ลำดับที่  72. “ของกิ๋นลำอยู่ตี้ผู้มัก    ของฮักมันอยู่ตี้ความปอใจ๋”

อ่าน  (-ของ-กิ๋น-ลำ-หยู่-ตี้-ผู้-มัก///ของ-ฮัก-มัน-หยู่-ตี้-ความ-ปอ-ใจ๋-)

หมายถึง.....เรื่องความรักใคร่ชอบพอของคนเรา  ย่อมแตกต่างกันไป  อยู่ที่ความพึงพอใจของแต่ละคน    กำบ่าเก่าจึงว่า    “ของกิ๋นลำอยู่ตี้ผู้มัก  ของฮักมันอยู่ตี้ความปอใจ๋”  

การนำไปใช้      เรื่องความรักบังคับกันไม่ได้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ข่มเขาโคขีนให้กินหญ้า

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “อาหารอร่อยหรือไม่แล้วแต่คนชอบ   ของรักหรือไม่อยู่ที่ความพอใจ

ลำดับที่  73.  “ของกิ๋นลำปั๋นกิ๋นคนหน้อย    กิ๋นคนเดียวจ้างแก๊น”

อ่าน  (-ของ-กิ๋น-ลำ-ปั๋น-กิ๋น-คน-หน้อย///กิ๋น-คน-เดียว-จ้าง-แก๊น-)

หมายถึง.....การมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  รู้จักการแบ่งปันให้ผู้อื่น 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ของกิ๋นลำปั๋นกิ๋นคนหน้อย     กิ๋นคนเดียวจ้างแก๊น”   

การนำไปใช้      ควรรู้จักการแบ่งปัน  เผื่อแผ่ให้ผู้อื่น

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง อาหารอร่อย แบ่งกันคนละหน่อย  ทานคนเดียวระวังติดคอ

ลำดับที่  74.  “ของกิ๋นลำบ่ดีอุ่นไว้    ของจะได้หื้อขะใจ๋เอา”

อ่าน  (-ของ-กิ๋น-ลำ-บ่อ-ดี-อุ่น-ไว้///ของ-จะ-ได้-หื้อ-ขะ-ใจ๋-เอา-)

หมายถึง.....สิ่งที่สมควรได้ ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ควรรับไว้ด้วยความยินดี 

กำบ่าเก่าจึงว่า   “ของกิ๋นลำบ่ดีอุ่นไว้   ของจะได้หื้อขะใจ๋เอา”  

การนำไปใช้     รับในสิ่งที่เราสมควรได้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “อาหารอร่อยอย่าอุ่นไว้  ของสมควรได้ให้รีบรับ”

ลำดับที่  75. “ของจะได้หื้อถามลูกเมีย    ของจะเสียหื้อถามปี้น้อง”

อ่าน  (-ของ-จะ-ได้-หื้อ-ถาม-ลูก-เมีย///ของ-จะ-เสีย-หื้อ-ถาม-ปี้-น้อง-)

หมายถึง.....การให้ความสำคัญกับคนในครอบครัว จะได้มาหรือสูญเสียไปควรต้องปรึกษาหารือกันก่อน             กำบ่าเก่าจึงว่า  “ของจะได้หื้อถามลูกเมีย   ของจะเสียหื้อถามปี้น้อง”  การนำไปใช้  อย่าลืมคนในครอบครัว

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “จะได้ให้ปรึกษาลูกเมีย  จะสูญเสียให้ถามพี่น้อง”

ลำดับที่  76.  “ของบ่มักบ่ดีเขจ๋ำ    ของกิ๋นบ่ลำบ่จ้างก๋ำป้อน”

อ่าน  (-ของ-บ่อ-มัก-บ่อ-ดี-เข-จ๋ำ///ของ-กิ๋น-บ่อ-ลำ-บ่อ-จ้าง-ก๋ำ-ป้อน-)

