ลำดับที่  99. “คนจะดี    ดีเมื่อผ้าอ้อมป้อก    คนจะวอก   มันตึงวอกเต้าต๋าย”

อ่าน  (-คน-จะ-ดี///ดี-เมื่อ-ผ้า-อ้อม-ป้อก///คน-จะ-วอก///มัน-ตึง-วอก-เต้า-ต๋าย-)

ลำดับที่  100. “คนจะดี     ดีเมื่อผ้าอ้อมป้อก    คนบ่ดี    หงอกเต๋มหัวมันตึงบ่ดี”

อ่าน  (-คน-จะ-ดี///ดี-เมื่อ-ผ้า-อ้อม-ป้อก///คน-บ่อ-ดี///หงอก-เต๋ม-หัว-มัน-ตึง-บ่อ-ดี-)

หมายถึง.....คนมีนิสัยชอบโกหกตอแหลจะกลับเนื้อกลับตัวได้ยาก (แต่ไม่ถึงกับว่าจะกลับเนื้อกลับตัวไม่ได้  ขึ้นอยู่กับตัวเขาเองว่าจะสำนึกหรือไม่ถ้าสังคมให้โอกาส) 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “คนจะดี   ดีเมื่อผ้าอ้อมป้อก   คนจะวอก  มันตึงวอกเต้าต๋าย” “คนจะดี    ดีเมื่อผ้าอ้อมป้อก  คนบ่ดี    หงอกเต๋มหัวมันตึงบ่ดี”            

การนำไปใช้      ระมัดระวังการคบคน อย่าเป็นคนโกหกตอแหล  และควรให้โอกาสผู้อื่นกลับเนื้อกลับตัว

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “โกหกตอแหล”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “คนจะดี   ดีแต่ผ้าอ้อมพันกาย  คนตอแหล   จะตอแหลไปจนตาย  ”

 

ลำดับที่  101.  “คนง่าวได้จ๋า   หม้อแก๋งหนาได้เดือด”

อ่าน  (-คน-ง่าว-ได้-จ๋า///หม้อ-แก๋ง-หนา-ได้-เดือด-)

หมายถึง.... คำพูดของคนรู้น้อย บางครั้งก็กินใจ เพราะพูดความจริง  พูดอย่างตรงๆเป็นคำพูดที่มาจากใจ      

กำบ่าเก่าจึงว่า   “คนง่าวได้จ๋า หม้อแก๋งหนาได้เดือด”

การนำไปใช้      รับฟังความคิดเห็นหรือให้โอกาสทุกคน

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “คนรู้น้อยได้เอ่ยปาก  หม้อดินหนาตั้งไฟ  (เวลาร้อนจะเดือดพล่าน)

ลำดับที่  102.  “คนฉลาด   บ่ดีประมาทคนง่าว”(-คน-ฉะ-หลาด///บ่อ-ดี-ปะ-หมาด-คนง่าว)

หมายถึง.....ไม่ควรดูถูกดูแควนผู้ที่มีความรู้น้อย  

กำบ่าเก่าจึงว่า    “คนฉลาดบ่ดีประมาทคนง่าว”          

การนำไปใช้      รู้จักให้เกียรติผู้อื่น  รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เขาอาจรู้ในสิ่งที่เราไม่รู้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “มีความรู้ความฉลาด   อย่าประมาทคนรู้น้อย”

ลำดับที่  103. “คนตุ๊กบ่มี   เศรษฐีบ่เกิด”  อ่าน  (-คน-ตุ๊ก-บ่อ-มี///เสด-ถี-บ่อ-เกิด-)

หมายถึง.....ยากดี มีหรือจน คนเราย่อมเกื้อหนุนกัน  ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  ไม่วันใดก็วันหนึ่ง                 

กำบ่าเก่าจึงว่า     “คนตุ๊กบ่มี เศรษฐีบ่เกิด”     

