ง.....

ลำดับที่  127.  “งาจ๊างหักขำเศิก    คนหลับเดิ๊กบ่เสียก๋าร”

อ่าน  (-งา-จ๊าง-หัก-ขำ-เสิก///คน-หลับ-เดิ๊ก-บ่อ-เสีย-ก๋าน-)

หมายถึง.....ได้ประโยชน์คุ้มค่ากับสิ่งที่เสียไป 

กำบ่าเก่าจึงว่า     “งาจ๊างหักขำเศิก คนหลับเดิ๊กบ่เสียก๋าน” 

การนำไปใช้       คำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับว่าคุ้มค่ากับสิ่งที่ลงทุนไปหรือไม่ 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง  

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “งาช้างหักเพราะคาศึก  ทนนอนดึกแต่ได้งานมาก 

ลำดับที่  128.  “งัวควายต๋ายละเขาละหนัง    คนเฮาต๋ายละจื้อละเสียง”

อ่าน(-งัว-ควาย-ต๋าย-ละ-เขา-ละ-หนัง///คน-เฮา-ต๋าย-ละ-จื้อ-ละ-เสียง-)

หมายถึง.....คนที่ทำคุณงามความดีให้กับสังคมไว้มาก เมื่อสิ้นชีวิตผู้คนย่อมสรรเสริญ    

กำบ่าเก่าจึงว่า    “งัวควายต๋ายละเขาละหนัง    คนเฮาต๋ายละจื้อละเสียง” 

การนำไปใช้       หมั่นกระทำแต่ความดีงาม

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “วัวควายตายเหลือเขาและหนัง  คนตายลงเหลือชื่อเสียงความดีงาม”

ลำดับที่  129.  “งาบ่บีบบ่ได้น้ำมัน    คนบ่หมั่นบ่ได้เงินได้คำ”

อ่าน  (-งา-บ่อ-บีบ-บ่อ-ได้-น้ำ-มัน///คน-บ่อ-หมั่น-บ่อ-ได้-เงิน-ได้-คำ-)

หมายถึง.....คนจะเจริญรุ่งเรืองมีความก้าวหน้าในชีวิตได้ ต้องมีความขยันในการทำงาน   

กำบ่าเก่าจึงว่า     “งาบ่บีบบ่ได้น้ำมัน  คนบ่หมั่น บ่ได้เงินได้คำ”  

การนำไปใช้       ขยันทำงานหาเงิน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ไม่มีความยากจนในหมู่ชนที่ขยัน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง     “เมล็ดงาไม่บีบไม่ได้น้ำมัน    คนขี้เกียจไม่มีเงินทอง  

ลำดับที่  130.  “งัวต่างเฟืองก็กิ๋นเฟือง”  อ่าน  (-งัว-ต่าง-เฟือง-ก่อ-กิ๋น-เฟือง-)

หมายถึง.....ได้รับผลประโยชน์จากงานที่ตนเองทำ

กำบ่าเก่าจึงว่า    “งัวต่างเฟืองก็กิ๋นเฟือง” 

การนำไปใช้       ให้ดูแล เอาใจใส่ในงานอาชีพที่ตนเองรับผิดชอบ   เพื่อจะได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “วัวบรรทุกฟางก็กินฟาง

ลำดับที่  131.  “งัวเข้าสวน  ยับตั๋วเมื่อลูน”  อ่าน  (-งัว-เข้า-สวน///ยับ-ตั๋ว-เมื่อ-ลูน-)

หมายถึง.....ต้องรับผิดชอบ  เพราะอยู่ในสถานการณ์หรือช่วงเวลาที่เกิดความเสียหายขึ้น   เช่น  ยืมของมา  มันจะเสียหาย  จะพังอยู่แล้ว นำมาใช้ก็เสียอยู่ในความรับผิดชอบของเราพอดี   ต้องหามาชดใช้

กำบ่าเก่าจึงว่า     “งัวเข้าสวน  ยับตั๋วเมื่อลูน”  

