ลำดับที่ 276.“ป้อกับลูก  เหมือนขี้มูกกับฮูดัง”อ่าน (-ป้อ-กับ-ลูก///เหมือน-ขี้-มูก-กับ-ฮู-ดัง-)

หมายถึง.....ความสัมพันธ์พ่อกับลูกย่อมตัดกันไม่ขาด

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ป้อกับลูก เหมือนขี้มูกกับฮูดัง”  

การนำไปใช้       สายสัมพันธ์พ่อลูกจะให้ขาดจากกันเป็นเรื่องยาก

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “คอหอยลูกกระเดิอก”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “พ่อกับลูกเหมือนขี้มูกกับจมูก 

ลำดับที่  277. “ป้อแม่มี   กิ๋นขว้างโบ๊ะขว้างบ๊ะ   ป้อแม่ต๋ายละ   เป๋นบ่าห่อยนอยจา”

อ่าน  (-ป้อ-แม่-มี///กิ๋น-ขว้าง-โบ๊ะ-ขว้าง-บ๊ะ///ป้อ-แม่-ต๋าย-ละ///เป๋น-บ่า-ห่อย-นอย-จา-)

หมายถึง...คนสุรุ่ยสุร่าย ยามพ่อแม่มีชีวิตคอยดูแลเอาใจใส่   กินทิ้งกินขว้าง  เมื่อสิ้นพ่อแม่ก็สิ้นอนาคต  

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ป้อแม่มี    กิ๋นขว้างโบ๊ะขว้างบ๊ะ   ป้อแม่ต๋ายละ   เป๋นบ่าห่อยนอยจา” 

การนำไปใช้       ควรประหยัดแม้จะร่ำรวยมั่งมีเงินทอง ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายถึงคราวยากจนคนจะสมน้ำหน้า

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “สิ้นไร้ไม้ตอก///หมดเนื้อหมดตัว”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “มีพ่อแม่เลี้ยงดู  กินทิ้งกินขว้าง พ่อแม่สิ้นบุญ  ก็หมดอนาคต ”

ลำดับที่  278. “ป้อแม่ตั๋ว  พระเจ้าคิ่นจั๊น  อย่าหลีกอั้นหนีไป  ละป้อแม่แล้ว   เจ้าจักหาไผ   หนีเหียจากไฟ   ไปเป่าหิ่งห้อย”

อ่าน (-ป้อ-แม่-ตั๋ว//พระ-เจ้า-คิ่น-จั๊น//อย่า-หลีก-อั้น-หนี-ไป//ละ-ป้อ-แม่-แล้ว//เจ้า-จัก-หา-ไผ//หนี-เหีย-จาก-ไฟ//ไป-เป่า-หิ่ง-ห้อย-)

หมายถึง….อย่าทอดทิ้งบิดามารดา  ท่านเปรียบดังพระพรหมของลูก    เป็นเหมือนพระเจ้าองค์แรกในชีวิต 

ที่ให้ความห่วงใยรักใคร่  เลี้ยงดูเรามาตั้งแต่ตัวเล็กๆตีนเท่าฝาหอย  เมื่อเราหนีจากไป จะไปหาใครที่ไหนในโลกมามาทดแทนได้  หรือท่านสิ้นบุญลง  จะหาใครที่ไหนมาเทียบเทียมไม่มีอีกแล้ว 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ป้อแม่ตั๋วพระเจ้าคิ่นจั๊น อย่าหลีกอั้นหนีไป ละป้อแม่แล้ว เจ้าจักหาไผ  หนีเหียจากไฟ  ไปเป่าหิ่งห้อย” 

การนำไปใช้       อย่าทอดทิ้งพ่อแม่ยามท่านชรา  ให้นึกถึงพระคุณท่านที่เลี้ยงดูเรามา   ไม่มีท่านก็ไม่มีเรา

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ผู้บูชาบิดามารดาย่อมเจริญ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “บิดามารดาเปรียบพระเจ้า หนีจากท่านไปแล้ว  จะหาไหนมาเทียมได้    ดั่งหนีจากไฟ   ไปเป่าแสงหิ่งห้อยให้ลุกโชน”

ลำดับที่  279. ป้อเลี้ยงใหญ่แล้ว  ป๊อยกล๋ายเป๋นแหลว  บ่กึ๊ดฮอดแนว  ป้อเลี้ยงยามหน้อย

อ่าน (-ป้อ-เลี้ยง-ใหย่-แล้ว///ป๊อย-ก๋าย-เป๋น-แหลว///บ่อ-กึ๊ด-ฮอด-แนว///ป้อ-เลี้ยง-ยาม-หน้อย-)