การนำไปใช้        อย่าดูถูกผู้ยากไร้  ควรเอาใจใส่   ถ้าไม่มีคนจน  ผู้เป็นนายก็ไม่ร่ำรวยมั่งคั่งขึ้นมาได้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง    “น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า///เกิดมาพึ่งกัน

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “คนยากจนไม่มี   เศรษฐีก็ไม่รุ่งเรือง

ลำดับที่  104.  “คนมีผญา   บ่ได้ปาหอบหิ้ว   คนมีวิชา    บ่ได้เป๋นคนขี้ริ้ว”

อ่าน  (-คน-มี-ผะ-หยา///บ่อ-ได้-ปา-หอบ-หิ้ว///คน-มี-วิ-ชา///บ่อ-ได้-เป๋น-คน-ขี้-ริ้ว-)

ลำดับที่  105.  “คนหล็วกได้กำจ๋า   คนมีผญาแป๊เปิ้น”

อ่าน (-คน-หล็วก-ได้-กำ-จ๋า///คน-มี-ผะ-หยา-แป๊-เปิ้น-)

หมายถึง....คนมีวิชาความรู้  มีสติปัญญา เฉลียวฉลาด   ย่อมรู้จักการเจรจาโน้มน้าวใจคน และแก้ปัญหาต่างๆได้ลุล่วง   สามารถนำความรู้ใช้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้       

กำบ่าเก่าจึงว่า    “คนมีผญา   บ่ได้ปาหอบหิ้ว  คนมีวิชา  บ่ได้เป๋นคนขี้ริ้ว”      

กำบ่าเก่าจึงว่า    “คนหล็วกได้กำจ๋า  คนมีผญาแป๊เปิ้น”

การนำไปใช้        หมั่นศึกษาหาความรู้ในแขนงวิชาต่างๆอย่างลึกซึ้งจริงจัง  จนนำไปใช้ประโยชน์ได้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม///มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน”

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ความดีชนะทุกคน  เหตุผลชนะทุกอย่าง”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “ปัญญาไม่ได้พาหอบหิ้ว   คนมีวิชาไม่ใช่คนขี้ริ้วขี้เหร่(ไม่โง่)”

ลำดับที่  106. “คนหมั่นยากไร้     มีคนสงสาร    คนคร้านแอวยาน     ไผบ่ชอบหน้า”

อ่าน  ( -คน-หมั่น-ยาก-ไร้///มี-คน-สง-สาน///คน-ค้าน-แอว-ยาน///ไผ-บ่อ-ชอบ-หน้า-)

หมายถึง.....คนยากจนแต่ขยันและชอบช่วยเหลือผู้อื่น ย่อมได้รับความรักความเมตตากว่าคนขี้เกียจ      

กำบ่าเก่าจึงว่า    “คนหมั่นยากไร้ มีคนสงสาร  คนคร้านแอวยานไผบ่ชอบหน้า  ”

การนำไปใช้       ขยันทำงาน  ช่วยเหลือผู้คนทั่วไป  เวลาลำบาก  จะได้รับความช่วยเหลือตอบแทน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง    “ขี้เกียจสันหลังยาว”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “ขยันยากไร้ มีคนสงสาร นิสัยเกียจคร้าน  ไม่มีใครชอบ”

ลำดับที่  107. “คนเฒ่าปากหวาน    ลูกหลานฮัก    คนเฒ่าปากนัก     ลูกหลานจัง”

อ่าน  (-คน-เถ้า-ปาก-หวาน///ลูก-หลาน-ฮัก///คน-เถ้า-ปาก-นัก///ลูก-หลาน-จัง-)

หมายถึง.....ปู่  ย่า  ตา  ยาย ที่ชอบจู้จี้ขี้บ่น  บ่นในเรื่องไม่เป็นเรื่อง ลูกหลานมักจะไม่ค่อยชอบ   

กำบ่าเก่าจึงว่า    “คนเฒ่าปากหวาน    ลูกหลานฮัก    คนเฒ่าปากนัก    ลูกหลานจัง”  