หมายถึง.....เรื่องความรักใคร่ชอบพอของคน  ย่อมแตกต่างกันไป  อยู่ที่กับความพึงพอใจของแต่ละคน    กำบ่าเก่าจึงว่า   “ของบ่มักบ่ดีเขจ๋ำ  ของกิ๋นบ่ลำบ่จ้างก๋ำป้อน”   การนำไปใช้  อย่าบังคับให้ทำในสิ่งไม่ชอบ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง     ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “อาหารไม่ชอบอย่าบังคับให้ทาน   อาหารไม่อร่อยยากจะตักป้อน”

ลำดับที่  77.  “ของหล้างได้   แหนมว่าอยู่ปล๋ายไม้    ก็หยัวะหยาดลงใส่    ของบ่หล้างได้  แหนมว่าเอาใส่ถงสะปายแง้น   ก็หลัวะหลูดจากบ่า”

อ่าน (-ของ-หล้าง-ได้///แหนม-ว่า-หยู่-ป๋าย-ไม้///ก่อ-หยัวะ-หยาด-ลง-ใส่///ของ-บ่อ-หล้าง-ได้///แหนม-ว่า-เอา-ใส่-ถง-สะ-ปาย-แง้น///ก่อ-หลัวะ-หลูด-จาก-บ่า -)

หมายถึง....สิ่งที่จะเป็นของเรา สักวันคงจะได้สมหวัง ถ้าไม่ใช่ของเรา แม้ได้มาแล้วก็อาจหลุดลอยไป        กำบ่าเก่าจึงว่า   “ของหล้างได้  แหนมว่าอยู่ปล๋ายไม้ ก็หยัวะหยาดลงใส่  ของบ่หล้างได้  แหนมว่าเอาใส่ถงสะปายแง้น ก็หลัวะหลูดจากบ่า”  

การนำไปใช้       อย่ามุ่งมั่นไขว่คว้าในสิ่งที่เกินฐานะ แม้ได้มาอาจรักษาไว้ไม่ได้  หลุดลอยจากไปจะเสียใจ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “จงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ของจะได้อยู่ปลายไม้ยังตกมาโดนตัว  ไม่ใช่ของเราแม้ใส่ถุงสะพายจนหลังแอ่นยังหลุดจากบ่า”

ลำดับที่  78.  “ของบ่กิ๋นฮู้เน่า  ของบ่เล่าฮู้ลืม” อ่าน  (-ของ-บ่อ-กิ๋น-ฮู้-เน่า//ของ-บ่อ-เล่า-ฮู้-ลืม-)

หมายถึง......ความรู้ต่างๆที่มีคุณค่า ถ้าไม่ช่วยกันส่งเสริมหรืออนุรักษ์สืบสานไว้ ย่อมสูญไปกับกาลเวลา          กำบ่าเก่าจึงว่า      “ของบ่กิ๋นฮู้เน่า  ของบ่เล่าฮู้ลืม”    

การนำไปใช้        รวบรวมความรู้ต่างๆไว้ให้คนรุ่นต่อไป

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ของไม่กินรู้เน่า  ของไม่เล่ารู้ลืม”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ของไม่กินรู้เน่า  ของไม่เล่ารู้ลืม”

ลำดับที่  79. “ขะโยมดีเปื่อตุ๊เจ้า  ลูกเต้าดีเปื่อป้อแม่    คนเฒ่าคนแก่    ดีเพราะฟังธรรม”

อ่าน  นชาละถ้าจะหื้อ-ปอ-ตั๋ว-กั้น-จัก (-ขะ-โยม-ดี-เปื่อ-ตุ๊-เจ้า///ลูก-เต้า-ดี-เปื่อ-ป้อ-แม่///คน-เถ้า-คน-แก่///ดี-เพราะ-ฟัง-ทำ-)

หมายถึง.....คำสั่งสอน ตักเตือน  ของผู้สูงอายุทำให้คนเป็นคนดี     

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ขะโยมดีเปื่อตุ๊เจ้า   ลูกเต้าดีเปื่อป้อแม่     คนเฒ่าคนแก่    ดีเพราะฟังธรรม”  