หมายถึง.....คนไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดา   ไม่สนใจเรียน  ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต 

โดยไม่คิดถึงตอนเล็กๆที่พ่อแม่อุตส่าห์เลี้ยงดูมาด้วยความยากลำบาก หวังให้ลูกมีอนาคตที่ดี

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ป้อเลี้ยงใหญ่แล้ว   ป๊อยกล๋ายเป๋นแหลว   บ่กึ๊ดฮอดแนว   ป้อเลี้ยงยามหน้อย”

การนำไปใช้       ทดแทนบุญคุณบิดามารดาที่เลี้ยงดูเรามา ด้วยการตั้งใจเล่าเรียนให้ถึงที่สุด

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “เลี้ยงจนเติบใหญ่กลับกลายล้มเหลว ไม่คิดถึงตอนเด็กๆที่พ่อแม่เลี้ยงมา”

 

 

ลำดับที่  280. “ปล๋าตั๋วเดียวเน่าตึงซ้า”  อ่าน  (-ป๋า-ตั๋ว-เดียว-เน่า-ตึง-ซ้า-)

หมายถึง.....คนเดียวไปก่อเรื่องเสื่อมเสียไว้ ทำให้หมู่คณะต้องพลอยเสียชื่อเสียงไปด้วย

กำบ่าเก่าจึงว่า      “ปล๋าตั๋วเดียวเน่าตึงซ้า”   

การนำไปใช้        ช่วยกันรักษาชื่อเสียงของหมู่คณะ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ปลาตัวเดียวเน่าทั้งตะกร้า”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ปลาตัวเดียวเน่าทั้งตะกร้า”

ลำดับที่   281. “ปากเป๋นธรรม   ใจ๋ดำปั๋นเห่าห้อม”

อ่าน  (-ปาก-เป๋น-ทำ///ใจ๋-ดำ-ปั๋น-เห่า-ห้อม-)

ลำดับที่  282. “ปากว่าแต๊    น้ำใจ๋บ่ต๋าม    อู้เอางาม    น้ำใสซ่วยหน้า”

อ่าน  (-ปาก-ว่า-แต้///น้ำ-ใจ๋-บ่อ-ต๋าม///อู้-เอา-งาม///น้ำ-ใส-ซ่วย-หน้า-)

ลำดับที่  283. “ปากหวานก้นส้ม  ตางในขมเหมือนบ่าแขว้ง”

อ่าน  (-ปาก-หวาน-ก้น-ส้ม///ตาง-ใน-ขม-เหมือน-บ่า-แขว้ง-)

ลำดับที่  284. “ปากหวานจ้อยๆ   เหมือนน้ำอ้อยป้อกสะเลียม”

อ่าน  (-ปาก-หวาน-จ้อย-จ้อย///เหมือน-น้ำ-อ้อย-ป้อก-สะ-เลียม-)

ลำดับที่  285. “ปากเป๋นธรรม  ใจ๋ดำเหมือนหมิ่นหม้อ”

อ่าน  (-ปาก-เป๋น-ทำ///ใจ๋-ดำ-เหมือน-หมิ่น-หม้อ-)

หมายถึง.....คนพูดจาไพเราะ แต่ในใจคิดไม่ซื่อ   พูดแล้วไม่ทำตามคำพูด  คนดีแต่พูด

กำบ่าเก่าจึงว่า   “ปากเป๋นธรรม ใจ๋ดำปั๋นเห่าห้อม”  “ปากว่าแต๊  น้ำใจ๋บ่ต๋าม   อู้เอางาม   น้ำใสซ่วยหน้า”   “ปากหวานก้นส้ม  ตางในขมเหมือนบ่าแขว้ง”   “ปากหวานจ้อยๆ    เหมือนน้ำอ้อยป้อกสะเลียม”  

“ปากเป๋นธรรม  ใจ๋ดำเหมือนหมิ่นหม้อ”

การนำไปใช้ ให้มีความจริงใจในคำพูด

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ปากปราศรัยใจเชือดคอ///ปากหวานก้นเปรี้ยว”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “พูดจาดีมีศีลธรรม แต่ในใจอำมหิตเหมือนงูเห่า”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ดีแต่พูด”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ปากหวานก้นเปรี้ยว  เจือความขมของมะเขือพวง

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “พูดจาแสนหวาน  เหมือนทานน้ำอ้อย (เคลือบรสสะเดา)”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   พูดจาดีมีศีลธรรม  แต่ใจดำเหมือนเขม่าติดก้นหม้อ”

 

 

ลำดับที่  286. “ปากเป๋นลม  เป๋นป๋มตี้แก้ยาก”  อ่าน  (-ปาก-เป๋น-ลม///เป๋น-ป๋ม-ตี้-แก้-ยาก-)