การนำไปใช้      ผู้อาวุโสควรทำตัวเป็นที่รักของลูกหลาน พูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ  ไม่จู้จี้ขี้บ่นจนเกินไป 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง     “คนแก่พูดอ่อนหวานลูกหลานรัก  คนแก่ขี้บ่น  ลูกหลานชัง”

ลำดับที่  108. “คนหล็วกเปิ้นใจ้    คนใบ้เปิ้นดูแควน”

อ่าน  ( -คน-หล็วก-เปิ้น-ใจ้///คน-ใบ้-เปิ้น-ดู-แควน-)

หมายถึง.....คนมีความรู้มากมักได้รับความเชื่อถือมีโอกาสทำงานหรือแสดงความคิดเห็นมากกว่าคนรู้น้อย กำบ่าเก่าจึงว่า     “คนหล็วกเปิ้นใจ้  คนใบ้เปิ้นดูแควน” 

การนำไปใช้       หมั่นศึกษาหาความรู้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “คนฉลาดเขาใช้   คนรู้น้อยเขาดูแควน”

ลำดับที่  109. “คนหล็วกก๊าใกล้    คนใบ้ก๊าไกล๋   คนมีปัญญา   นั่งก๊าหัวขั้นได”

อ่าน  (-คน-หล็วก-ก๊า-ใก้///คน-ใบ้-ก๊า-ไก๋///คน-มี-ปั๋น-ยา///นั่ง-ก๊า-หัว-ขั้น-ได-)

หมายถึง.....คนมีความรู้ มีสติปัญญามักมีแนวทางประกอบอาชีพ หรือทำมาหากินใกล้บ้านของตนเอง    กำบ่าเก่าจึงว่า   “คนหล็วกก๊าใกล้   คนใบ้ก๊าไกล  คนมีปัญญา  นั่งก๊าหัวขั้นได”

การนำไปใช้     รู้จักใช้สติปัญญาในการประกอบอาชีพ  อย่าใช้แต่แรงกาย

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง     “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  คนฉลาดค้าใกล้   คนรู้น้อยค้าไกล  คนมีปัญญา  นั่งค้าตรงหัวกระได

 

 

ลำดับที่  110.   “คนหลับลุกเจ๊า    กิ๋นผักตางปล๋าย    คนหลับลุกขวาย     กิ๋นผักตางเก๊า”

อ่าน  ( -คน-หลับ-ลุก-เจ๊า///กิ๋น-ผัก-ตาง-ป๋าย///คน-หลับ-ลุก-ขวาย///กิ๋น-ผัก-ตาง-เก๊า-)

หมายถึง.....คนกระตือรือร้น ขยันแต่เช้า (ไม่รอเวลาสาย) ย่อมพบความก้าวหน้าในชีวิต   

กำบ่าเก่าจึงว่า    “คนหลับลุกเจ๊า   กิ๋นผักตางปล๋าย   คนหลับลุกขวาย   กิ๋นผักตางเก๊า”      

การนำไปใช้       อย่ามัวรีรอในการทำงาน ไม่รอวันเวลา  หรืออ้างว่ายังเช้าเกินไป

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง    “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “ตื่นเช้าทานผักปลายยอดอ่อน ตื่นสายทานโคนต้น”

ลำดับที่  111. “คนหนุ่มเอาเก๊า  คนเฒ่าเอาปล๋าย”อ่าน  (-คน-หนุ่ม-เอา-เก๊า///คน-เถ้า-เอา-ป๋าย-)

หมายถึง.....การผ่อนแรงให้กับคนชราผู้สูงอายุ  ตามสภาพความแข็งแรงของร่างกาย    

กำบ่าเก่าจึงว่า    “คนหนุ่มเอาเก๊า  คนเฒ่าเอาปล๋าย” 

การนำไปใช้      ในการทำงานควรรู้จักผ่อนแรงให้ผู้สูงวัย  และสตรี

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ผ่อนหนักผ่อนเบา”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “คนหนุ่มแข็งแรงหามโคนไม้  สูงวัยแรงน้อยหามปลายยอด”