การนำไปใช้      น้อมรับคำสั่งสอนของบิดามารดา   ครูอาจารย์ แล้วนำไปปฏิบัติจะเกิดผลดีกับตนเอง

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “เด็กวัดดีเพราะเจ้าอาวาส ลูกดีเพราะพ่อแม่ คนแก่ดีเพราะฟังธรรม”

ลำดับที่  80.  “ขิงแก่มันเผ็ด”  อ่าน (-ขิง-แก่-มัน-เผ็ด-)

หมายถึง.....ผู้สูงอายุย่อมมีความรู้ประสบการณ์ในชีวิตมากกว่าหนุ่มสาว

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ขิงแก่มันเผ็ด”  

การนำไปใช้      ให้เคารพนับถือ  น้อมรับคำสั่งสอนจากผู้สูงอายุ  หรือขอคำแนะนำจากท่าน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ขิงแก่มันเผ็ด”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ขิงแก่มันเผ็ด

ลำดับที่  81.  “ขอนบ่มีเห็ด    ไผตึงบ่ใกล้”  อ่าน  (-ขอน-บ่อ-มี-เห็ด///ไผ-ตึง-บ่อ-ใกล้-)

หมายถึง.... ปู่ ย่า ตา ยาย  บิดา มารดา คนชราที่ไม่มีทรัพย์สมบัติ  ลูกหลานจะไม่ค่อยมาปรนนิบัติดูแล         กำบ่าเก่าจึงว่า   “ขอนบ่มีเห็ด   ไผตึงบ่ใกล้”  

การนำไปใช้     ควรมีความกตัญญูต่อ บิดามารดา  ปู่ย่า  ตายาย

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ขอนไม้ไม่มีเห็ด  ใครก็ไม่ใกล้ ”

ลำดับที่  82.  “ขี้ก้อนใหญ่ย้อนเปิ้น”   อ่าน  (-ขี้-ก้อน-ใหย่-ย้อน-เปิ้น -)

หมายถึง....มีความเจริญก้าวหน้าเพราะการสนับสนุนจากผู้อื่น

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ขี้ก้อนใหญ่ ย้อนเปิ้น”    

การนำไปใช้       ให้รำลึกถึงบุญคุณของผู้ที่ตนเองเคยพึ่งพา  อย่าลืมตัว 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “คางคกขึ้นวอ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ขี้ก้อนใหญ่เพราะคนอื่น”

ลำดับที่  83. “ขี้จ๊างลอดขี้มอดค้าง”  อ่าน  (-ขี้-จ๊าง-ลอด-ขี้-มอด-ค้าง-)

หมายถึง.....ดูเหมือนว่ารอบคอบถี่ถ้วน   แต่กลับไม่รอบคอบถี่ถ้วนจริง   ประหยัดในสิ่งที่ไม่ควรประหยัด 

ไม่ประหยัดในสิ่งที่ควรประหยัด 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ขี้จ๊างลอด  ขี้มอดค้าง”

การนำไปใช้       ควรไตร่ตรองให้ดี  ก่อนที่จะตัดสินใจ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ถี่ลอดตาช้าง  ห่างลอดตาเล็น ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ขี้ช้างลอดขี้มอดค้าง”

ลำดับที่  84.  “ขี้ควายไหลตวยน้ำ”  อ่าน  (-ขี้-ควาย-ไหล-ตวย-น้ำ-)

หมายถึง.....คนไม่มีความมั่นใจในตนเอง มีความโลเล  กำบ่าเก่าจึงว่า       “ขี้ควายไหลตวยน้ำ”   

การนำไปใช้         กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าตัดสินใจ มีความมั่นใจ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ไม้หลักปักเลน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ขี้ควายไหลตามน้ำ ”

ลำดับที่  85.  “ขี้โลภปันเสีย   ขี้เหลือปันได้” อ่าน  (-ขี้-โลบ-ปัน-เสีย///ขี้-เหลือ-ปัน-ได้-)