หมายถึง......คำพูดเป็นเพียงลมปาก  แต่ถ้าสื่อควาามหมายไม่ดี  ทำให้เกิดความเข้าใจผิด    ตามแก้ไขยาก 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ปากเป๋นลม   เป๋นป๋มตี้แก้ยาก”  

การนำไปใช้       ระวังการใช้คำพูด  ถ้าไปกระทบผู้อื่นเราจะลำบากจากคำพูด

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “คิดก่อนพูด”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “คำพูดเป็นเพียงลม    แต่เป็นปมที่แก้ยาก”

ลำดับที่  287. “ปะผ้าต้วบยามใกล้แจ้ง  ปะจิ้นแห้งเมื่อเขี้ยวบ่มี   เผื่อมาปะของดี   ก็ปอเฒ่าแก่แล้ว”

อ่าน(-ปะ-ผ้า-ต้วบ-ยาม-ใก้-แจ้ง/ปะ-จิ๊น-แห้ง-เมื่อ-เขี้ยว-บ่อ-มี/เผื่อ-มา-ปะ-ของ-ดี/ก่อ-ปอ-เถ้า-แก่-แล้ว-)

หมายถึง…..ได้สิ่งมีคุณค่าเมื่อเวลาผ่านล่วงเลย  นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้  สายเสียแล้ว          

กำบ่าเก่าจึงว่า   “ปะผ้าต้วบยามใกล้แจ้ง  ปะจิ้นแห้งเมื่อเขี้ยวบ่มี  เผื่อมาปะของดี ก็ปอเฒ่าแก่แล้ว”           

การนำไปใช้     ทำใจยอมรับความจริง

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “พบไม้งามเมื่อยามขวานบิ่น”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ได้ผ้าห่มยามรุ่งแจ้ง  ได้เนื้อแห้งตอนฟันไม่มี  เจอสิ่งดีในวัยชรา”

ลำดับที่  288. “ปี้ฮู้สอง  น้องฮู้หนึ่ง    ปี้ฮู้ป๊อง  น้องฮู้กล่าว”

อ่าน (- ปี้-ฮู้-สอง///น้อง-ฮู้-หนึ่ง///ปี้-ฮู้-ป๊อง///น้อง-ฮู้-กล่าว-)

หมายถึง.....การร่วมกันแก้ปัญหาโดยปรึกษาหารือกันในหมู่ญาติพี่น้อง

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ปี้ฮู้สอง   น้องฮู้หนึ่ง   ปี้ฮู้ปอง   น้องฮู้กล่าว”

การนำไปใช้       ให้ปรึกษาหารือกัน  เพราะแต่ละคนมีความรู้ต่างกัน  นำมาหลอมรวมกันย่อมแก้ปัญหาได้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “หลายหัวดีกว่าหัวเดียว”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “พี่รู้มากกว่าน้อง   พี่ว่าอย่างไร  น้องว่าตาม”

ลำดับที่  289.  “ปี้น้องผิดกั๋น  เหมือนมีดขี้เมี้ยง  เต๋มฝนแล้วหาก   ตึงมี”

อ่าน  (-ปี้-ผิด-น้อง-กั๋น///เหมือน-มีด-ขี้-เมี้ยง///เต๋ม-ฝน-แล้ว-หาก///ตึง-มี-)

ลำดับที่  290. ปี้น้องผิดกั๋น   เหมือนพร้าฟันน้ำ  อย่าผูกมั่นก๋ำเวร

อ่าน  (-ปี้-น้อง-ผิด-กั๋น///เหมือน-พร้า-ฟัน-น้ำ///หย่า-ผูก-หมั้น-ก๋ำ-เวน-)

หมายถึง…..ความสัมพันธ์ในหมู่ญาติพี่น้อง ย่อมตัดกันไม่ขาด เมื่อมีความขัดแย้ง ก็ควรให้อภัยกัน       

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ปี้น้องผิดกั๋นเหมือนมีดขี้เมี้ยง เต๋มฝนแล้วหากตึงมี”

“ปี้น้องผิดกั๋นเหมือนพร้าฟันน้ำ อย่าผูกมั่นก๋ำเวร” การนำไปใช้ให้   เกิดขัดแย้งกันในหมู่ญาติพี่น้องควรรีบทำความเข้าใจแล้วให้อภัยต่อกันเทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เลือดข้นกว่าน้ำ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “พี่น้องผิดใจกัน  ดังมีดขึ้นสนิม  ถ้าลับแล้วย่อมคมเหมือนเดิม”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “พี่น้องทะเลาะกัน เหมือนมีดฟันน้ำ  ย่อมตัดไม่ขาด”

