “ต๋ามใจ๋ปล๋าจะกินเบ็ด    ต๋ามใจ๋เป็ดจะกิ๋นหอย”

อ่าน  (-ต๋าม-ใจ๋-ป๋า-จะ-กิน-เบ็ด///ต๋าม-ใจ๋-เป็ด-จะ-กิ๋น-หอย)

หมายถึง.....อะลุ้มอล่วยกันตามความชอบใจ

กำบ่าเก่าจึงว่า   “ต๋ามใจ๋ปล๋าจะกินเบ็ด ต๋ามใจ๋เป็ดจะกิ๋นหอย”

การนำไปใช้     ควรอะลุ้มอล่วยกัน  อยู่กันอย่างพี่น้อง ใครชอบแบบไนก็ตามใจกันไปไม่ขัดข้อง

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง  “สมานฉันท์//บัวไม่ให้ช้ำ  น้ำไม่ให้ขุ่น//ถ้อยทีถ้อยอาศัย”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ตามใจปลาจะกินเบ็ด ตามใจเป็ดจะกินหอย”

ลำดับที่  216. “ตี้ฟันบ่หัก    ตี้ฮักบ่ได้” 

อ่าน (-ตี้-ฟัน-บ่อ-หัก///ตี้-ฮัก-บ่อ-ได้-)

หมายถึง.....ประสบความผิดหวัง ไม่ได้ดังใจปรารถนา ไม่เป็นไปตามความมุ่งหวังตั้งใจ

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ตี้ฟันบ่หัก  ตี้ฮักบ่ได้”    

การนำไปใช้      อย่าท้อแท้    ทำใจให้สงบแล้วเริ่มต้นไหม่

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “อกหัก”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ที่ฟันไม่หัก   ทุ่มใจรักกลับผิดหวัง”

 

ลำดับที่  217. “ตี๋หัวฟากสนั่นหัวฝา”  อ่าน (-ตี๋-หัว-ฟาก-สะ-หนั่น-หัว-ฝา-)

หมายถึง.....การพูดจาหรือกระทำการกระทบกระแทกแดกดันกันโดยทางอ้อม

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ตี๋หัวฟากสนั่นหัวฝา”  การนำไปใช้       อย่าพูดประชดประชันผู้อื่น

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ตีวัวกระทบคราด” 

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ตอกตรงหัวฟาก   กระเทือนหัวฝา 

ลำดับที่  218. “ตี๋เหล็กไหน    เปื๋องถ่านหั้น”   อ่าน   (- ตี๋-เหล็ก-ไหน///เปื๋อง-ถ่าน-หั้น-)

หมายถึง.....กระทำการที่ใด ย่อมเกิดความสิ้นเปลืองกับสถานที่นั้น

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ตี๋เหล็กไหนเปื๋องถ่านหั้น”              

การนำไปใช้ให้    ต้องเสียสละ  อย่าคิดเล็กคิดน้อย ถือเป็นเรื่องธรรมดา

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ตีเหล็กที่ใด  เปลืองถ่านที่นั่น

ลำดับที่  219. “ตุ๊กข์จะไปหนี    มีจะไปอวด”  อ่าน  (-ตุ๊ก-จะ-ไป-หนี///มี-จะ-ไป-อวด-)

หมายถึง.....ครอบครัวมีปัญหาอย่าหนีเอาตัวรอด  และเมื่อร่ำรวยขึ้นมาอย่าอวดมั่งมี 

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ตุ๊กข์จะไปหนี    มีจะไปอวด ” 

 การนำไปใช้       ร่วมสู้ปัญหาที่เข้ามาในครอบครัวอย่างไม่ย่อท้อ  ถ้าร่ำรวยก็ไม่อวดตัว

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ตัดช่องน้อยแต่พอตัว”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ยากจนอย่าหนี (จากครอบครัว)  มั่งมีอย่าอวด)”

ลำดับที่  220. “ตี๋นจ๊างย่ำปากนก”  อ่าน (-ตี๋น-จ๊าง-ย่ำ-ปาก-นก-)

หมายถึง.....ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลผู้มีอำนาจ จะร้องขอความช่วยเหลือจากใครไม่ได้  

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ตี๋นจ๊างย่ำปากนก”  

การนำไปใช้       อย่าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคนชั่ว  จะถอนตัวลำบาก  อาจสังเวยด้วยชีวิต