หมายถึง.....การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่   รู้จักการแบ่งปันผู้อื่น  จะได้กลับคืนมา   ถ้าโลภมากจะไม่ได้อะไรเลย            กำบ่าเก่าจึงว่า      “ขี้โลภปันเสีย ขี้เหลือปันได้”    

การนำไปใช้         เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นมากกว่าอยากได้จากเขา

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “โลภมากลาภหาย”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “โลภมากลาภหาย”

ลำดับที่  86.  “ขี้นักหมาบ่กิ๋น” อ่าน (-ขี้-นัก-หมา-บ่อ-กิ๋น-)

หมายถึง.....คนชอบโอ้อวดสรรพคุณตนเอง อวดรู้อวดฉลาด พูดแล้วทำไม่ได้ ไม่มีใครให้ความเชื่อถือ      กำบ่าเก่าจึงว่า     “ขี้นักหมาบ่กิ๋น” 

การนำไปใช้        อย่าเป็นคนขี้โม้โอ้อวดตน ควรทำให้เป็นที่ประจักษ์  ให้ผู้อื่นยอมรับในการกระทำ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “น้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ขี้กองใหญ่หมาไม่กิน”

ลำดับที่  87.  “ขี้แห้งจับต๋าหมา  ขี้ปล๋าจับข้าวคั่ว”

อ่าน  (-ขี้-แห้ง-จับ-ต๋า-หมา///ขี้-ป๋า-จับ-ข้าว-คั่ว-)

หมายถึง.....ความชอบใจ พึงพอใจของคนย่อมแตกต่างกัน บางสิ่งไม่มีใครสน  อาจถูกใจใครบางคนก็ได้        กำบ่าเก่าจึงว่า   “ขี้แห้งจับต๋าหมา   ขี้ปล๋าจับข้าวคั่ว”  

การนำไปใช้     เข้าใจในความแตกต่างของบุคคล

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ลางเนื้อชอบลางยา ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ขี้แห้งถูกใจหมา (บางตัว) ยำขี้ปลาพอดีกับข้าวคั่ว” (ยำขี้ปลาทำจากการนำเครื่องในปลาน้ำจืดมาหมักเกลือไว้  เวลาจะทานก็ใส่เครื่องปรุง รวมทั้งใส่ข้าวคั่วทำให้อร่อยมากขึ้น)

ลำดับที่  88.   ข้ามน้ำหื้อผ่อคนไปก่อน” อ่าน  (-ข้าม-น้ำ-หื้อ-ผ่อ-คน-ไป-ก่อน-)

หมายถึง.....การนำแบบอย่างความสำเร็จของผู้อื่นมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตตนเอง 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ข้ามน้ำหื้อผ่อคนไปก่อน”  

การนำไปใช้       ศึกษาแนวทางแก้ปัญหา  ที่ผู้อื่นเคยทำมาแล้ว จะได้ไม่เสียเวลา

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เดินตามหหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “เดินข้ามลำน้ำให้ดูคนนำหน้า”(คนนำเดินตกหลุมใต้น้ำเราจะได้รู้)

ลำดับที่  89.  “เข้าป่าจ๊างตางเสือ”  อ่าน  (-เข้า-ป่า-จ๊าง- ตาง-เสือ-)

หมายถึง.....ตกอยู่ในสถานการณ์ที่อันตราย  คับขัน

กำบ่าเก่าจึงว่า    “เข้าป่าจ๊าง  ตางเสือ”

การนำไปใช้    อย่าหาเรื่องให้ตนเองต้องตกอยู่ในภาวะที่คับขัน    หรือตกอยู่ในวงล้อมของเหล่าคนพาล   โดยเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจนอกกฎหมาย อาจขัดแย้งถึงตาย 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ทางเสือผ่าน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “หลงเข้าดงช้าง  ผ่านทางดงเสือ”

ลำดับที่  90.  “ข้าวบ่ตากต๋ำเหนียว     ลูกคนเดียวสอนยาก”

อ่าน  (-ข้าว-บ่อ-ตาก-ต๋ำ-เหนียว///ลูก-คน-เดียว-สอน-ยาก-)