ลำดับที่  291. “เป๋นแก่เป๋นแคว่น   หื้อฮักหมู่   เป๋นปู่เป๋นย่า   หื้อฮักหลาน”

อ่าน  (-เป๋น-แก่-เป๋น-แคว่น///หื้อ-ฮัก-หมู่///เป๋น-ปู่-เป๋น-ย่า///หื้อ-ฮัก-หลาน-)

หมายถึง.....เป็นหัวหน้าเป็นผู้นำต้องรักเมตตาผู้ใต้ปกครอง  เป็นปู่  ย่า  ตา  ยาย  ต้องมีความรักลูกหลาน               กำบ่าเก่าจึงว่า    “เป๋นแก่เป๋นแคว่นหื้อฮักหมู่  เป๋นปู่เป๋นย่าหื้อฮักหลาน ”

การนำไปใช้      เป็นผู้นำต้องดูแลทุกข์สุขของประชาชน  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  ควรเอ็นดูเมตตาลูกหลาน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ดูคนดีดูที่การกระทำ  ดูผู้นำดูที่การเสียสละ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ผู้ใหญ่บ้านและกำนันให้รักประชา   เป็นปู่เป็นย่าต้องรักลูกหลาน”

ลำดับที่  292. “เป๋นคนหื้อมืนต๋ากว้าง    ผ่อหนตางไปไกล๋ๆ”

อ่าน  (-เป๋น-คน-หื้อ-มืน-ต๋า-กว้าง/// ผ่อ-หน-ตาง-ไป-ไก๋ๆ-)

หมายถึง....เป็นคนต้องมองการณ์ไกล  มีวิสัยทัศน์

กำบ่าเก่าจึงว่า    “เป๋นคนหื้อมืนต๋ากว้าง    ผ่อตางไกล๋ๆ”    

การนำไปใช้       เป็นคนต้องคิดการณ์ไกล  วางแผนเผื่อไว้เพื่ออนาคต

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “เป็นคนให้ลืมตากว้างๆ  มองทางไกลๆ”

ลำดับที่  293. “ปี้น้องบ้านไกล๋    กิ๋นของฝาก  ปี้น้องบ้านใกล้    กิ๋นสากมอง”

อ่าน  ( -ปี้-น้อง-บ้าน-ไก๋///กิ๋น-ของ-ฝาก///ปี้-น้อง-บ้าน-ใก้///กิ๋น-สาก-มอง-)

ลำดับที่  294. “ปี้น้องบ้านไกล๋   กิ๋นหัวไก่  ปี้น้องบ้านใกล้   กิ๋นสันมุย”

อ่าน  ( -ปี้-น้อง-บ้าน-ไก๋///กิ๋น-หัว-ไก่///ปี้-น้อง-บ้าน-ใก้///กิ๋น-สัน-มุย-)

หมายถึง......ให้ความสำคัญกับญาติที่อยู่ไกลในเวลามาเยี่ยม  มากกว่าเครือญาติที่อยู่ใกล้ๆ 

กำบ่าเก่าจึงว่า         “ปี้น้องบ้านไกล๋  กิ๋นของฝาก   ปี้น้องบ้านใกล้   กิ๋นสากมอง” 

 “ปี้น้องบ้านไกล๋    กิ๋นหัวไก่  ปี้น้องบ้านใกล้   กิ๋นสันมุย”

การนำไปใช้  ควรดูแลเญาติบ้านใกล้  เพราะเวลามีเรื่องเดือดร้อน   คนที่ช่วยเหลือเราคือญาติที่อยู่ใกล้ๆ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ญาติห่างไกลกินของฝาก  ญาติบ้านใกล้กินสากตำข้าว

ลำดับที่  295. “เป๋นแม่ญิง   จะไปนุ่งซิ่นล้ำตั๋ว  จะไปใคร่หัวล้ำบ้าน”

อ่าน  ( -เป๋น-แม่-ยิง///จะ-ไป-นุ่ง-สิ้น-ล้ำ-ตั๋ว///จะ-ไป-ไค่-หัว-ล้ำ-บ้าน-)

หมายถึง.....เป็นหญิงไม่ควรเสริมแต่งเกินงาม ควรระวังกริยามารยาททำตัวให้สมกุลสตรี

กำบ่าเก่าจึงว่า   “เป๋นแม่ญิงจะไปนุ่งซิ่นล้ำตั๋ว   จะไปใคร่หัวล้ำบ้าน”

การนำไปใช้      เป็นผู้หญิงอย่าทำตัวน่าเกลียด

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “เป็นผู้หญิง  อย่าแต่งกายเกินฐานะ  อย่าหัวเราะดังไปถึงบ้านใกล้เคียง”

