ก.........ลำดับที่  1  “ กกหางปล่อยวัด  ”    อ่าน  (-กก-หาง-ป่อย-วัด-)

หมายถึง.....การตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง  ไม่ดูแลเอาใจใส่  ไม่ให้ความช่วยเหลือหรือเลี้ยงดูอีกต่อไป       อาทิกรณีที่ลูกหลานหรือเครือญาติ ไปก่อเรื่องเสื่อมเสียไว้  ให้ความช่วยเหลือทั้งกำลังกาย กำลังทรัพย์  กำลังสติปัญญา หลายครั้งหลายครา สั่งสอนว่ากล่าวตักเตือนก็ไม่เชื่อฟัง  ตามความเชื่อที่ว่า สัตว์ที่เลี้ยงไว้ในบ้านถ้าออกลูกมาพิการ  ( เช่น  วัวห้าขา  หมูตาเดียว ฯลฯ )   ถือเป็นสิ่งอัปมงคล   จะนำไปปล่อยที่วัด        กำบ่าเก่าจึงว่า   “ กกหางปล่อยวัด ” 

การนำไปใช้     ควรประพฤติตนเป็นคนดี   มีกริยามารยาทที่เรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง    “ตัดหางปล่อยวัด///กรวดน้ำคว่ำขัน”  

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)     “ตัดหางปล่อยวัด”

ลำดับที่  2.   “ก้นตั้งฟาก  ปากตั้งข้าว”  อ่าน (-ก้น-ตั้ง-ฟาก///ปาก-ตั้ง-ข้าว-)

หมายถึง......รีบร้อนเห็นแก่กินจนเกินไป ไม่มีมารยาทในการทานอาหาร หรือเวลาทำงานไม่ช่วยทำ      ตอนทานรีบมา  พอก้นแตะพื้นฟากปั๊บ  นำอาหารเข้าปากทันที

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ก้นตั้งฟาก ปากตั้งข้าว”    

การนำไปใช้       อย่าเห็นแก่กิน   ควรช่วยกันทำงาน อย่าหลบเลี่ยง

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง    “ ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)   “ก้นแตะพื้นฟาก ปั้นข้าวทิ่มปากทันที” ฟากคือลำไม้ไผ่สับตามยาวแผ่กางออกเป็นแผ่น  ใช้ทำพื้นหรือฝาของกระท่อมไม้ไผ่มุงหญ้าคา ปัจจุบันสร้างไว้ตามไร่นา เรียกว่า“ห้างนา”ใช้เป็นที่หลบฝน  พักผ่อน ทานอาหาร หรือใช้อาศัยค้างแรมดูแลพืชไร่ตามฤดูกาล”     

ลำดับที่  3.   “ก้นหม้อบ่ฮ้อน  บ่เป๋นแต่ไห  มันเป๋นแต่ไฟ  บ่ใจ้ก้นหม้อ”

อ่าน  (-ก้น-หม้อ-บ่อ-ฮ้อน///บ่อ-เป๋น-แต่-ไห///มัน-เป๋น-แต่-ไฟ///บ่อ-ใจ้-ก้น-หม้อ-)

หมายถึง.....ก่อนสรุปลงความเห็นตัดสินใจในเรื่องใดๆควรพิจารณาหาสาเหตุของปัญหาว่าเกิดจากอะไร 

กำบ่าเก่าจึงว่า   “ก้นหม้อบ่ฮ้อน บ่เป๋นแต่ไห  มันเป๋นแต่ไฟ   บ่ใจ้ก้นหม้อ”   

การนำไปใช้   ก่อนที่จะกล่าวโทษสิ่งใดควรพิจารณาปัญหาอย่างรอบคอบ  ว่าเกิดจากสาเหตุใด  อาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์  ก็ให้อภัยในความผิดพลาด  ร่วมกันแก้ไขให้ตรงจุด ดังเช่น  ก้นหม้อไม่ร้อน  เนื่องจากไฟไม่ลุกโชน  จะโทษก้นหม้อไม่ได้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ปัญหาแก้ที่ต้นเหตุ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)   “ก้นหม้อไม่ร้อน ไม่ใช่เพราะไห  แต่เป็นเพราะไฟ   ไม่ใช่ก้นหม้อ” 

ลำดับที่  4.  “กบใกล้ปากงู  หนูใกล้บอกไม้   จิ๊นเน่าใกล้ดังแมว”

อ่าน  (-กบ-ใก้-ปาก-งู///หนู-ใก้-บอก-ไม้///จิ๊น-เน่า-ใก้-ดัง-แมว-)

หมายถึง.....สภาพที่เอื้อให้เกิดเหตุได้ง่ายดาย ทำให้เกิดความเสียหาย  เพราะมาอยู่ใกล้ชิดกัน

กำบ่าเก่าจึงว่า    “กบใกล้ปากงู  หนูใกล้บอกไม้   จิ๊นเน่าใกล้ดังแมว ” 

การนำไปใช้      เตรียมป้องกัน  ดีกว่ามาแก้ไขทีหลัง      ใช้เป็นข้อเตือนใจหญิง  อย่าให้ความใกล้ชิดสนิทสนมกับชายจนเกินไป หญิงอาจพลาดท่าเสียทีให้ชายได้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “น้ำตาลใกล้มด”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)   “กบใกล้ปากงู  หนูใกล้รูไม้  เนื้อใกล้จมูกแมว”

ลำดับที่  5. “ก้มหน้าหื้อผ่อดินเมือง   จักรุ่งเรืองไปวันตางหน้า”

อ่าน  (-ก้ม-หน้า-หื้อ-ผ่อ-ดิน-เมือง///จัก-รุ่ง-เรือง-ไป-วัน-ตาง-หน้า-)

หมายถึง.....คนเจียมเนื้อเจียมตัว ดำรงตนอยู่แบบพอเพียง พอประมาณ  ขยันทำกินบนผืนดินของตน ย่อมเจริญก้าวหน้ากว่าคนขี้เกียจ  (ชาวล้านนาสมัยก่อนจะทำมาหากินด้วยการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์  คนขยัน ประหยัด และรู้เก็บออมทรัพย์ที่หามาได้จะมีความก้าวหน้า  ปัจจุบันยังนำไปใช้ได้  โดยมีความขยันในงานประจำที่รับผิดชอบ หมั่นออมเงิน ย่อมสร้างฐานะได้)    

กำบ่าเก่าจึงว่า  “   ก้มหน้าหื้อผ่อดินเมือง      จักรุ่งเรืองไปวันตางหน้า” 

การนำไปใช้  รู้ประมาณตน   พอใจในชีวิตความเป็นอยู่   ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เจียมเนื้อเจียมตัว”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)  “ขยันทำกิน  ชีวินสดใส”

ลำดับที่  6. “กล๋องบ่ตี๋   เสียงดักจะกว๊าย   เอามือขึ้นป้าย   เสียงดังเนืองนัน”

อ่าน  (-ก๋อง-บ่อ-ตี๋///เสียง-ดัก-จะ-ก๊วย///เอา-มือ-ขึ้น-ป้าย///เสียง-ดัง-เนือง-นัน)

หมายถึง.....มีความรู้  ความสามารถ  แต่ไม่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมรอบข้างย่อมไร้ค่า         กำบ่าเก่าจึงว่า         “กล๋องบ่ตี๋   เสียงดักจะกว๊าย   เอามือขึ้นป้าย   เสียงดังเนืองนัน”

 การนำไปใช้ควรใช้ความรู้ที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ด้วยการเสนอตัวเอง เพราะบางทีคนอื่นไม่ทราบ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “น้ำนิ่งไหลลึก///คมในฝัก”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)  “กลองไม่ตี  ไม่มีเสียงดัง  ลองตีเพียงครั้ง   เสียงดังกระหึ่ม”

ลำดับที่  7. “กล้วยก๊ำง่าม  ง่ามก๊ำกล้วย” อ่าน (-ก้วย-ก๊ำ-ง่าม///ง่าม-ก๊ำ-ก้วย-)

หมายถึง......มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน กำบ่าเก่าจึงว่า    “กล้วยก๊ำง่าม ง่ามก๊ำกล้วย” 

การนำไปใช้       ให้ความช่วยเหลือกัน  ทั้งกำลังกาย  กำลังทรัพย์ กำลังสติปัญญา หรือให้กำลังใจ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า///เกิดมาพึ่งกัน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “กล้วยค้ำง่าม  ง่ามค้ำกล้วย”

ลำดับที่  8. “กว๋างฟานมันตึงบ่ต๋ายเหล่าใหม่    มันตึงมาต๋ายเหล่าเก่า”