หมายถึง.....ลูกคนเดียว มักถูกเลี้ยงด้วยการตามใจจนทำให้เสียคน เวลาอบรมสั่งสอนมักดื้อดึงไม่เชื่อฟัง       กำบ่าเก่าจึงว่า    “ข้าวบ่ตากต๋ำเหนียว  ลูกคนเดียวสอนยาก”

การนำไปใช้       การเลี้ยงดูลูกหลานอย่าตามใจเกินไป ควรฝึกระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ  มีคุณธรรม

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เลี้ยงลูกตามใจลูก”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ข้าวเปลือกไม่ตาก  นำไปตำจะเหนียว มีลูกคนเดียวสั่งสอนยาก”

ลำดับที่  91.  “เข้าหมู่แฮ้งเป๋นแฮ้ง  เข้าหมู่ก๋าเป๋นก๋า”

อ่าน (-เข้า-หมู่-แฮ้ง-เป๋น-แฮ้ง///เข้า-หมู่-ก๋า-เป๋น-ก๋า-)

หมายถึง......การทำตัวให้เข้ากับผู้คนในสังคมที่ตนเองอยู่ได้ เพื่อได้รับการยอมรับจากผู้อื่น

กำบ่าเก่าจึงว่า      “เข้าหมู่แฮ้งเป๋นแฮ้ง  เข้าหมู่ก๋าเป๋นก๋า”  

การนำไปใช้        ประพฤติตนเข้ากับสังคม

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “เข้าฝูงแร้งเป็นแร้ง  เข้าฝูงกาเป็นกา”

ลำดับที่  92. “ข้าวจะเสี้ยงเพราะกิ๋นหวาน    คนจะผลาญเพราะนอนอุ่น”

อ่าน   (-ข้าว-จะ-เสี้ยง-เพราะ-กิ๋น-หวาน///คน-จะ-ผาน-เพราะ-นอน-อุ่น-)

หมายถึง.....คนขี้เกียจไม่ช่วยกันทำมาหากินเพื่อครอบครัว มีความสุขกับการกินการนอน    

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ข้าวจะเสี้ยงเพราะกิ๋นหวาน   คนจะผลาญเพราะนอนอุ่น”   

การนำไปใช้       ช่วยกันทำงานเพื่อครอบครัว

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “กินล้างกินผลาญ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ข้าวจะหมดเพราะทานอร่อย  คนจะผลาญเพราะนอนอุ่น”

ลำดับที่  93.  “แขนตั๋วสั้น   จะไปอุ้มไหใหญ่”  อ่าน  (-แขน-ตั๋ว-สั้น///จะ-ไป-อุ้ม-ไห-ใหย่-)

หมายถึง....อย่าทำในสิ่งที่เกินความสามารถของตนเอง

กำบ่าเก่าจึงว่า     “แขนตั๋วสั้น  จะไปอุ้มไหใหญ่”   

การนำไปใช้       รู้ประมาณตน  อย่าทำอะไรเกินตัว

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ไม่ดูเงาหัว”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “แขนตนสั้นอย่าอุ้มไหใบโต”

ลำดับที่  94.  “ข้าวลีบงวงตั้ง   ข้าวเต้งงวงก๊อม”

อ่าน  (-ข้าว-ลีบ-งวง-ตั้ง///ข้าว-เต้ง-งวง-ก๊อม-)

หมายถึง.....คนโง่มักจะเย่อหยิ่ง จองหอง คนฉลาดจะนอบน้อมถ่อมตน

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ข้าวลีบงวงตั้ง  ข้าวเต้งงวงก๊อม”  

การนำไปใช้        ควรนอบน้อมถ่อมตน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เป็นผู้น้อยค่อยก้มประนมกร///ความขยัน ประหยัด อตทน นอบน้อมถ่อมตน  จะทำให้คนประสบความสำเร็จ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ข้าวลีบงวงตั้ง   ข้าวเต่งงวงค้อม”

ลำดับที่  95.  “ข้าดีต้านบ่ขาย”  อ่าน  (-ข้า-ดี-ต้าน-บ่อ-ขาย-)