ลำดับที่  296. ปี้น้องเป๋นดี  บ่ดีเข้าใกล้  ตั๋วคนยากไร้  ก้มหน้าบกดิน

อ่าน  (-ปี้-น้อง-เป๋น-ดี///บ่อ-ดี-เข้า-ใก้///ตั๋ว-คน-ยาก-ไร้///ก้ม-หน้า-บก-ดิน-)

หมายถึง....คนเจียมเนื้อเจียมตัว ขยันทำมาหากินตามประสา ไม่ไปรบกวนญาติพี่น้อง  

กำบ่าเก่าจึงว่า      “ปี้น้องเป๋นดี  บ่ดีเข้าใกล้  ตั๋วคนยากไร้  ก้มหน้าบกดิน” 

การนำไปใช้        ให้เจียมเนื้อเจียมตัว  ไม่ไปขอความช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง (เราต้องช่วยตัวเองก่อน)

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เจียมเนื้อเจียมตัว///อาศัยลำแข้งตนเอง”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “พี่น้องมั่งมี  อย่ารี่เข้าใกล้  เราคนยากไร้  ก้มหน้าขุดดิน”

ลำดับที่  297. “เป๋นแม่ฮ้างเปิ้นดูฮ้าย  เป๋นแม่หม้ายเปิ้นดูแควน”

อ่าน (-เป๋น-แม่-ฮ้าง-เปิ้น-ดู-ฮ้าย///เป๋น-แม่-หม้าย-เปิ้น-ดู-แควน-)

หมายถึง......ผู้หญิงเมื่อต้องหย่าร้างกับสามี  มักถูกมองไปในทางเสียหายมากกว่าชาย  

กำบ่าเก่าจึงว่า      “เป๋นแม่ฮ้างเปิ้นดูฮ้าย  เป๋นแม่หม้ายเปิ้นดูแควน” 

การนำไปใช้        เป็นหญิงให้ดูแลครอบครัว ระวังเรื่องหย่าร้าง  แม้ตนเองดี  คนก็มักจะเข้าข้างฝ่ายชาย

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “หญิงหย่าร้างโดนนินทาว่าร้าย  เป็นหม้ายเขาดูถูกดูแควน”

ลำดับที่  298. “ปี้น้องเหมือนต๊องขันหมาก  คนใดอยากก็กิ๋น”

อ่าน (-ปี้-น้อง-เหมือน-ต๊อง-ขัน-หมาก///คน-ใด-หยาก-ก่อ-กิ๋น -)

หมายถึง.....ญาติพี่น้องมีความเดือดร้อน   ควรให้ช่วยเหลือกัน  ตามความสามารถ อย่าทอดทิ้งกัน  

กำบ่าเก่าจึงว่า        “ปี้น้องเหมือนต๊องขันหมาก  คนใดอยากก็กิ๋น”  

การนำไปใช้          ดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกันในหมู่ญาติพี่น้อง

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เลือดข้นกว่าน้ำ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “พี่น้องเหมือนสำรับหมาก  ใครอยากก็กิน”

ลำดับที่  299. “เป๋นแม่ญิง   จะไปต๊าป้อจาย  จะไปล้อมฮั้วต๊าควาย   จะไปตี๋ฝายต๊าน้ำ”

อ่าน  (-เป๋น-แม่-ยิง//จะ-ไป-ต๊า-ป้อ-จาย//จะ-ไป-ล้อม-ฮั้ว-ต๊า-ควาย//จะ-ไป-ตี๋-ฝาย-ต๊า-น้ำ-)

หมายถึง....เป็นผู้หญิงควรสำรวมกริยามารยาททำตัวให้เหมาะสม อย่าเป็นคนปากกล้าชอบท้าทายชาย  

กำบ่าเก่าจึงว่า    “เป๋นแม่ญิง  จะไปต๊าป้อจาย  จะไปล้อมฮั้วต๊าควาย   จะไปตี๋ฝายต๊าน้ำ” 

การนำไปใช้       หญิงควรสำรวมกริยามารยาท  อย่าทำเก่งกล้าเกินตัว 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “หญิงอย่าท้าชาย  อย่าล้อมรั้วกันควาย  สร้างฝายกั้นน้ำเชี่ยว”

 

 

ลำดับที่  300. เปอะเปิกนั้น  น้ำหากปาเป๋น  เอาน้ำใสเย็น  ซ่วยเปอะจิ่งเสี้ยง

อ่าน  (-เปอะ-เปิก-นั้น///น้ำ-หาก-ปา-เป๋น///เอา-น้ำ-ใส-เย็น///ซ่วย-เปอะ-จิ่ง-เสี้ยง-)