อ่าน  (-ก๋วง-ฟาน-มัน-ตึง-บ่อ-ต๋าย-เหล่า-ใหม่///มัน-ตึง-มา-ต๋าย-เหล่า-เก่า-)

หมายถึง.....สรรพสัตว์ทั้งหลายรวมทั้งคน ย่อมมีความผูกพันคิดถึงถิ่นเกิดของตนเอง   

กำบ่าเก่าจึงว่า   “กว๋างฟานมันตึงบ่ต๋ายเหล่าไหม่  มันตึงมาต๋ายเหล่าเก่า”   

การนำไปใช้      มีความรักหวงแหนถิ่นเกิด  ควรกลับมาช่วยเหลือให้ความร่วมมือกับชุมชน เท่าที่ทำได้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “กลับมาตายรัง”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “กวางหรือเก้งจะไม่ไปตายแหล่งใหม่   มันจะหลับมาตายถิ่นเก่า”

ลำดับที่  9. “กล้วยบ่สุกก๋าบ่กิ๋น”  อ่าน  (-ก้วย-บ่อ-สุก-ก๋า-บ่อ-กิ๋น-)

หมายถึง.....ยังนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ เพราะไม่ถึงเวลาที่เหมาะสม 

กำบ่าเก่าจึงว่า   “กล้วยบ่สุกก๋าบ่กิ๋น”      

การนำไปใช้      ควรเอาใจใส่ดูแลรักษา อดทนรอให้ถึงเวลาที่เหมาะสม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่

 เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง  “ช้าๆได้พร้าสองเล่มงาม///ช้าเป็นการนานเป็นคุณ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “กล้วยไม่สุก  กาไม่จิกกิน”

ลำดับที่ 10. “กันใคร่มีเงินมีคำ  หื้อหมั่นกึ๊ดหมั่นสร้าง กันใคร่หื้อเปิ้นอวดอ้าง  หื้อหมั่นกิ๋นหมั่นตาน”  อ่าน (-กัน-ใค่-มี-เงิน-มี-คำ///หื้อ-หมั่น-กึ๊ด-หมั่น-สร้าง ///กัน-ใค่-หื้อ-เปิ้น-อวด-อ้าง///หื้อ-หมั่น-กิ๋น-หมั่น-ตาน-)

หมายถึง....อยากร่ำรวยต้องขยัน  การทำบุญสุนทาน  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น  ผู้คนย่อมสรรเสริญ

กำบ่าเก่าจึงว่า    “กันใคร่มีเงินมีคำ  หื้อหมั่นกึ๊ดหมั่นสร้าง  กันใคร่หื้อเปิ้นอวดอ้าง หื้อหมั่นกิ๋นหมั่นตาน  ”

การนำไปใช้       ควรขยันทำมาหากิน  และทำบุญสุนทานอย่างสม่ำเสมอ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ ไม่มีความยากจนในหมู่ชนที่ขยัน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)  “อยากร่ำรวยให้ขยันคิดขยันทำ อยากให้เขาสรรเสริญให้หมั่นทำบุญ ”

ลำดับที่  11. “ก้อยอยู่ต๋ามน้ำ  ทำไปต๋ามตั๋ว   น้ำเปียงใด   ดอกบัวเปียงอั้น”

อ่าน  (-ก้อย-อยู่-ต๋าม-น้ำ-///ทำ-ไป-ต๋าม-ตั๋ว///น้ำ-เปียง-ใด///ดอก-บัว-เปียง-อั้น-)

หมายถึง.....ควรดำรงชีวิต หรือประกอบอาชีพ แบบค่อยเป็นค่อยไป ตามกำลังสติปัญญา ตามกำลังความสามารถของตน อยู่แบบพอเพียง รอให้มีความพร้อม จึงค่อยหาลู่ทางขยับขยาย    

กำบ่าเก่าจึงว่า      “ก้อยอยู่ต๋ามน้ำ   ทำไปต๋ามตั๋ว   น้ำเปียงใด   ดอกบัวเปียงอั้น” 

การนำไปใช้        ยึดหลักความพอเพียงคือ  มีความพอประมาณ   ทำอย่างมีเหตุผล  มีภูมิคุ้มกัน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ เจียมเนื้อเจียมตัว///แบบพอเพียง ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)  “ค่อยๆเป็นไปตามกำลังตน    ระดับน้ำสูงเท่าใดดอกบัวก็เท่านั้น”

 

ลำดับที่  12. “กันน้ำบ่หนา    ปู๋ปล๋าบ่ข้อน   กิ๋นแก๋งบอน    มันจ้างคันนอกลิ้น”

อ่าน  (-กัน-น้ำ-บ่อ-หนา///ปู๋-ป๋า-บ่อ-ข้อน///กิ๋น-แก๋ง-บอน///มัน-จ้าง-คัน-นอก-ลิ้น-)

หมายถึง.....คนยากจน คนไม่มีทรัพย์สินเงินทองย่อมไม่มีใครสนใจคบหา 

กำบ่าเก่าจึงว่า     “กันน้ำบ่หนา  ปู๋ปล๋าบ่ข้อน   กิ๋นแก๋งบอน   มันจ้างคันนอกลิ้น ”

การนำไปใช้        ถึงจะยากจนก็อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี   ไม่ไปรบกวนผู้อื่น  ขยันทำมาหากินสร้างฐานะตนเอง

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “จนแล้วต้องเจียม”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง) “น้ำไม่ไหลหลาก ปูปลามากไม่มา (หมายถึงไม่ร่ำรวยทรัพย์สินเงินทอง  คนไม่มาคบหา (อาจจะกลัวไปรบกวนให้เดือดร้อน) ทานแกงบอนมักคันลิ้น”  (แกงบอน ทำมาจากการนำใบบอนมาต้มให้เปื่อยยุ่ยใส่แคบหมูหรือหนังวัวควายหั่นเป็นชิ้นที่ต้มจนเปื่อยแล้ว  ปรุงด้วยเครื่องแกง   ตอนทานพิษจากยางที่ตกค้างอยู่จะทำให้คันลิ้น)

ลำดับที่  13. “กันใคร่ต๋ายโหง  หื้อหมั่นขึ้นต้นไม้  กันใคร่ต๋ายเป๋นไข้   หื้อหมั่นนอนเมื่อวัน”

อ่าน(-กัน-ใค่-ต๋าย-โหง///หื้อ-หมั่น-ขึ้น-ต้น-ไม้///กัน-ใค่-ต๋าย-เป๋น-ไข้///หื้อ-หมั่น-นอน-เมื่อ-วัน-)

หมายถึง.....ควรระวังรักษาความปลอดภัย ดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว

กำบ่าเก่าจึงว่า      “ กันใคร่ต๋ายโหง   หื้อหมั่นขึ้นต้นไม้  กันใคร่ต๋ายเป๋นไข้   หื้อหมั่นนอนเมื่อวัน ” 

การนำไปใช้     รักษาความปลอดภัย  เด็กๆไม่ควรซุกซนปีนต้นไม้เล่นอาจพลาดตกต้นไม้ ส่วนการใช้ชีวิต

ที่สุขสบายจนเกินไป (ชอบนอนกลางวัน)  ไม่ออกกำลังกาย  ร่างกายอ่อนแอ  มีโรคภัยเบียดเบียน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  อยากตายโหง  ให้ขึ้นต้นไม้   อยากป่วยไข้   ให้นอนกลางวัน”

ลำดับที่  14. “กันเปิ้นก่ายขัว   ตั๋วเฮาแป๋งฮาว   ฟู่ฮ้างฟู่สาว  หื้อมันถูกอย่าง”

 อ่าน  (-กัน-เปิ้น-ก่าย-ขัว///ตั๋ว-เฮา-แป๋ง-ฮาว///ฟู่-ฮ้าง-ฟู่-สาว///หื้อ-มัน-ถูก-หย่าง-)

หมายถึง......ควรให้ความร่วมมือช่วยเหลือกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่งและควรให้เกียรติผู้หญิง

กำบ่าเก่าจึงว่า    “กันเปิ้นก่ายขัว  ตั๋วเฮาแป๋งฮาว  ฟู่ฮ้างฟู่สาว หื้อมันถูกอย่าง” 

การนำไปใช้      งานเพื่อส่วนรวม ควรช่วยกัน ไม่นิ่งดูดาย และการพูดคุยกับสตรีควรสุภาพ ไม่พูดจาลามก

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “สามัคคีคีอพลัง////ร่วมด้วยช่วยกัน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “เขาสร้างสะพาน   เราช่วยทำราว  พูดจาหญิงสาว   ด้วยคำสุภาพ”

ลำดับที่   15.  “กันว่าจะมัด   บ่ต้องมัดด้วยป๋อ   กำปากกำคอ   มัดกั๋นก็ได้ ” 