การนำไปใช้       ระวังเหตุการณ์ที่ต้องรับผิดชอบดังกล่าว 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ปลาติดร่างแห///ปลาติดหลังแห”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “วัวเข้าสวนผัก  จับตัวสุดท้าย”(เพื่อตามหาเจ้าของมารับผิดชอบ)

ลำดับที่  132.  “งัวตั๋วใดกิ๋นหญ้าแผกหมู่    บ่ต๋ายเปิ้นฆ่าก็ต๋ายเสือขบ”

อ่าน  (-งัว-ตั๋ว-ใด-กิ๋น-หญ้า-แผก-หมู่///บ่อ-ต๋าย-เปิ้น-ข้า-ก่อ-ต๋าย-เสือ-ขบ-)

หมายถึง.....คนที่ไม่ไปมาหาสู่ญาติพี่น้อง ไม่คบพรรคพวกไม่ทำตัวเข้ากับเพื่อนฝูง เมื่อมีภัยไม่มีใครช่วย     กำบ่าเก่าจึงว่า     “งัวตั๋วใดกิ๋นหญ้าแผกหมู่ บ่ต๋ายเปิ้นฆ่าก็ตายเสือขบ”    

การนำไปใช้        ควรสมัครสมานรักใคร่ในหมู่ญาติสนิทมิตรสหาย  คอยดูแลช่วยเหลือกัน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “คนเดียวหัวหาย”             

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “วัวแยกจากฝูง ไม่โดนจูงไปเชือด  ก็โดนเสือกัด”

ลำดับที่  133.  “งูแผวหน้าแข้ง   ฟั่งแล่นหาค้อน”

อ่าน    (-งู-แผว-หน้า-แข้ง///ฟั่ง-แล่น-หา-ค้อน-)

หมายถึง.....ไม่รู้จักวางแผนรับสถานการณ์ล่วงหน้า    เกิดมีเรื่องจวนตัวต้องลำบากในการแก้ปัญหา 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “งูแผวหน้าแข้ง  ฟั่งแล่นหาค้อน”  

การนำไปใช้       ควรวางแผนรับเหตุการณ์ล่วงหน้า

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ตำข้าวสารกรอกหม้อ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “งูถึงหน้าแข้ง   รีบวิ่งหาค้อน”

ลำดับที่  134. “งัวเลือกหญ้านานตุ้ย”  อ่าน  (-งัว-เลือก-หย้า-นาน-ตุ้ย-)

หมายถึง.....คนที่เลือกงาน มักไม่เจริญก้าวหน้า 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “งัวเลือกหญ้านานตุ้ย”   

การนำไปใช้       อย่าเป็นคนเรื่องมาก  ต้องสู้งาน 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง    “เลือกนักมักได้แร่”   

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “วัวเลือกหญ้าไม่อ้วน”   

ลำดับที่  135.  “งัวซาวกิ๋นหญ้าหาบ”  อ่าน  (-งัว-ซาว-กิ๋น-หญ้า-หาบ-)

หมายถึง.....มีคนหาเงินคนเดียว แต่คนใช้จ่ายมาก  ไม่พอกิน  

กำบ่าเก่าจึงว่า    “งัวซาวกิ๋นหญ้าหาบ” 

การนำไปใช้       รู้จักช่วยกันหารายได้ เพื่อแบ่งเบาภาระในครอบครัวตามกำลังความสามารถ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “อดอยากปากแห้ง”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “วัวยี่สิบตัวกินหญ้าหนึ่งหาบ”(ไม่พอกิน)

ลำดับที่  136.  “งูบ่หื้อเกี๊ยด   เขียดบ่หื้อต๋าย”  อ่าน  (-งู-บ่อ-หื้อ-เกี๊ยด///เขียด-บ่อ-หื้อ-ต๋าย-)

หมายถึง.....ตัดสินปัญหาโดยไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ มีความยุติธรรม เป็นผลดีกับทั้งสองฝ่าย             กำบ่าเก่าจึงว่า      “งูบ่หื้อเกี๊ยด  เขียดบ่หื้อต๋าย” 