หมายถึง.....บางสิ่งบางอย่างมีประโยชน์และโทษในตัวเอง

กำบ่าเก่าจึงว่า    “เปอะเปิกนั้น  น้ำหากปาเป๋น  เอาน้ำใสเย็น  ซ่วยเปอะจิ่งเสี้ยง”   

การนำไปใช้         นำด้านที่เป็นประโยชน์มาใช้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “โคลนนั้นเกิดจาก  น้ำใสผสมดิน  ล้างโคลนออกสิ้น  ด้วยน้ำใสใส”

ลำดับที่  301. “เปิ้นกอบหื้อเฮาก๋ำ    เปิ้นก๋ำหื้อเฮากอบ”

อ่าน  (-เปิ้น-กอบ-หื้อ-เฮา-กำ///เปิ้น-ก๋ำ-หื้อ-เฮา-กอบ-)

หมายถึง...... ให้ความร่วมมือในงานของส่วนรวม  ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ไม่นิ่งดูดาย

กำบ่าเก่าจึงว่า     “เปิ้นกอบหื้อเฮาก๋ำ เปิ้นก๋ำหื้อเฮากอบ”  

การนำไปใช้       ทำงานส่วนรวมต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “สามัคคีคือพลัง///น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า///ร่วมด้วยช่วยกัน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “เขากอบให้เรากำ  เขากำให้เรากอบ”

ลำดับที่  302.  “เปิ้นไขปากซ้า  หื้อเฮาอ้าปากเปี๊ยด”

อ่าน  (-เปิ้น-ไข-ปาก-ซ้า///หื้อ-เฮา-อ้า-ปาก-เปี๊ยด-)

หมายถึง.....ทำมาหากินด้วยความขยันกว่าคนอื่น 

กำบ่าเก่าจึงว่า      “เปิ้นไขปากซ้า  หื้อเฮาอ้าปากเปี๊ยด”

การนำไปใช้        ทำงานให้มากกว่าคนอื่นจะสบายในวันหน้า 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ลำบากตอนหนุ่ม  ดีกว่ากลุ้มตอนแก่”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “เขาเปิดตะกร้า   เราเปิดปากกระบุง 

ลำดับที่  303.“เปิ้นบ่หาอย่ากล่าว    เปิ้นบ่ป่าวอย่าไป   เปิ้นบ่ไสอย่าแล่น   เปิ้นบ่แกว่นอย่าเกย”

อ่าน  (-เปิ้น-บ่อ-หา-หย่า-กล่าว/// เปิ้น-บ่อ-ป่าว-หย่า-ไป///เปิ้น-บ่อ-ไส-หย่า-แล่น///

เปิ้น-บ่อ-แกว่น-หย่า-เกย)

หมายถึง.....มารยาทที่ดีงามในสังคมที่เราควรปฏิบัติ 

กำบ่าเก่าจึงว่า     “เปิ้นบ่หาอย่ากล่าว  เปิ้นบ่ป่าวอย่าไป      เปิ้นบ่ไสอย่าแล่น  เปิ้นบ่แกว่นอย่าเกย”  

การนำไปใช้      เขาไม่รู้ด้วยอย่าแอบอ้าง  เขาไม่เชิญอย่าไปร่วม  เขาไม่ใช้อย่ากระทำ  เขาไม่ให้ความสนิทสนมด้วยก็อย่าพยายามทำตัวคุ้นเคย

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “เขาไม่ว่าอย่าอ้าง   เขาไม่เชิญไม่ควรไป   เขาไม่ใช้อย่าทำ   เขาไม่คุ้นเคยด้วยอย่าเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือทำตีสนิท  ”

ลำดับที่  304. “เปิ้นว่าเสือ  ตั๋วว่าพระเจ้า  เปิ้นว่าบ่เลา    ตั๋วว่างามล้ำ”

อ่าน  (-เปิ้น-ว่า-เสือ///ตั๋ว-ว่า-พระ-เจ้า///เปิ้น-ว่า-บ่อ-เลา///ตั๊ว-ว่า-งาม-ล้ำ-)

หมายถึง.....การหมกมุ่นลุ่มหลงในอบายมุข ความชั่วทั้งหลายด้วยความเข้าใจผิด  โดยนำมาเชิดชูบูชา           กำบ่าเก่าจึงว่า   “เปิ้นว่าเสือ  ตั๋วว่าพระเจ้า  เปิ้นว่าบ่เลา ตั๋วว่างามล้ำ”  การนำไปใช้  อย่ายุ่งกับอบายมุข