อ่าน  (-กัน-ว่า-จะ-มัด///บ่อ-ต้อง-มัด-ด้วย-ป๋อ///กำ-ปาก-กำ-คอ///มัด-กั๋น-ก่อ-ได้-)

หมายถึง.....คำพูดที่จริงจัง  มีความจริงใจ ทำให้ความสัมพันธ์ที่มีต่อกันแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นกว่าสิ่งใด      กำบ่าเก่าจึงว่า    “กันว่าจะมัด   บ่ต้องมัดด้วยป๋อ   กำปากกำคอ   มัดกั๋นก็ได้ ”  การนำไปใช้       มีความจริงใจต่อกันเทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)   “คิดจะผูกมัด ไม่ต้องใช้เชือกปอ  คำพูดความชอบพอ ก็มัดกันได้”

ลำดับที่   16. “กันเฮาเป๋นดี    มีเก้าป้าสิบป้า    ไหลตวยมา    บ่จ๊า    กันจ๊ะต๋าลง  พันธุ์พงษ์ปี้น้า

บ่เหลียวหน้า  มาใจ   เปิ้งปี้ ก็เจ็บต๊อง เปิ้งน้องก็เจ็บใจ๋  กึ๊ดสังอันใด  ใจ๋ตั๋นตีบเสี้ยง

อ่าน(-กัน-เฮา-เป๋น-ดี/มี-เก้า-ป้า-สิบ-ป้า/ไหล-ตวย-มา-บ่อ-จ๊า/กัน-จ๊ะ-ต๋า-ลง/พัน-พง-ปี้-น้า/บ่อ-เหลียว-หน้า-มา-ใจ/เปิ้ง-ปี้-ก่อ-เจ็บ-ต๊อง/เปิ้ง-น้อง-ก่อ-เจ็บ-ใจ๋/กึ๊ด-สัง-อัน-ใด-/ใจ๋-ตั๋น-ตีบ-เสี้ยง- )

หมายถึง.....ยามมั่งมีพี่น้องมากมาย ยามอดอยากยากไร้ ขอความช่วยเหลือใครไม่ได้ 

กำบ่าเก่าจึงว่า      “กันเฮาเป๋นดี   มีเก้าป้าสิบป้า    ไหลตวยมา   บ่จ๊า   กันจ๊ะต๋าลง   พันธุ์พงษ์ปี้น้า

บ่เหลียวหน้า  มาใจ   เปิ้งปี้ก็เจ็บต๊อง    เปิ้งน้องก็เจ็บใจ๋    กึ๊ดสังอันใด    ใจ๋ตั๋นตีบเสี้ยง”

การนำไปใช้  ขยันทำงานเก็บออมทรัพย์ไว้ใช้ยามขัดสน   หวังพึ่งผู้อื่นจะพบความลำบากใจ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ เมื่อมั่งมี  มากมาย  มิตรหมายมอง  เมื่อมัวหมอง  มิตรมอง  เหมือนหมูหมา  เมื่อไม่มี  มากมิตร  ไม่มองมา  เมื่อมอดม้วย  มิตรหมาหมา  ไม่มามอง”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)  “ถ้าเรามั่งมี  มีป้าเก้าคนสิบคน  ตามมาไม่รอช้า  พอตกอับพื่ป้าน้าอา  ไม่มาสนใจ  พึ่งพาพื่ก็ปวดท้อง  พึ่งพาน้องก็เจ็บใจ  คิดอะไรก็คิดไม่ออก”

ลำดับที่  17. “กั๊บตี้อยู่ได้   กั๊บใจ๋อยู่ยาก”  อ่าน  (-กั๊บ-ตี้-หยู่-ได้///กั๊บ-ใจ๋-หยู่-ยาก-)

หมายถึง..... คนเราถ้าผิดใจกันแล้วก็อยู่ร่วมกันยาก   

กำบ่เก่าจึงว่า     “กั๊บตี้อยู่ได้   กั๊บใจ๋อยู่ยาก”           

การนำไปใช้       มีความสมัครสมานสามัคคี  ไม่ทะเลาะกัน  ”

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “คับที่อยู่ได้  คับใจอยู่ยาก ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “คับที่อยู่ได้  คับใจอยู่ยาก ”

ลำดับที่  18. “กลั๋วล้ำจ้างต๋าย  อายล้ำจ้างต้าว” อ่าน  (-กั๋ว-ล้ำ-จ้าง-ต๋าย///อาย-ล้ำ-จ้าง-ต้าว-)

หมายถึง....กลัวจนเกินไป  ประหม่าอายจนเกินเหตุ  อาจจะทำให้เกิดผลเสียกับตนเองได้

กำบ่าเก่าจึงว่า    “กลั๋วล้ำจ้างต๋าย  อายล้ำจ้างต้าว  ”  

การนำไปใช้       ระวังตนอย่างมีเหตุผล อย่ากลัวจนไม่กล้าตัดสินใจ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “กลัวจนขี้หดตดหาย ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)  “กลัวเกินมักจะตาย  อายมากไปมักจะหกล้ม”

ลำดับที่  19. “ก้าบได้บินบ่ได้”  อ่าน (-ก้าบ-ได้-บิน-บ่อ-ได้-)

หมายถึง.....คิดวางแผนได้ทุกอย่างแต่นำไปปฏิบัติจริงไม่ประสบผลสำเร็จ

กำบ่าเก่าจึงว่า   “ก้าบได้บินบ่ได้” 

การนำไปใช้     อย่าท้อแท้  ใช้ความพยายาม  หาทางแก้ไข

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง  “คิดได้ทำไม่ได้ ///คิดทุกอย่างที่ทำ อย่าทำทุกอย่างที่คิด”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ปากคาบได้   บินไปไม่ได้”

ลำดับที่  20.  “ก๋านจ๋ำเป๋น  ข้าวเย็นจ๋ำอุ่น”  

อ่าน   (-ก๋าน-จ๋ำ-เป๋น///เข้า-เย็น-จ๋ำ-อุ่น-)

หมายถึง.....เกิดเรื่องเดือดร้อกับครอบครัวญาติมิตร ต้องรีบช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน  ช้าจะไม่ทันการณ์ 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ ก๋านจ๋ำเป๋น    ข้าวเย็นจ๋ำอุ่น ”  

การนำไปใช้      ควรรีบให้ความช่วยเหลือ  ก่อนที่จะเกิดความเสียหาย จนยากต่อการแก้ไข

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “หน้าสิ่วหน้าขวาน///อะไรสำคัญให้ทำก่อน ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)    “การงานจำเป็น ข้าวที่เย็นจำเป็นต้องอุ่น”

ลำดับที่  21. “ก๊าเต้าก็กิ๋นเต้าแมง   ก๊าแต๋งก็กิ๋นแต๋งเน่า”

อ่าน  (-ก๊า-เต้า-ก่อ-กิ๋น-เต้า-แมง///ก๊า-แต๋ง-ก่อ-กิ๋น-แต๋ง-เน่า-)

หมายถึง.....เคราะห์กรรมในชีวิต ย่อมเกิดขึ้นได้กับเราทุกคน ต้องทำใจยอมรับสภาพและหาทางแก้ไข        

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ก๊าเต้าก็กิ๋นเต้าแมง ก๊าแต๋งก็กิ๋นแต๋งเน่า” 

การนำไปใช้       ยอมรับสภาพชีวิต  เข้าใจและหันหน้าสู้  อย่าท้อแท้  หมดกำลังใจ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เคราะห์หามยามร้าย”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)  “ขายแตงโมก็กินของเหลือ  แตงไทยถ้าเสียต้องกินเอง”

ลำดับที่  22. “ก๋ามะตัณหา  ปาหื้อล่วงล้ำ   บังเกิดไหม้สันดาน”

อ่าน  (-ก๋า-มะ-ตั๋น-หา///ปา-หื้อ-ล่วง-ล้ำ///บัง-เกิด-ไหม้-สัน-ดาน-)

หมายถึง....การหมกมุ่นหลงใหลอยู่ในวังวนกิเลส  ตัณหา  รัก โลภ โกรธ  หลง ทำให้ชีวิตไม่เจริญรุ่งเรือง  กำบ่าเก่าจึงว่า     “ก๋ามะตัณหา ปาหื้อล่วงล้ำ  บังเกิดไหม้สันดาน” 

การนำไปใช้       ควรดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม  ไม่หมกหมุ่นในกิเลส ตัณหา  

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “หมกมุ่นกามตัณหา  พาจิตร้อนรุ่ม  ดังมีไฟสุม   เดือดร้อนวุ่นวาย”