ลำดับที่  112. “คนหมั่นต๋ายหลังด้าน    คนคร้านต๋ายหลังหัก”

อ่าน  ( -คน-หมั่น-ต๋าย-หลัง-ด้าน///คน-ค้าน-ต๋าย-หลัง-หัก-)

หมายถึง.....การสะสมงานไว้มากเกิน (เพราะขี้เกียจ) จนทำไม่ไหว จะเกิดผลเสียต่อตนเองและส่วนรวม       กำบ่าเก่าจึงว่า    “คนหมั่นต๋ายหลังด้าน    คนคร้านต๋ายหลังหัก”   

การนำไปใช้       ควรทำงานอย่างสม่ำเสมอ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ดินพอกหางหมู”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “คนขยันตายหลังด้าน  คนเกียจคร้านตายหลังหัก”(คนขยันแบกแค่หลังด้านเพราะทำงานสม่ำเสมอ   ส่วนหลังหักเป็นการเปรียบเทียบว่าแบกงานไว้มากเกินไป จนหลังหัก)

ลำดับที่  113.  “ควายบ่ต๋ายฟั่งปาดจิ๊น” อ่าน  (-ควาย-บ่อ-ต๋าย-ฟั่ง-ปาด-จิ๊น-)

หมายถึง.....ลงมือทำในขณะที่ทุกสิ่งทุกอย่างยังไม่มีความพร้อมจริงจัง

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ควายบ่ต๋ายฟั่งปาดจิ๊น” 

การนำไปใช้        ควรวางแผนดูแลทุกอย่างให้พร้อมก่อนที่จะลงมือ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง     ควายยังไม่ตายสนิท  รีบชำแหละเนื้อ

 

 

 

ลำดับที่  114.  “เคร่งล้ำจ่างปุด”  อ่าน  (-เค่ง-ล้ำ-จ่าง-ปุด-)

หมายถึง....การเคร่งครัด เข้มงวดจนเกินไป ทำให้เกิดการต่อต้าน และส่งผลเสียต่องานส่วนรวมได้         กำบ่าเก่าจึงว่า   “เคร่งล้ำจ่างปุด” 

การนำไปใช้       ควรผ่อนสั้นผ่อนยาว ผ่อนหนักผ่อนเบา ไม่เคร่งครัดเกิน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ตึงนักมักขาด” 

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “(เชือก)ตึงนักมักขาด”

ลำดับที่  115.  “ควายเฒ่าใคร่ต๋ายขำปง”  อ่าน  (-ควาย-เถ้า-ใค่-ต๋าย-ขำ-ปง-)

หมายถึง....การดันทุรังรนหาที่  ทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่าจะเกิดผลร้ายกับตนเองอย่างแน่นอน 

กำบ่าเก่าจึงว่า      “ควายเฒ่าใคร่ต๋ายขำปง” 

การนำไปใช้      อย่าดันทุรังหาเรื่องให้ตนเองลำบาก (ปง..คือหล่มโคลน เป็นดินอ่อนตัวมีความลึก มีหญ้าอ่อนขึ้นปกคลุม ควายแก่เคี้ยวหญ้าแก่ที่แข็งไม่ไหว  จะไปหากินหญ้าอ่อนบริเวณหล่มโคลน  ไม่ระวังจะตกจมลงไป   ขึ้นเองไม่ได้   เจ้าของหาไม่พบ ก็ตายเพราะขาดอาหาร

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “โคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ควายแก่อยากตายคาหล่มโคลน (คนแก่อยากมีเมียสาว)” 

ลำดับที่  116. “เคราะห์ฮอมฮ้าย    ขี้ตู๋ดเป๋นหิด” อ่าน  (-เคาะ-ฮอม-ฮ้าย///ขี้-ตู๊ด-เป๋น-หิด-)