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เห็นกรงจักรเป็นดอกบัว ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “เขาบอกว่าเสือ เราบูชาราวพระเจ้า  ขี้เหร่ไม่มีใครเท่า  เราว่างามเลิศ”

ลำดับที่  305. “เปิ้นหื้อดำน้ำ  ว่าตั๋วข้าฟู   เปิ้นหื้อจกฮู  ว่าแขนตั๋วสั้น”

อ่าน  (-เปิ้น-หื้อ-ดำ-น้ำ///ว่า-ตั๋ว-ข้า-ฟู///เปิ้น-หื้อ-จก-ฮู///ว่า-แขน-ตั๋ว-สั้น-)

หมายถึง....คนกลับกลอก ตลบตะแลง มักหาข้ออ้างเพื่อหลบเลี่ยงการทำงานเพราะขี้เกียจ  

กำบ่าเก่าจึงว่า     “เปิ้นหื้อดำน้ำ   ว่าตั๋วข้าฟู    เปิ้นหื้อจกฮู   ว่าแขนตั๋วสั้น”  

การนำไปใช้       อย่าอ้างโน่นอ้างนี่เพื่อหลบงาน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “มะกอกสามตระกร้าปาไม่ถูก”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “เขาให้ดำน้ำ   อ้างว่าตัวเบา  ให้ล้วงเอา  บอกแขนตนสั้น”

ลำดับที่  306. “ปู๋หลายอยู่ฮูตื้น”  อ่าน  (-ปู๋-หลาย-หยู่-ฮู-ตื้น-)

หมายถึง.....สภาพที่สมาชิกจำนวนมากมาอาศัยอยู่รวมกันอย่างแออัดยัดเยียด

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ปู๋หลายอยู่ฮูตื้น”     

การนำไปใช้       ช่วยกันทำมาหากิน หาเงินมาขยับขยายที่อยู่   เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “แออัดยัดเยียด”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ปูมากมายรวมตัวในรูตื้นๆ”

ลำดับที่  307. “ปื๋นบ่เต๋มถง  จะไปล่าเดินดง   เงินบ่เต๋มถง  อย่าแอ่วปาต๋ามบ้าน”

อ่าน  (-ปื๋น-บ่อ-เต๋ม-ถง///จะ-ไป-ล่า-เดิน-ดง///เงิน-บ่อ-เต๋ม-ถง///อย่า-แอ่ว-ปา-ต๋าม-บ้าน-)

หมายถึง.....ถ้าไม่มีปัจจัยสนับสนุนหรือมีความอย่างพร้อมเต็มที่ อย่าคิดทำการใหญ่เกินตัว 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ปื๋นบ่เต๋มถง  จะไปล่าเดินดง  เงินบ่เต๋มถง  อย่าแอ่วปาต๋ามบ้าน” 

การนำไปใช้       ควรเตรียมให้พร้อม สิ่งต่างๆที่จำเป็นต้องใช้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ไม่มีปืนเข้าป่า ก็อันตราย  เงินไม่มากมาย อย่ายักย้ายท่องเที่ยว”

 

 

 

 

ลำดับที่  308. “แป๋งดีไว้หื้อลูก  แป๋งถูกไว้หื้อหลาน”

อ่าน  (-แป๋ง-ดี-ไว้-หื้อ-ลูก///แป๋ง-ถูก-ไว้-หื้อ-หลาน-)

หมายถึง.....การให้คำแนะนำสั่งสอนและทำความดีเป็นตัวอย่างแก่ลูกหลานคนใกล้ชิด    

กำบ่าเก่าจึงว่า     “แป๋งดีไว้หื้อลูก   แป๋งถูกไว้หื้อหลาน” 

การนำไปใช้        หมั่นอบรมสั่งสอนลูกหลานไม่ให้เดินไปในทางที่ผิด

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ทำดีไว้ให้ลูก  ทำถูกไว้ให้หลาน”

ลำดับที่  309.  “แป๋งตางหื้อฮอก   บอกตางหื้อเหน”

อ่าน  (-แป๋ง-ตาง-หื้อ-ฮอก///บอก-ตาง-หื้อ-เห็น-)

หมายถึง.....ให้คำแนะนำกับคนไม่ดี หรือบอกความลับแก่คนชั่ว  จะทำให้เกิดความเสียหาย

กำบ่าเก่าจึงว่า    “แป๋งตางหื้อฮอก   บอกตางหื้อเหน”  

การนำไปใช้       อย่าชี้แนะคนชั่วจะนำความเดือดร้อนมาให้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ชี้โพรงให้กระรอก”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ชี้ทางให้กระรอก  บอกทางให้ตัวเห็น”