ลำดับที่  23. “ก๋ำพร้าแม่ตี๋นแขวน    ก๋ำพร้าป้อยังแควน”

อ่าน  (-ก๋ำ-พร้า-แม่-ตี๋น-แขวน///ก๋ำ-พร้า-ป้อ-ยัง-แควน-)

หมายถึง.....ความลำบากเมื่อขาดบิดา  มารดา

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ก๋ำพร้าแม่ตี๋นแขวน  ก๋ำพร้าป้อยังแควน”  

การนำไปใช้       ให้รับสภาพความเป็นจริงแล้วอดทนต่อสู้ชีวิตกับญาติมิตร พี่ ป้า น้า อา

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ขาดพ่อเหมือนถ่อหัก  ขาดแม่เหมือนแพแตก ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ขาดแม่ไม่มีที่ยืน  ขาดพ่อยังพอทน”   (เป็นลูกถ้าขาดพ่อ    แม่ก็อดทนเลี้ยงดู  ถ้าขาดแม่  พ่ออาจมีภรรยาใหม่  ไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ลูก)

 

ลำดับที่  24. “กิ๋นง่ายจ่ายอ่วย   มักเป็นคนตุ๊กข์   กินจิ๊กิ๋นจ๋ำ   หมั่นฮิหมั่นฮอม   มักจะเป๋นคนมี”

อ่าน  (-กิ๋น-ง่าย-จ่าย-อ่วย//มัก-เป็น-คน-ตุ๊ก//กิน-จิ๊-กิ๋น-จ๋ำ//หมั่น-ฮิ-หมั่น-ฮอม//มัก-จะ-เป๋น-คน-มี-)

หมายถึง.....คนเก็บออมทรัพย์ที่หามาได้จะร่ำรวย คนใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่ายจะยากจน  

กำบ่าเก่าจึงว่า    “กิ๋นง่ายจ่ายอ่วย   มักเป็นคนตุ๊กข์   กินจิ๊กิ๋นจ๋ำ   หมั่นฮิหมั่นฮอม   มักจะเป๋นคนมี”       

การนำไปใช้      รักษาทรัพย์ที่หามาได้  ไว้ใช้ในยามจำเป็น

เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง  “ยังไม่รวย ทำตัวรวย จะไม่รวย ยังไม่จน ทำตัวจน จะไม่จน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ใช้จ่ายเกินตัว  มักจะยากจน  กินอยู่แย่างประหยัด มั่นออม จะร่ำรวย”

ลำดับที่  25.   “ก๋ำขี้ดีกว่าก๋ำตด”  อ่าน  (-ก๋ำ-ขี้-ดี-กว่า-ก๋ำ-ตด-)

หมายถึง.....ได้บ้างนิดๆหน่อยๆ ดีกว่าไม่ได้อะไรเลย    

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ก๋ำขี้ดีกว่าก๋ำตด”      

การนำไปใช้      ควรมีความพอใจในสิ่งที่ได้  แม้ไม่มากนัก  ถ้านำไปใช้ประโยชน์ได้  ควรยินดีรับไว้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง     “กำขี้ดีกว่ากำตด///สิบเบี้ยใกล้มือ” 

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “กำขี้ดีกว่ากำตด”

ลำดับที่  26.   “กิ๋นของเปิ้น   ไว้ของตั๋ว”  อ่าน  (-กิ๋น-ของ-เปิ้น///ไว้-ของ-ตั๋ว-)

หมายถึง.....คนเห็นแก่ตัว 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ กิ๋นของเปิ้นไว้ของตั๋ว ” 

การนำไปใช้      อย่าเห็นแก่ตัว

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ขี้ไม่ให้หมากิน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)    “ทานแต่ของเขา  ของเราเก็บไว้”  

ลำดับที่  27.   “กิ๋นคนเดียวเผี้ยวตึงหมู่”   อ่าน  (-กิ๋น-คน-เดียว-เผี้ยว-ตึง-หมู่-)

หมายถึง.....ตนเองไปก่อเรื่องไว้ ญาติพี่น้องหรือผู้ใกล้ชิดต้องมารับผิดชอบ  สะสางปัญหาแทน     

กำบ่าเก่าจึงว่า    “กิ๋นคนเดียวเผี้ยวตึงหมู่ ”            

การนำไปใช้       อย่าไปก่อเรื่องเสื่อมเสีย  ให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อนมาคอยแก้ปัญหาให้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เอาตัวไม่รอด”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)     “กินคนเดียวทั้งหมดต้องมาเก็บกวาดให้”  

ลำดับที่  28. “กิ๋นได้เอาไว้ในไห   กิ๋นบ่ได้เอาไว้ในใจ๋”

อ่าน  (-กิ๋น-ได้-เอา-ไว้-ใน-ไห///กิ๋น-บ่อ-ได้-เอา-ไว้-ใน-ใจ๋-)

หมายถึง.....เรื่องที่จะก่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง  เกิดขัดแย้งกัน ไม่ควรนำมาเป็นหัวข้อสนทนาพูดคุย      กำบ่าเก่าจึงว่า     “กิ๋นได้เอาไว้ในไห    กิ๋นบ่ได้เอาไว้ในใจ๋”  

การนำไปใช้        พูดจาในเรื่องที่สร้างสรรค์

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “น้ำขุ่นไว้ใน  น้ำใสไว้นอก”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)    “ทานได้เก็บไว้ในไห  ทานไม่ได้เก็บไว้ในใจ”

ลำดับที่  29.  “กิ๋นต๋างลี้ขี้ต๋างยั้ง” อ่าน  (-กิ๋น-ต๋าง-ลี้-ขี้-ต๋าง-ยั้ง-)

หมายถึง.....คนโกหกตอแหลหาข้ออ้างเพื่อหลบงาน 

กำบ่าเก่าจึงว่า     “กิ๋นต๋างลี้ขี้ต๋างยั้ง”

การนำไปใช้       อย่าประพฤติตนเอาเปรียบผู้อื่น  ไม่โกหกตอแหล อ้างโน้นอ้างนี่เพื่อหลบเลี่ยงการทำงาน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “รู้หลบเป็นปีก  รู้หลีกเป็นหาง”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ไปกินเพื่อหลีกหนี  ไปขี้เพื่อจะหยุด”

ลำดับที่  30.  “กิ๋นบ่จ้างก็เป็นหนี้   ขี้บ่จ้างขี้ก็เป๋นกำ   ทำบ่ดีเปิ้นก็เล่า”

อ่าน   (-กิ๋น-บ่อ-จ้าง-ก่อ-เป๋น-หนี้///ขี้-บ่อ-จ้าง-ก่อ-เป๋น-กำ///ทำ-บ่อ-ดี-เปิ้น-ก่อ-เล่า-)

 หมายถึง.....ใช้จ่ายเกินฐานะตนทำให้เป็นหนี้  ประพฤติตนไม่ดี  คนทั่วไปย่อมนินทา   

กำบ่าเก่าจึงว่า     “กิ๋นบ่จ้างก็เป็นหนี้  ขี้บ่จ้างขี้ก็เป๋นกำ  ทำบ่ดีเปิ้นก็เล่า”   การนำไปใช้  ทำความดี

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “กินใช้ไม่เป็นก็เป็นหนี้     ทำไม่ดีคนก็นินทา”

ลำดับที่  31. “กิ๋นหลายต๋ายคนเดียว”  อ่าน  (-กิ๋น-หลาย-ต๋าย-คน-เดียว-)

หมายถึง....หารายได้คนเดียว  แต่คนช่วยใช้จ่ายหลายคน  กำบ่าเก่าจึงว่า   “กิ๋นหลายต๋ายคนเดียว”        

การนำไปใช้    ควรรู้จักประกอบอาชีพ  หารายได้  มาช่วยเหลือจุนเจือหรือแบ่งเบาภาระในสิ่งที่ทำได้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “คนกินมากมายแต่ตายคนเดียว”

ลำดับที่  32.  “กิ๋นข้าวหื้อไว้ต่าน้ำ”  อ่าน  (-กิ๋น-ข้าว-หื้อ-ไว้-ต่า-น้ำ-)

หมายถึง.....ควรวางแผนไว้ล่วงหน้า  เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่เรารู้อยู่แล้วว่าจะเกิดขึ้น 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “กิ๋นข้าวหื้อไว้ต่าน้ำ” 

การนำไปใช้       ควรเตรียมวางแผนรับสถานการณ์ล่วงหน้า

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เผื่อเหลือเผื่อขาด”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ทานอาหารควรเผื่อท้องไว้ดื่มน้ำ ”

ลำดับที่  33. “กิ๋นเมื่อใจ๋ยัง   กิ๋นเมือดังสาบ”   อ่าน  (-กิ๋น-เมื่อ-ใจ๋-ยัง///กิ๋น-เมื่อ-ดัง-สาบ-)