หมายถึง.....คนประพฤติตนดี  มีความกตัญญู  ย่อมเป็นที่รักของผู้อื่น 

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ข้าดีต้านบ่ขาย” 

การนำไปใช้  ให้ยึดมั่นในการทำดี เป็นเด็กควรทำตัวน่ารัก  ไม่เกเร จะได้เป็นที่รักของผู้คนทั่วไป             ในสมัยก่อนข้าทาสที่มีความจงรักภักดี  เจ้านายจะไม่นำไปขายต่อ  จะเมตตาเลี้ยงไว้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “ข้าทาสดีท่านไม่ขาย”

ลำดับที่  96. “ข้าเก่าเต่าฮ้าย    เสือควายมีเขา    จักเข็บแมงเวา    เลี้ยงไว้บ่ได้     จายคาเฮือน   

กับแคร่ขี้ใต้    บ่ดีควรร่วมชิด

อ่าน  (-ข้า-เก่า-เต่า-ฮ้าย///เสือ-ควาย-มี-เขา//จัก-เข็บ-แมง-เวา///เลี้ยง-ไว้-บ่อ-ได้///จาย-คา-

เฮือน///กับ-แค่-ขี้-ไต้///บ่อ-ดี-ควน-ร่วม-ชิด-)

หมายถึง......ข้าทาสบริวารในบ้าน หรือสัตว์มีเขี้ยวมีงา  สัตว์มีพิษ ไม่ควรให้ความไว้วางใจ  

กำบ่าเก่าจึงว่า   “ข้าเก่าเต่าฮ้าย    เสือควายมีเขา  จักเข็บแมงเวา  เลี้ยงไว้บ่ได้  จายคาเฮือน  กับแคร่ขี้ใต้     บ่ดีควรร่วมชิด” 

การนำไปใช้      ระวังอันตรายที่จะเกิดจากการไว้วางใจผู้ใกล้ชิดหรือไม่ระวังสัตว์ร้าย  สัตว์มีพิษ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ช้างสาร งูเห่า  ข้าเก่า  เมียรัก”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ข้าทาสที่อยู่มานาน  เสือ  ควาย  ตะขาบ  แมงป่อง ให้ระวังอันตราย   อีกทั้งชายคา(สมัยก่อนบ้านเรือนมุงด้วยหญ้าคา)กับไม้แคร่ติดไฟอย่าได้นำมาใกล้กัน

ลำดับที่  97.  “ข้าวลีบมันตึงบ่งอก”  อ่าน  (-ข้าว-ลีบ-มัน-ตึง-บ่อ-งอก-)

หมายถึง.....คนขี้เกียจสันหลังยาวแม้จะได้รับการสนับสนุนอย่างไรก็ไม่เจริญก้าวหน้า

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ข้าวลีบมันตึงบ่งอก” 

การนำไปใช้      อย่าขี้เกียจต้องขวานขวายหาความรู้  ทดแทนคุณบิดามารดา

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ขุนไม่ขึ้น///ไม่เอาถ่าน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ข้าวลีบยังไงก็ไม่งอก”

ลำดับที่  98.  “ข้าวสุกไหนไป     ไฟลุกไหนแล่น   บ่ดี”

อ่าน  (-ข้าว-สุก-ไหน-ไป///ไฟ-ลุก-ไหน-แล่น///บ่อ-ดี-)

หมายถึง.....คนเห็นแก่ตัว   เห็นแก่ได้  เห็นแก่กิน

นแกหัเห็นยแก่ได้  เห็นแก่กินเกำบ่าเก่าจึงว่า    “ข้าวสุกไหนไป ไฟลุกไหนแล่น บ่ดี”            

การนำไปใช้       ควรทำตนเหมาะสมอย่าให้ผู้อื่นดูถูกเหยียดหยาม เพราะเห็นแก่ได้  เห็นแก่กิน

เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง  “เห็นแก่กิน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “ข้าวสุกที่ไหนไป  เขาก่อไฟรีบไปรอ    ไม่ดี”