หมายถึง.....มีเคราะะห์กรรมมากระหน่ำซ้ำเติมไม่หยุดหย่อน

กำบ่าเก่าจึงว่า    “เคราะห์ฮอมฮ้าย  ขี้ตู๋ดเป๋นหิด”   

การนำไปใช้       เมื่อมีเรื่องร้ายๆอยู่แล้ว   พยายามระวังตัวเอง อย่าไปหาเรื่องอีก

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ผีซ้ำด้ำพลอย” 

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “เคราะห์หามยามร้ายเป็นเรื้อนและหิด”

ลำดับที่  117.  “ควันไฟไผห่อกุ้ม”  อ่าน  (-ควัน-ไฟ-ไผ-ห่อ-กุ้ม-)

หมายถึง.....ความลับไม่มีในโลก 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ควันไฟไผห่อกุ้ม”

การนำไปใช้       อย่าทำความชั่ว  แม้ไม่มีใครรู้เราก็ทุกข์ใจ  ต้องคอยระวังปกปิด

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ความลับไม่มีในโลก”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ควันไฟใครห่อได้”

 

 

 

 

ลำดับที่  118.  “ครั่งใกล้ไฟ    ไขใกล้แดด    ญิงใกล้จาย    ควายใกล้หญ้า”

อ่าน   (-คั่ง-ใก้-ไฟ///ไข-ใก้-แดด///ยิง-ใก้-จาย///ควาย-ใก้-หญ้า)

หมายถึง.....สภาพที่เอื้อให้เกิดเหตุได้ง่ายดาย อาจเป็นอันตราย  เกิดความเสียหาย  เพราะมาอยู่ใกล้ชิดกัน      กำบ่าเก่าจึงว่า     “ครั่งใกล้ไฟ  ไขใกล้แดด ญิงใกล้จาย  ควายใกล้หญ้า”

การนำไปใช้       ให้วางแผนป้องกันล่วงหน้า   ถ้าเกิดเหตุแล้วอาจแก้ไขยาก

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “น้ำตาลใกล้มด”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ครั่งใกล้ไฟ (ละลาย)  ไขใกล้แดด (น้ำมันเยิ้มออกมา) หญิงใกล้ชาย  (มีความสัมพันธ์กัน)  ควายใกล้หญ้า (หญ้าก็ไม่เหลือ)”

ลำดับที่  119. “ใคร่เป๋นดี   หื้อแล่นเข้าป่า    ใคร่เป๋นหนี้เป๋นข้า    หื้อแล่นเข้าฮั้วเข้าเวียง”

อ่าน  (-ใค่-เป๋น-ดี///หื้อ-แล่น-เข้า-ป่า///ใค่-เป๋น-หนี้-เป๋น-ข้า///หื้อ-แล่น-เข้า-ฮั้ว-เข้า-เวียง-)

หมายถึง.....ควรดำรงชีวิตแบบพอเพียง  รู้ประหยัดอดออม 

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ใคร่เป๋นดี   หื้อแล่นเข้าป่า   ใคร่เป๋นหนี้เป๋นข้า    หื้อแล่นเข้าฮั้วเข้าเวียง”

การนำไปใช้  ให้รู้ประหยัดอดออม (คนสมัยก่อนจะได้อาหารต้องไปหาจากป่า ถ้าเข้าเมืองย่อมทำให้ยากจน และปัจจุบันมีห้างสรรพสินค้า เราเข้าไปจับจ่ายอาจเพลิน โดยไม่คิดก่อนว่าต้องใช้หรือไม่  หรือเห็นอดจ่ายเงินไม่ได้ หรือใช้บัตรเครดิต  เมื่อถึงกำหนดชำระต้องนำเงินมาชำระ    เมื่อไม่มีก็ต้องไปกู้ยืม เป็นหนี้สิน เพราะเข้าไปในเมือง  ถ้าเราดำรงชีวิตแบบพอเพียง  ขยันทำกินตามสภาพความเป็นอยู่ของตนเอง กินอยู่อย่างประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อ   ชีวิตย่อมเป็นสุข)