หมายถึง....รู้จักหาสิ่งดีๆเพื่อตนเองยามที่ยังแข็งแรง ยังมีความต้องการ ร่างกายไม่เจ็บป่วย

กำบ่าเก่าจึงว่า   “กิ๋นเมื่อใจ๋ยัง   กิ๋นเมื่อดังสาบ”

การนำไปใช้     ใช้จ่ายเงินเพื่อความสุขในชีวิตอย่าขี้เหนียว ยามชราเจ็บไข้ แม้ทานอาหารเลิศรส ก็ไม่อร่อย 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “ทานตอนยังมีลมหายใจ  ทานตอนที่จมูกยังได้กลิ่น”

ลำดับที่  34. “กิ๋นแล้วลืมอยาก  ปากแล้วลืมกำ”  อ่าน (-กิ๋น-แล้ว-ลืม-หยาก///ปาก-แล้ว-ลืม-กำ-)

หมายถึง.....คนไม่รักษาคำพูด ไม่รักษาคำสัญญาที่ให้ไว้

กำบ่าเก่าจึงว่า “ กิ๋นแล้วลืมอยาก  ปากแล้วลืมกำ ”

การนำไปใช้  ให้ยึดมั่นในคำสัญญา   มีสัจจะในคำพูด

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ไร้สัจจะ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ทานแล้วลืมอยาก  พูดแล้วลืมคำ” 

ลำดับที่  35. “กิ๋นหื้อปอคาบ   หาบหื้อปอแฮง    แป๋งหื้อปอใจ้   ไข้หื้อปอนอน”

อ่าน  (-กิ๋น-หื้อ-ปอ-คาบ///หาบ-หื้อ-ปอ-แฮง///แป๋ง-หื้อ-ปอ-ใจ้///ไข้-หื้อ-ปอ-นอน-)

หมายถึง.....การปฏิบัติในเรื่องต่างๆอย่างมีเหตุผล  มีความพอเหมาะพอดี  ไม่ขาดไม่เกิน

กำบ่าเก่าจึงว่า      “กิ๋นหื้อปอคาบ   หาบหื้อปอแฮง   แป๋งหื้อปอใจ้   ไข้หื้อปอนอน ”

การนำไปใช้         มีความพอดี   ไม่ขาดไม่เหลือ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ความพอเพียง  พอประมาณ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)   “ทานอิ่มพอคาบ  หาบให้พอดีแรงตัว    ทำพอใช้  ป่วยให้พอนอน”

ลำดับที่  36.  “กิ๋นเหมือนเปิ้น   จะไปกิ๋นอย่างเปิ้น” 

อ่าน   (-กิ๋น-เหมือน-เปิ้น///จะ-ไป-กิ๋น-อย่าง-เปิ้น-)

หมายถึง....การรู้จักประมาณตนในการดำรงชีวิต

กำบ่าเก่าจึงว่า   “กิ๋นเหมือนเปิ้น  จะไปกิ๋นอย่างเปิ้น”   

การนำไปใช้     มีอาหารกินครบทุกมื้อเหมือนคนอื่น  อย่าไปก่อหนี้เพราะอยากกินอาหารแพงแบบคนรวย

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “กินเหมือนเขา  อย่ากินอย่างเขา”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “กินเหมือนเขา  อย่ากินอย่างเขา”

ลำดับที่  37. “กิ๋นเต่าลืมคุณหมา   กิ๋นปล๋าลืมคุณแห”  

อ่าน  (-กิ๋น-เต่า-ลืม-คุน-หมา///กิ๋น-ป๋า-ลืม-คุน-แห-)

หมายถึง.....คนอกตัญญู ได้รับความช่วยเหลือ  ได้ผลประโยชน์แล้วลืมผู้มีพระคุณ   

กำบ่าเก่าจึงว่า   “กิ๋นเต่าลืมคุณหมา  กิ๋นปล๋าลืมคุณแห”  

การนำไปใช้     ควรมีความกตัญูญูต่อผู้มีพระคุณ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เสร็จนาฆ่าโคถึก  เสร็จศึกฆ่านายทหาร”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “กินเต่าลืมคุณของหมา  กินปลาลืมคุณของแห” (ไม่แบ่งเนื้อเต่าให้สุนัขที่ไปช่วยหาเต่าและเมื่อได้กินปลาก็ลืมแห  ไม่นำเอาไปผึ่งลมให้แห้ง  กลับกองหมกไว้ )

ลำดับที่  38.  “กิ๋นอิ่มแล้วหนี   กิ๋นพีแล้วป้าย”  อ่าน (-กิ๋น-อิ่ม-แล้ว-หนี///กิ๋น-พี-แล้ว-ป้าย-)

หมายถึง.....คนไม่มีความสำนึกในบุญคุณ  รับความช่วยเหลือแล้วจากไปอย่างไม่มีเยื่อใย

กำบ่าเก่าจึงว่า    “กิ๋นอิ่มแล้วหนี  กิ๋นพีแล้วป้าย  ” 

การนำไปใช้       ควรมีความกตัญูรู้คุณ  อย่าเห็นแก่ตัว

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)   “ทานอิ่มแล้วหนี    อ้วนพีแล้วไป”

ลำดับที่  39.  “กิ๋นตานหยาดน้ำ   ทำบุญหลวงหลาย    จักได้สบาย    เกิดสุขปายหน้า”

อ่าน    (-กิ๋น-ตาน-หยาด-น้ำ///ทำ-บุน-หลวง-หลาย/// จัก-ได้-สะ-บาย-///เกิด-สุก-ปาย-หน้า-)

หมายถึง....การหมั่นเข้าวัดทำบุญสุนทาน มีความเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  จิตใจพบความสงบสุข     กำบ่าเก่าจึงว่า     “กิ๋นตานหยาดน้ำ   ทำบุญหลวงหลาย    จักได้สบาย    เกิดสุขปายหน้า”     

การนำไปใช้       เข้าวัดทำบุญทำทาน ใส่บาตร หรือให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้ 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ทำบุญสุนทาน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ทำบุญทำทาน  จะสุขสบายในภายภาคหน้า  ”

ลำดับที่  40.  “กิ๋นอิ่มนอนบ่หลับ”อ่าน  (-กิ๋น-อิ่ม-นอน-บ่อ-หลับ-)

หมายถึง.....มีเรื่องกังวลใจจนนอนไม่หลับ อีกกรณีคือทานมื้อเย็นมากจนทำให้นอนไม่หลับเพราะจุกท้อง   กำบ่าเก่าจึงว่า    “กิ๋นอิ่มนอนบ่หลับ” 

การนำไปใช้       ควรประพฤติตนดี จะได้ไม่มีเรื่องกังวลใจ   และทานอาหารมื้อเย็นไม่ควรทานอิ่มเกินไป  

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ทานอิ่มนอนไม่หลับ”

ลำดับที่  41. “ กิ๋นแล้วหื้อเก็บ  เจ็บแล้วหื้อจ๋ำ ” 

อ่าน  (-กิ๋น-แล้ว-หื้อ-เก็บ///เจ็บ-แล้ว-หื้อ-จ๋ำ-)

หมายถึง.....การจดจำความผิดพลาดในอดีตไว้สอนใจตนเอง (เจ็บในที่นี้หมายถึงความผิดพลาดของตนเองที่เคยประสบมา มิได้หมายถึงเจ็บใจเจ็บกายจากการกระทำของคนอื่นแล้วจำไว้เพื่อการแก้แค้น )

กำบ่าเก่าจึงว่า   “กิ๋นแล้วหื้อเก็บ    เจ็บแล้วหื้อจ๋ำ”               

การนำไปใช้     นำความผิดพลาดในอดีตมาเป็นบทเรียน  เพื่อการดำเนินชีวิตต่อไปในปัจจุบันและอนาคต

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เจ็บแล้วให้จำ” 

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ทานอิ่มให้เก็บ   เจ็บแล้วให้จำ”

ลำดับที่   42. “กิ๋นหื้อปอต๊อง   หย้องหื้อปอตั๋ว    ป้อจายใคร่หัว   หื้อใคร่หัวดังๆ”

อ่าน  (-กิ๋น-หื้อ-ปอ-ต๊อง///หย้อง-หื้อ-ปอ-ตั๋ว///ป้อ-จาย-ใคร่-หัว///หื้อ-ใคร่-หัว-ดัง-ดัง-)

หมายถึง.....การปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม  สมศักดิ์ศรี  สมกับฐานะความเป็นอยู่