การนำไปใช้         การตัดสินใดๆควรยุติธรรมกับทั้งสองฝ่าย

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “บัวไม่ให้ช้ำ  น้ำไม่ให้ขุ่น

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “งูไม่ให้โมโห   เขียดก็ไม่ให้ตาย ”

ลำดับที่  137.  “เงินคำหาได้    น้ำใจ๋หายาก”

อ่าน  (-เงิน-คำ-หา-ได้///น้ำ-ใจ๋-หา-ยาก-)

ลำดับที่  138.  “เงินคำอยู่ตี้คมพร้า   เสื้อผ้าอยู่ตี้คมขวาน”

อ่าน  (-เงิน-คำ-หยู่-ตี้-คม-พร้า///เสื้อ-ผ้า-หยู่-ตี้-คม-ขวาน-)

ลำดับที่  139. “เงินคำอยู่ตี้ยาก    ฮากไม้อยู่ตี้เลิ๊ก”

อ่าน (-เงิน-คำ-หยู่-ตี้-ยาก///ฮาก-ไม้-หยู่-ตี้-เลิ๊ก-)

ลำดับที่  140.  เงินอยู่ในน้ำคำอยู่ในดิน” 

อ่าน  (-เงิน-หยู่-ใน-น้ำ-คำ-หยู่-ใน-ดิน-)

หมายถึง.....ความจริงใจในความสัมพันธ์และเงินทองเป็นของหายาก  

กำบ่าเก่าจึงว่า   “เงินคำหาได้   น้ำใจ๋หายาก”       “เงินคำอยู่ตี้คมพร้า   เสื้อผ้าอยู่ตี้คมขวาน”      

“เงินคำอยู่ตี้ยาก  ฮากไม้อยู่ตี้เลิ๊ก”    “เงินอยู่ในน้ำ   คำอยู่ในดิน”    

การนำไปใช้      ให้รักษาสัมพันธ์ไมตรี ที่มีต่อกันไว้ให้ยืนยาว  และรู้คุณค่าของทรัพย์สินเงินทอง

ควรประหยัดอดออมไว้ใช้จ่ายในยามจำเป็น 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เลือดตาแทบกระเด็น”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “เงินทองหาได้  ความจริงใจหายาก

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “หาเงินต้องอาศัยคมมีดพร้า  อยากใส่เสื้อผ้าต้องใช้คมขวาน”  

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “เงินทองหายาก  ดังรากไม้ที่อยู่ลึก

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “เงินอยู่ในน้ำ  ทองคำอยู่ในดิน

ลำดับที่  141. “เงินทองบ่ใจ้ปี้น้องกั๋น”  อ่าน  (-เงิน-ทอง-บ่อ-ใจ้-ปี้-น้อง-กั๋น-)

หมายถึง....เรื่องผลประโยชน์ เรื่องทรัพย์สินเงินทอง แม้ญาติพี่น้องก็ทะเลาะกันได้       

กำบ่าเก่าจึงว่า   “เงินทองบ่ใจ้ปี้น้องกั๋น”  

การนำไปใช้       อย่าให้เกิดความขัดแย้งในหมู่ญาติพี่น้องด้วยเรื่องผลประโยชน์

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “เงินทองไม่ใช่พี่น้องกัน”

ลำดับที่  142. “ไง้ขอนหาจักเข็บ” 

อ่าน  (-ไง้-ขอน-หา-จัก-เข็บ-)

หมายถึง.....รื้อฟื้นความขัดแย้งในอดีต มายุแหย่ให้เกิดผิดใจกัน 

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ไง้ขอนหาจักเข็บ”  

การนำไปใช้        อย่ารื้อฟื้นข้อขัดแย้งเก่าๆให้กลับมาหมางใจกันอีก

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “งัดขอนไม้หาตะขาบ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “เงินทองไม่ใช่พี่น้องกัน”