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “การก่อหนี้เป็นทุกข์ในโลก”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง ไม่อยากเป็นหนี้   ให้เข้าป่าหากิน  อยากมีหนี้สิน  ให้เข้าในเมือง

ลำดับที่  120. “ใคร่เย็นหื้ออาบน้ำวังหิน    ใคร่มีทรัพย์สินหื้อหมั่นก๊า   ใคร่ขึ้นสวรรค์จั๊นฟ้า      หื้อหมั่นฆ่าเจ้าเอาของ”อ่าน  (-ใค่-เย็น-หื้อ-อาบ-น้ำ-วัง-หิน///ใค่-มี-ซับ-สิน-หื้อ-หมั่น-ก๊า///ใค่-ขึ้น-สะ-หวัน-จั๊น-ฟ้า/// หื้อ-หมั่น-ข้า-เจ้า-เอา-ของ-)

หมายถึง.....อยากรวยต้องขยันทำมาหากิน อยากพบความสุขใจให้  ลด  ละ  เลิกกิเลส ( “ฆ่าเจ้าเอาของ” คือการทำลายกิเลส  ตัณหา รัก  โลภ  โกรธ  หลง ความอยากในใจตนเองให้หมดไป )           

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ใคร่เย็นหื้ออาบน้ำวังหิน    ใคร่มีทรัพย์สินหื้อหมั่นก๊า   ใคร่ขึ้นสวรรค์จั๊นฟ้า   หื้อหมั่นฆ่าเจ้าเอาของ”           

การนำไปใช้       ขยันทำกินและประพฤติตนถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “สุขใดเล่าเท่าสงบ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “อยากเย็นชื่นใจ   ให้อาบน้ำลำธารหิน อยากมีทรัพย์สิน  ให้ขยันค้า      อยากขึ้นสวรรค์ชั้นฟ้า  (มีความสุขใจ) ให้ละกิเลสตัณหาตนเอง”

ลำดับที่  121.  “ใคร่กิ๋นนัก    หื้อกิ๋นเต้ากิ่งก้อย    ใคร่กิ๋นหน้อย     หื้อกิ๋นเต้าหัวแม่มือ”

อ่าน (-ใค่-กิ๋น-นัก///หื้อ-กิ๋น-เต้า-กิ่ง-ก้อย///ใค่-กิ๋น-หน้อย///หื้อ-กิ๋น-เต้า-หัว-แม่-มือ-)

หมายถึง....อย่าเป็นคนละโมบโลภมาก 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ใคร่กิ๋นนักหื้อกิ๋นเท่ากิ่งก้อย  ใคร่กิ๋นหน้อยหื้อกิ๋นเท่าหัวแม่มือ”  

การนำไปใช้       อย่าโลภมาก

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “โลภมากลาภหาย”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “อยากทานมากเท่านิ้วก้อย   อยากทานน้อยทานเท่าหัวแม่มือ”

ลำดับที่  122. “ใคร่ขี้ล่นหาขอน    ใคร่นอนล่นหาสาด”

อ่าน  (-ใค่-ขี้-ล่น-หา-ขอน///ใค่-นอน-ล่น-หา-สาด-)

หมายถึง.....ไม่รู้จักวางแผนรับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า เมื่อเกิดมีเรื่องจวนตัวต้องลำบากในการแก้ปัญหา              กำบ่าเก่าจึงว่า    “ใคร่ขี้ล่นหาขอน ใคร่นอนล่นหาสาด”  

การนำไปใช้       เตรียมวางแผนรับสถานการณ์ไว้บ้าง

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ตำข้าวสารกรอกหม้อ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “จะถ่ายทุกข์วิ่งหาขอน  จะนอนวิ่งหาเสื่อ” (สมัยก่อนไม่มีส้วม     จะถ่ายทุกข์ต้องวิ่งเข้าป่าไปนั่งถ่ายบนขอนไม้ ”