กำบ่าเก่าจึงว่า     “กิ๋นหื้อปอต๊อง   หย้องหื้อปอตั๋ว   ป้อจายใคร่หัว    หื้อใคร่หัวดังๆ  ”

การนำไปใช้        ทำตัวเหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง    “สมน้ำสมเนื้อ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)   “ทานอิ่มแต่พอดี มีแต่งแต่พอตัว  หัวเราะดังให้  สมชายชาตรี

ลำดับที่  43. “เกิดตะวา    มืนต๋าตะเจ๊า   จะไปฟั่งแก่เฒ่ากั๋นเลย”

อ่าน   (-เกิด-ตะ-วา///มืน-ต๋า-ตะ-เจ๊า///จะ-ไป-ฟั่ง-แก่-เถ้า-กั๋น-เลย-)

หมายถึง.....ยังหนุ่มยังสาวอย่าหมดกำลังใจ   หรือคิดท้อแท้ในชีวิต ควรใช้สติปัญญาต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรค       กำบ่าเก่าจึงว่า    “เกิดตะวา   มืนต๋าต๊ะเจ๊า  จะไปฟั่งแก่เฒ่ากั๋นเลย”  

การนำไปใช้        ต้องหันหน้าสู้ชีวิต  ไม่ท้อแท้  ย่อท้อต่อความบากลำบากในการดำชีวิต

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ใจหนุ่มในร่างแก่  ดีกว่าใจอ่อนแอในร่างหนุ่ม”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)   “เกิดเมื่อวานซืน  อย่าฝืนแก่เลย”

ลำดับที่  44. “เกิดเป๋นคน   เข้าห้วยใดก็หื้อมันสุด   ขุดห้วยใดก็หื้อมันตึ๊ก”

อ่าน  (-เกิด-เป๋น-คน///เข้า-ห้วย-ใด-ก่อ-หื้อ-มัน-สุด///ขุด-ห้วย-ใด-ก่อ-หื้อ-มัน-ตึ๊ก-)

หมายถึง.....การมีความมุมานะพยายามทำงานตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ทิ้งให้เป็นภาระกับผู้อื่นอีกต่อไป       

กำบ่าเก่าจึงว่า     “เกิดเป๋นคน เข้าห้วยใดก็หื้อมันสุด  ขุดห้วยใดก็หื้อมันตึ๊ก ” 

การนำไปใช้       ทำอะไรควรทำอย่างจริงจัง ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก   อดทนทำจนกว่าจะสำเร็จ

เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง   “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “เกิดมาเป็นคน  จะลงห้วยหรือขุด  ให้ถึงที่สุดไปเลย”

ลำดับที่  45.  “เก็บผักลวดหักหลัว   ตกขัวลวดอาบน้ำ” 

อ่าน   (-เก็บ-ผัก-ลวด-หัก-หลัว///ตก-ขัว-ลวด-อาบ-น้ำ-)

หมายถึง.....ถือโอกาสใช้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำหลายเรื่องราว(ที่ดีกับตนเอง)ในโอกาสเดียวกัน 

กำบ่าเก่าจึงว่า     “เก็บผักลวดหักหลัว   ตกขัวลวดอาบน้ำ”  

การนำไปใช้        ถ้าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชชน์ไม่เกิดเภทภัยก็ทำได้จะเป็นผลดีกับตัวเอง

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “เก็บผักแวะหาฟืน  ตกสะพานเลยถือโอกาสอาบน้ำ ”

ลำดับที่  46. “เก็บผักหื้อเอาตึงเครือ   เก็บบ่าเขือหื้อเอาตึงขวั้น”

อ่าน  (-เก็บ-ผัก-หื้อ-เอา-ตึง-เครือ///เก็บ-บ่า-เขือ-หื้อ-เอา-ตึง-ขวั้น)

หมายถึง....รู้คุณค่าสิ่งของที่มี ไม่ปล่อยทิ้งไว้  นำมาพร้อมกันพิจารณาว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ใดได้บ้าง          กำบ่าเก่าจึงว่า     “เก็บผักหื้อเอาตึงเครือ   เก็บบ่าเขือหื้อเอาตึงขวั้น”  

การนำไปใช้       คัดเลือกสิ่งต้องการไว้สิ่งที่นำมาด้วยถ้าเหลือ  พิจารณาว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เผื่อเหลือเผื่อขาด”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)  “เก็บผักเอามาทั้งเครือ    เก็บมะเขือเอามาทั้งขวั้น

ลำดับที่  47. “กำขอแปงเหลือกำซื้อ   กำลือแปงเหลือกำอู้”

อ่าน    (-กำ-ขอ-แปง-เหลือ-กำ-ซื้อ///กำ-ลือ-แปง-เหลือ-กำ-อู้-)

หมายถึง.....การขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นย่อมเป็นหนี้บุญคุณตลอดไป ถ้าเราใช้เงินซื้อก็ไม่ติดบุญคุณ ส่วนคำเล่าลือจะน่าสนใจกว่าคำพูดทั่วไป

กำบ่าเก่าจึงว่า    “กำขอแปงเหลือกำซื้อ กำลือแปงเหลือกำอู้”         

การนำไปใช้     ถ้าไม่จำเป็นจริงๆอย่าชอบพึ่งพา  หรือไปขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น  เพราะต้องเป็นหนี้บุญคุณเขา และอาจได้รับการดูหมิ่นเกลียดชัง  ส่วนคำเล่าลือนั้นอย่าเพิ่งปักใจเชื่อ  ให้ฟังหูไว้หู 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง ขอมีราคาแพงกว่าซื้อ   คำเล่าลือน่าสนใจกว่าคำพูด(ทั่วไป)” 

ลำดับที่  48. “กำจ่มกำด่า นั้นเป๋นกำดี   ถ้าฟังบ่ถี่    มันตึงบ่ม่วนหู”

อ่าน  (-กำ-จ่ม-กำ-ด่า///นั้น-เป๋น-กำ-ดี///ถ้า-ฟัง-บ่อ-ถี่///มัน-ตึง-บ่อ-ม่วน-หู-)

หมายถึง.....คำชึ้แนะ สั่งสอนของผู้อาวุโสไม่น่ารับฟัง แต่ถ้าคิดตามแล้วนำไปปฏิบัติจะมีประโยชน์

กำบ่าเก่าจึงว่า     “กำจ่มกำด่า นั้นเป๋นกำดี  ถ้าฟังบ่ถี่  มันตึงบ่ม่วนหู”  

การนำไปใช้       เปิดใจน้อมรับคำสั่งสอน และนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์กับตนเอง  ครอบครัว  สังคม

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “คำบ่นคำด่านั้นเป็นคำดี  ถ้าไม่ใส่ใจรับฟัง  มันไม่ไพเราะหู”

ลำดับที่  49. “กำติเตี๋ยน   สำเนียงจ่มส้าม   ย่อมจะมีมากู้ทิศ”

อ่าน  (-กำ-ติ-เตี๋ยน///สำ-เนียง-จ่ม-ส้าม///ย่อม-จะ-มี-มา-กู้-ติ๊ด-)

หมายถึง.......ถ้อยคำตำหนิต่อว่า  การนินทาผู้อื่น จะให้หมดไปคงเป็นไปไม่ได้  

กำบ่าเก่าจึงว่า    “กำติเตี๋ยน  สำเนียงจ่มส้าม  ย่อมจะมีมากู้ทิศ” 

การนำไปใช้       รู้จักปลง ให้อภัย ปล่อยวาง    อย่าโต้ตอบให้เรื่องลุกลาม

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “คำติฉินนินทา  คำบ่นด่าว่ากล่าวย่อมมีมาจากทุกทิศทาง”

ลำดับที่  50. “กำฟู่เก๊า   เอาตุมตี้ไหน  เอาก๋ำใส่ไฟ   ฤาไหลน้ำกว้าง”

อ่าน  (-กำ-ฟู่-เก๊า///เอา-ตุม-ตี้-ไหน///เอา-ก๋ำ-ใส่-ไฟ///รือ-ไหล-น้ำ-กว้าง-)

หมายถึง.....คนที่พูดแล้วลืมคำ  ไม่รักษาคำสัญญา 

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ กำฟู่เก๊า เอาตุมตี้ไหน  เอาก๋ำใส่ไฟ  ฤาไหลน้ำกว้าง ”

การนำไปใช้       ให้เป็นคนมีสัจจะในคำพูด ไม่ใช้คำพูดหลอกลวงผู้อื่น

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ลืมคำสัญญา”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)  “คำพูดแต่แรก เอาปทิ้งที่ไหน   จับโยนลงไฟ หรือปล่อยไหลน้ำกว้าง”

ลำดับที่  51. “กำบ่มีไผบ่ว่า   บ่มีต้าควายบ่ลง   บ่มีต๋งบ่ได้ปู๋แป้น”