ลำดับที่  310.  “แป๋งเฮือนต๋ามใจ๋คนอยู่    แป๋งอู่ผ่อตั๋วคนนอน”

อ่าน  (-แป๋ง-เฮือน-ต๋าม-ใจ๋-คน-หยู่///แป๋ง-อู่-ผ่อ-ตั๋ว-คน-นอน-)

หมายถึง.....กระทำการใดที่มีผลกระทบต่อผู้อื่นควรถามผู้เกี่ยวข้อง

กำบ่าเก่าจึงว่า     “แป๋งเฮือนต๋ามใจ๋คนอยู่   แป๋งอู่ผ่อตั๋วคนนอน”  

การนำไปใช้        ควรสอบถามผู้ได้รับผลกระทบก่อนลงมือกระทำ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่   ผูกอู่ตามใจผู้นอน ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่  สานอู่ดูรูปร่างคนนอน”

ลำดับที่  311. “ไปไถนาลืมควาย”  อ่าน (-ไป-ไถ-นา-ลืม-ควาย-)

หมายถึง.....ขาดความรอบคอบ  ไม่นำสิ่งสำคัญที่ต้องใช้ในงานไปด้วย ทำให้ได้ผลงานไม่มีประสิทธิภาพ  กำบ่าเก่าจึงว่า    “ไปไถนาลืมควาย”   

การนำไปใช้      ตรวจสอบสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ให้ครบถ้วน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ไปไถนาลืมควาย”

 

 

 

ลำดับที่  312. “เปียะได้ไหม้เสีย”  อ่าน (- เปียะ-ได้-ไหม้-เสีย-)

หมายถึง.....คนใจเย็นมีความละเอียด  เมื่อทำสิ่งใดย่อมประสบความสำเร็จดีกว่าคนใจร้อน

กำบ่าเก่าจึงว่า      “เปียะได้ ไหม้เสีย” 

 การนำไปใช้        ควรมีความละเอียดรอบคอบ  อย่าทำอะไรด้วยความใจร้อนรีบเร่ง

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ช้าๆได้พร้าสองเล่มงาม///ช้าเป็นการนานเป็นคุณ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “เปียกได้   ไหม้เสีย”

ลำดับที่  313. “เปื้อนกิ๋นมากล้ำ    บ่ถ้าจักหา   อันเปื้อนจีวา    นั้นหายากใบ้”

อ่าน  (-เปื้อน-กิ๋น-มาก-ล้ำ///บ่อ-ถ้า-จัก-หา///อัน-เปื้อน-จี-วา///นั้น-หา-ยาก-ใบ้-)

หมายถึงเพื่อนกินหาง่าย  เพื่อนตายหายาก  

กำบ่าเก่าจึงว่า     “เปื้อนกิ๋นมากล้ำ  บ่ถ้าจักหา  อันเปื้อนจีวานั้นหายากใบ้”   

การนำไปใช้        ควรพิจารณาในการคบเพื่อน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง  “เพื่อนกินหาง่าย เพื่อนตายหายาก//คบคนดูหน้าซื้อผ้าดูเนื้อ ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “เพื่อนกินหาง่าย  เพื่อนตายหายาก”

ลำดับที่  313.  “ไปก๋ารเมื่อตอน   ดีกว่านอนวันค่ำ”

อ่าน  (-ไป-ก๋าน-แม่-ตอน///ดี-กว่า-นอน-วัน-ค่ำ-)

หมายถึง.....ไปทำงานสายดีกว่านอนอยู่ที่บ้าน

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ไปก๋านเมื่อตอน  ดีกว่านอนวันค่ำ”

การนำไปใช้      อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “มาสายดีกว่าไม่มา”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ไปทำงานตอนเที่ยง   ดีกว่านอนทั้งวัน”

ลำดับที่  314. “ไปตางหน้า   หื้อหมั่นเหลียวหลัง   ลืมอะหยังจะได้ฮู้”

อ่าน  (-ไป-ตาง-หน้า///หื้อ-หมั่น-เหลียว-หลัง///ลืม-อะ-หยัง-จะ-ได้-ฮู้-)

หมายถึง…..การทำงานควรพิจารณาทบทวน ขั้นตอน วิธีการ ว่ามีปัญหาหรือไม่  ผิดพลาดจะแก้ไขทัน 

กำบ่าเก่าจึงว่า      “ไปตางหน้า  หื้อหมั่นเหลียวหลัง  ลืมอะหยังจะได้ฮู้”      

การนำไปใช้         ตรวจสอบอย่างรอบคอบมีปัญหาจะแก้ไขทัน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง     “ไปข้างหน้าหมั่นเหลียวหลัง   ลืมอะไรจะได้รู้”