ลำดับที่  123. “ใคร่เวยหื้อกาน  ใคร่นานหื้อแล่น” อ่าน (-ใค่-เวย-หื้อ-กาน///ใค่-นาน-หื้อ-แล่น-)

หมายถึง....ต้องการให้เสร็จเร็วให้ค่อยๆทำไปพิจารณาไป  ผิดพลาดก็แก้ไขไป อยากเสร็จช้าให้ทำเร็วๆ

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ใคร่เวยหื้อกาน  ใคร่นานหื้อแล่น” 

การนำไปใช้       อยากได้ผลดี  เรียบร้อย  รวดเร็ว ต้องค่อยๆทำไปพิจารณาไป  ถ้าเร่งรีบจะต้องแก้ไข

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ช้าๆได้พร้าสองเล่มงาม///ช้าเป็นการนานเป็นคุณ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “อยากเสร็จไวๆให้คลาน   อยากทำนานๆให้วิ่ง”

ลำดับที่  124.  “ใคร่หื้อเปิ้นฮัก    หื้อหมั่นทำก๋าร    ใคร่หื้อเปิ้นจัง    หื้อหมั่นแอ่วเล่น”

 อ่าน  (-ใค่-หื้อ-เปิ้น-ฮัก///หื้อ-หมั่น-ทำ-ก๋าน///ใค่-หื้อ-เปิ้น-จัง///หื้อ-หมั่น-แอ่ว-เล่น-)

หมายถึง.....คนขยันทำงาน และชอบช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ ย่อมเป็นที่รักของคนทั่วไป    

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ใคร่หื้อเปิ้นฮัก   หื้อหมั่นทำก๋าร   ใคร่หื้อเปิ้นจัง   หื้อหมั่นแอ่วเล่น”   

การนำไปใช้       ขยันทำงาน ตั้งใจเรียน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง  “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “อยากให้คนรัก  ต้องทำจริงจัง  อยากให้คนชัง หมั่นไปเที่ยวเล่น”

 

 

ลำดับที่  125.  “ใคร่หื้อเปิ้นฮัก    หื้ออู้ปากหวาน   ใคร่ไป่ใคร่สาน    หื้อถามคนเฒ่าคนแก่”

อ่าน  (-ใค่-หื้อ-เปิ้น-ฮัก///หื้อ-อู้-ปาก-หวาน///ใค่-ไป่-ใค่-สาน///หื้อ-ถาม-คน-เถ้า-คน-แก่-)

หมายถึง.....การพูดจาไพเราะหวานหูย่อมเป็นที่รักของคนทั่วไป ถ้าอยากจักสานควรศึกษาจากผู้สูงอายุ

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ใคร่หื้อเปิ้นฮัก     หื้อจ้างอู้ปากหวาน    ใคร่ไป่ใคร่สาน     หื้อถามคนเฒ่าคนแก่”   

การนำไปใช้      ควรพูดจาไพเราะ และถ้าอยากมีความรู้เรื่องการจักสานหรือเรื่องทั่วไปให้ปรึกษาผู้สูงวัย

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “พูดดีเป็นศรีแก่ปาก ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “อยากให้คนรัก  ควรจักพูดหวาน จะหัดจักสาน ให้ถามคนแก่”

ลำดับที่  126.  “ใคร่ฮู้หื้อถาม     ใคร่งามหื้อแต้ม” 

อ่าน  (-ใค่-ฮู้-หื้อ-ถาม///ใค่-งาม-หื้อ-แต้ม-)

หมายถึง.....อยากมีความรู้มากๆให้หมั่นศึกษาหาความรู้  อยากสวยงามต้องเสริมแต่ง      

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ใคร่ฮู้หื้อถาม    ใคร่งามหื้อแต้ม”  

การนำไปใช้       อยากมีความรู้ให้ศึกษาจากผู้รู้  ครูอาจารย์

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง    “อยากรู้ให้ถาม  อยากงามให้แต่ง”  

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “อยากรู้ให้ถาม  อยากงามให้แต่ง