อ่าน  (-กำ-บ่อ-มี-ไผ-บ่อ-ว่า///บ่อ-มี-ต้า-ควาย-บ่อ-ลง///บ่อ-มี-ต๋ง-บ่อ-ได้-ปู๋-แป้น-)

หมายถึง.....เรื่องที่ไม่มีความจริง คงไม่มีใครนำมาเล่าลือ

กำบ่าเก่าจึงว่า      “กำบ่มีไผบ่ว่า  บ่มีต้าควายบ่ลง    บ่มีต๋งบ่ได้ปู๋แป้น”

การนำไปใช้         ให้พิจารณาเรื่องเล่าลือต่างๆ  อาจจะมีความจริงก็ได้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ไม่มีมูลฝอยหมาไม่ขี้”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง ความเท็จใครจะว่า ตลิ่งไม่มีท่า ควายไม่ลง  ไม่มีไม้ตง ปูพื้นไม่ได้

ลำดับที่  52. “กำจ๋าหอมเป๊ตเปียงดอกไม้      ยามบิดจากขวั้นมาดม

อ่าน   (-กำ-จ๋า-หอม-เป๊ด-เปียง-ดอก-ไม้-///ยาม-บิด-จาก-ขวั้น-มา-ดม-)

หมายถึง.....วาจาที่ไพเราะอ่อนหวานเทียบได้กับความหอมหวลของดอกไม้ยามเด็ดจากขั้วมาดอมดม      กำบ่าเก่าจึงว่า      “กำจ๋าหอมเป๊ตเปียงดอกไม้  ยามบิดจากขวั้นมาดม”  

การนำไปใช้        ใช้คำพูดที่ไพเราะหวานหูกับทุกคน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง    “มธุรสวาจา (ไพเราะ)”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง     “คำพูดที่ไพเราะ เทียบได้กับความหอมของดอกไม้ที่เด็ดจากขั้วมาดม”

ลำดับที่  53. “กำบ่ดีบ่ควรเอามาเล่า   กำป๋างเก่าบ่ดีเอามายาย  ” 

อ่าน  (-กำ-บ่อ-ดี-บ่อ-ควน-เอา-มา-เล่า///กำ-ป๋าง-เก่า-บ่อ-ดี-เอา-มา-ยาย-)

หมายถึง.....เรื่องเท็จอย่านำมาเล่าลือ ข้อขัดแย้งเก่าๆอย่านำมาเติมแต่ง  ให้เป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาอีก 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “กำบ่ดี  บ่ควรเอามาเล่า  กำป๋างเก่า  บ่ดีเอามายาย”

การนำไปใช้      ควรพูดในเรื่องที่สร้างสรรค์     

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ฟื้นฝอยหาตะเข็บ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “เรื่องไม่จริงไม่ควรนำมาเล่า ความขัดแย้งเก่าๆอย่านำมาเรียงร้อยคำ”

ลำดับที่  54. “กำบ่มีไผบ่ว่า   นกจับปล๋ายไม้ค่า   บ่ใจ้ตั๋วปู้ก็ตั๋วแม่”

อ่าน  (-กำ-บ่อ-มี-ไผ-บ่อ-ว่า///นก-จับ-ป๋าย-ไม้-ค่า///บ่อ-ใจ้-ตั๋ว-ปู้-ก่อ-ตั๋ว-แม่-)

หมายถึง.....ความเท็จคงไม่นำมาเล่าลือ

กำบ่าเก่าจึงว่า     “กำบ่มีไผบ่ว่า นกจับปล๋ายไม้ค่า บ่ใจ้ตั๋วปู้ก็ตั๋วแม่”

การนำไปใช้        ควรรับฟังเรื่องที่เล่าลือมา  อาจมีมูลความจริงอยู่บ้าง

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง    “ไม่มีมูลฝอยหมาไม่ขี้”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “เรื่องไม่จริงคงไม่มีใครว่า นกเกาะยอดไม้มะค่า ไม่ตัวผู้ก็ตัวเมียแน่นอน”

ลำดับที่  55. “กำกึ๊ดดี   ขายสลีนอนสาด”  อ่าน  (-กำ-กึ๊ด-ดี///ขาย-สะ-ลี-นอน-สาด-)

หมายถึง.....ก่อนจะตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ควรพิจารณาถึงข้อดีข้อเสีย ว่าถ้าทำแล้วมีความคุ้มค่าหรือไม่              กำบ่าเก่าจึงว่า    “กำกึ๊ดดี   ขายสลีนอนสาด”

การนำไปใช้       ดูว่าสิ่งที่เสียไปกับสิ่งที่ได้มาว่าคุ้มกันหรือไม่

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ได้ไม่คุ้มเสีย”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ความคิดดี  ขายฟูกนอนเสื่อ”( พูดแบบประชด)  

ลำดับที่  56. “กำปากว่าแต้    ใจ๋แผ่ไปหลาย   ปากว่าบ่ดาย    ใจ้ก๋านบ่ได้”

อ่าน  (-กำ-ปาก-ว่า-แต้///ใจ๋-แผ่-ไป-หลาย///ปาก-ว่า-บ่อ-ดาย///ใจ้-ก๋าน-บ่อ-ได้-)

หมายถึง.....คนปากไม่ตรงกับใจ   คำพูดดีแต่ใจดำ    คนที่ดีแต่พูด    เป็นคนไม่น่าเชื่อถือ    

กำบ่าเก่าจึงว่า       “ กำปากว่าแต้  ใจ๋แผ่ไปหลาย  ปากว่าบ่ดาย   ใจ้ก๋านบ่ได้ ”

การนำไปใช้          อย่าแกล้งเพียงแต่พูดหรือรับไปให้พอพ้นๆแต่ไม่มีความจริงใจ  อย่าพูดดีแต่ใจดำ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ ปากหวานก้นเปรี้ยว///ปากปราศรัยใจเชือดคอ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)  “พูดจริงทำจริงเป็นเรื่องดี  แต่ถ้าพูดแล้วไม่ทำใช้ไม่ได้” 

ลำดับที่  57.  “กำบ่มีบ่ดีแป๋งใส่   กำบ่ใหญ่บ่ดีแป๋งเอา    หมาสามตั๋วก็วายข้าว

เฒ่าสามย่าก็วายคัว    จุ๋มปลวกอยู่ยังนาว่าแสงข้าว     เฒ่าอยู่ยังเฮือนว่าแสงเฮือน

อ่าน     (กำ-บ่อ-มี-บ่อ-ดี-แป๋ง-ใส่///กำ-บ่อ-ใหย่-บ่อ-ดี-แป๋ง-เอา///หมา-สาม-ตั๋ว-ก่อ-วาย-เข้า///

เถ้า-สาม-ย่า-ก่อ-วาย-คัว///จุ๋ม-ปวก-หยู่-ยัง-นา-ว่า-แสง-ข้าว///เถ้า-หยู่-ยัง-เฮือน-ว่า-แสง-เฮือน- )

หมายถึง.....เรื่องไม่จริงอย่านำมาแต่งเติม   เรื่องเพียงนิดหน่อยไม่ควรนำไปขยายให้เกิดความขัดแย้ง อย่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น และควรมีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ บิดา  มารดา  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  

กำบ่าเก่าจึงว่า   “กำบ่มีบ่ดีแป๋งใส่  กำบ่ใหญ่บ่ดีแป๋งเอา   หมาสามตั๋วก็วายข้าว เฒ่าสามย่าก็วายคัว   จุ๋มปลวกอยู่ยังนาว่าแสงข้าว เฒ่าอยู่ยังเฮือนว่าแสงเฮือน”

การนำไปใช้    เรื่องไม่จริง เรื่องเล็กๆน้อยๆอย่านำมายุแหย่ให้เกิดเรื่อง ไม่ใช้จ่ายเกินจำเป็น ( เลี้ยงสุนัขสามตัว หรือมีภรรยาสามคน ) เราต้องกตัญญูต่อปู่ ย่า  ตา  ยาย  (  จอมปลวกเกิดบริเวณทุ่งนาถือเป็นมงคลของทุ่งนา มีปูย่า  ตายาย  ในครอบครัวถือเป็นมงคลในบ้าน  ควรดูแลเอาใจใส่  กตัญญูรู้คุณ )

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง  “บ่างช่างยุ///ยุแยงตะแคงรั่ว”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “เรื่องความเท็จ  อย่าเอ่ยออกปาก เลี้ยงสุนัขมากเปลืองข้าว ความจนรุมเร้า   ถ้ามีเมียแยะ  จอมปลวกกลางนาคือมงคลท้องทุ่ง ครอบครัวเจริญเรืองรุ่ง  เพราะดูแลปู่ย่าตายาย” 