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “น้ำท่วมปาก ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ตีนช้างเหยียบปากนก”

ลำดับที่  221.ตุ้มผ้าลายหมาจ้างเห่า    ค้นกำเก่าจ้างผิดกั๋น

อ่าน  (-ตุ้ม-ผ้า-ลาย-หมา-จ้าง-เห่า///ค้น-กำ-เก่า-จ้าง-ผิด-กั๋น-)

หมายถึง.....การรื้อฟื้นเรื่องบาดหมางที่ยุติไปแล้วมายุแหย่ จะทำให้เกิดความขัดแย้งกันได้  

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ตุ้มผ้าลายหมาจ้างเห่า  ค้นกำเก่าจ้างผิดกั๋น” 

การนำไปใช้       อย่ารื้อฟื้นเรื่องบาดหมางมาพูดกันอีก

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ฟื้นฝอยหาตะเข็บ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “นุ่งลายหมาเห่า  รื้อฟื้นเรื่องเก่า    จะหมางใจกัน”

ลำดับที่  222.  “เตียวไปเดือดไป  บ่มีคนตั๊ก   เตียวไปตั๊กไป   มีคนตั๊กคนไหว้”

อ่าน  (-เตียว-ไป-เดือด-ไป///บ่อ-มี-คน-ตั๊ก///เตียว-ไป-ตั๊ก-ไป///มี-คน-ตั๊ก-คน-ไหว้-)

หมายถึง.....คนที่มีมนุษยสัมพันธ์ต่อผู้อื่น คนทั่วไปย่อมชื่นชอบ อยากมาพูดคุยด้วย 

กำบ่าเก่าจึงว่า     “เตียวไปเดือดไป   บ่มีคนตั๊ก   เตียวไปตั๊กไป   มีคนตั๊กคนไหว้”   

การนำไปใช้       ควรมีมนุษยสัมพันธ์

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “เดินไปโวยวายไปไม่มีคนทัก  เดินไปทักไปมีคนรักคนไหว้

ลำดับที่  223. “เต๋มว่าพริกหลวง    หมื่นพันห้าร้อย    บ่เต้าพริกหน้อยฟายมือ”

อ่าน   (-เต๋ม-ว่า-พริก-หลวง/// หมื่น-พัน-ห้า-ร้อย///บ่อ-เต้า-พริก-หน้อย-ฟาย-มือ-)

หมายถึง......สิ่งที่มีคุณค่าในตัวมากแม้มีปริมาณน้อย มีคุณค่ากว่าปริมาณมากแต่นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้     กำบ่าเก่าจึงว่า     “เต๋มว่าพริกหลวง หมื่นพันห้าร้อย บ่เต้าพริกหน้อยฟายมือ” 

การนำไปใช้       ให้สำรวจคุณค่าหรือประโยชน์ที่แฝงอยู่  อย่าดูแต่ปริมาณ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เล็กพริกขี้หนู”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “พริกเมล็ดใหญ่ปริมาณมากมาย  ไม่สู้พริกขี้หนูจำนวนเล็กน้อย”

ลำดับที่  224. “ไต่ขัวบ่ป๊น   จะไปฟั่งห่มก้นโยนฮาว”

อ่าน  (-ไต่-ขัว-บ่อ-ป๊น///จะ-ไป-ฟั่ง-ห่ม-ก้น-โยน-ฮาว-)

หมายถึง.....ยังไม่สำเร็จอย่าเพิ่งแสดงความลิงโลดดีใจ 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ไต่ขัวบ่ป๊น จะไปฟั่งห่มก้นโยนฮาว”   

การนำไปใช้      ตั้งใจทำงานให้ประสบผลสำเร็จก่อน 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “ข้ามสะพานยังไม่พ้น  อย่าเพิ่งเขย่าก้น”

ลำดับที่  225. “ต๋ำฮาดียกจ้า ”  อ่าน  (-ต๋ำ-ฮา-ดี-ยก-จ้า-)

หมายถึง.....กระทำด้วยการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ  ถึงจะช้าไปบ้างแต่ได้ผลดี  

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ต๋ำฮาดียกจ้า ”  

การนำไปใช้       อย่าทำอะไรด้วยความรีบเร่งจนเกินไป  ควรพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ช้าๆได้พร้าสองเล่มงาม///ช้าเป็นการนานเป็นคุณ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ตำราดียกช้า”