ลำดับที่  58.  “กำส่อแป้กำยอ   สามหมออยู่เฮือนฮั่ว”

อ่าน  (-กำ-ส่อ-แป้-กำ-ยอ///สาม-หมอ-หยู่-เฮือน-ฮั่ว-)

หมายถึง.....คำยุแยงมีผลทำให้คนโมโห หรือมีอารมณ์มากกว่าถ้อยคำสรรเสริญเยินยอ   

กำบ่าเก่าจึงว่า     “กำส่อแป้กำยอ สามหมออยู่เฮือนฮั่ว” 

การนำไปใช้        อย่าใส่ใจในคำยุแยง   และไม่ควรเชื่อคำทำนายเกินไป

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “มากหมอมากความ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ยุแยงมีผล กว่าคำยกยอ ถามสามหมอ(หมอดู) ต้องอยู่บ้านรั่ว”

(บ้านหลังคารั่ว  หาฤกษ์ซ่อมแซม  ถามหมอดูสามคนบอกวันไหนก็ไม่ดี   ยังซ่อมไม่ได้ ต้องอยู่บ้านรั่ว)

ลำดับที่  59. “กำฟู่นักปราชญ์  เหมือนดาบสองคม  กำฟู่คนง่าวงม   เหมือนลมปั๊ดยอดไม้”

อ่าน (-กำ-ฟู่-นัก-ปาด///เหมือน-ดาบ-สอง-คม///กำ-ฟู่-คน-ง่าว-งม///เหมือน-ลม-ปั๊ด-ยอด-ไม้-)

หมายถึง.....คำพูดของคนมีความรู้  มีสาระความหมาย มีความน่าเชื่อถือ นำไปตีความได้หลายแง่ หลายมุม ส่วนคำพูดของคนรู้น้อย มักหาสาระไม่ได้ 

กำบ่าเก่าจึงว่า      “กำฟู่นักปราชญ์ เหมือนดาบสองคม    กำฟู่คนง่าวงม   เหมือนลมปั๊ดยอดไม้” 

การนำไปใช้         หมั่นหาความรู้  เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ตนเอง

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ปัญญารู้ด้วยการสนทนา”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “คำพูดนักปราชญ์ เหมือนดาบสองคม  คำคนโง่งม  ลมพัดยอดไม้” 

ลำดับที่  60. “กำปากเหมือนดังผีสอน    ผ่อตี้นอนอย่างโหม้งกระต่าย”

อ่าน  (-กำ-ปาก-เหมือน-ดัง-ผี-สอน///ผ่อ-ตี้-นอน-หย่าง-โหม้ง-กะ-ต่าย-)

หมายถึง.....คนพูดจาดีมีหตุผล น่าเชื่อถือศรัทธา แต่พฤติกรรมเบื้องหลังใช้ไม่ได้    

กำบ่าเก่าจึงว่า     “กำปากเหมือนดังผีสอน  ผ่อตี้นอนอย่างโหม้งกระต่าย”

การนำไปใช้       ทำความดีทั้งต่อหน้าและลับหลัง

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ปากหวานก้นเปรี้ยว///ปากปราศรัยใจเชือดคอ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)   “พูดเหมือนผีสอน ดูที่นอนเหมือนหลุมกระต่าย”

ลำดับที่  61. “กำขอแปงกว่ากำซื้อ  ควรจักยื่นหื้อ  ควรมีไมถี  คนจะยินดี  เพราะขอกั๋นได้”

อ่าน  (-กำ-ขอ-แปง-กว่า-กำ-ซื้อ-ควน-จัก-ยื่น-หื้อ-ควน-มี-ไม-ถี-คน-จะ-ยิน-ดี-เพราะ-ขอ-กั๋น-ได้)

หมายถึง....การไปขอนั้นมีราคาแพงกว่าไปซื้อเพราะต้องติดบุญคุณตลอดไป การเอื้อเฟื้อแบ่งปันต่อผู้ยากไร้  ทำให้มองเห็นว่าคนเรานั้นย่อมมีเมตตาต่อกัน สามารถขอกันได้  ไม่เห็นแก่ตัวจนเกินไป 

กำบ่าเก่าจึงว่า     “กำขอแปงกว่ากำซื้อ  ควรจักยื่นหื้อ  ควรมีไมถี  คนจะยินดี  เพราะขอกั๋นได้”  

การนำไปใช้        ควรเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่คนยากจน  และถ้าไม่จำเป็นจริงๆอย่าขอใคร  ควรพึ่งตนเองก่อน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)  “ขอแพงกว่าซื้อ ควรเอื้อเฟื้อด้วยไมตรี   คนจะยินดี  เพราะขอกันได้”

ลำดับที่  62.  “ไก่เจ้าเล้าเป๋นใจ๋เหน”  อ่าน  (-ไก่-เจ้า-เล้า-เป๋น-ใจ๋-เห็น-)

หมายถึง......รู้เห็นเป็นใจกับฝ่ายตรงข้ามมาทำลายพวกเดียวกัน    

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ไก่เจ้าเล้าเป๋นใจ๋เหน”    

การนำไปใช้        อย่าไว้วางใจคนใกล้ชิดจนเกินไป ในเรื่องสำคัญๆเรื่องผลประโยชน์เงินทอง

เทียบสำนวนสุภาษิต คำพังเพยไทยกลาง  “หนอนบ่อนไส้//เกลือเป็นหนอน///ผีบ้านไม่ดี ผีป่าก็พลอย”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ไก่เจ้าเล้าเป็นใจให้ตัวเห็น”

ลำดับที่  63.   “แก่นต๋าตั๋วขวักออก    เอาแก่นบ่ากอกเข้ายัด”

อ่าน  (-แก่น-ต๋า-ตั๋ว-ขวัก-ออก///เอา-แก่น-บ่า-กอก-เข้า-ยัด-)

หมายถึง.....มีสิ่งดีในตัว (ความรู้ ความสามารถ) ไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง กลับไปหมกมุ่น

กับอบายมุข  (สุรา  ยาเสพย์ติด  การพนัน )         

กำบ่าเก่าจึงว่า    “แก่นต๋าตั๋วขวักออก  เอาแก่นบ่ากอกเข้ายัด” 

การนำไปใช้       รู้จักคุณค่าของตนเอง   ไม่ไปยุ่งเกี่ยวอบายมุข  ทำตัวน่ารัก  หมั่นศึกษาหาความรู้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เห็นกรงจักรเป็นดอกบัว/// เห็นผิดเป็นชอบ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)  “นัยน์ตาตนเองควักออก  เอามะกอกมายัด”

ลำดับที่  63. “ไก่สามเดือนปอฆ่า   ม้าสามเดือนปอฝึก” 

อ่าน  (-ไก่-สาม-เดือน-ปอ-ข้า///ม้า-สาม-เดือน-ปอ-ฝึก-)

หมายถึง..... เพื่อให้ได้ผลประโยชน์เต็มที่ มีความคุ้มค่า ต้องรอเวลาที่เหมาะสม

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ไก่สามเดือนปอฆ่า  ม้าสามเดือนปอฝึก”  

การนำไปใช้      รอเวลาที่เหมาะสมเพื่อใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ช้าๆได้พร้าสองเล่มงาม///ช้าเป็นการนานเป็นคุณ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง    “ไก่สามเดือนเหมาะทำอาหาร  จะฝึกม้าทำงาน  รออายุสามเดิอน”

ลำดับที่  64.  “แก่ย้อนกิ๋นข้าว   เฒ่าเพราะเกิดเมิน”

อ่าน  (-แก่-ย้อน-กิ๋น-ข้าว///เถ้า-เพราะ-เกิด-เมิน-)

ลำดับที่  65. “แก่ย้อนกิ๋นข้าว   เฒ่าเพราะปี๋เดือนวัน   บ่ได้สำคัญอยู่ตี้อายุ”

อ่าน (-แก่-ย้อน-กิ๋น-ข้าว///เถ้า-เพราะ-ปี๋-เดือน-วัน///บ่อ-ได้-สำ-คัน-หยู่-ตี้-อา-ยุ-)

หมายถึง.....ผู้สูงอายุที่ไม่ทำตัวเป็นประโยชน์ต่อสังคมรอบข้าง  ทำตัวไม่เป็นที่น่านับถือ 

กำบ่าเก่าจึงว่า   “แก่ย้อนกิ๋นข้าว  เฒ่าเพราะเกิดเมิน”  “ แก่ย้อนกิ๋นข้าว    เฒ่าเพราะปี๋เดือนวัน  

บ่ได้สำคัญอยู่ตี้อายุ  ”

การนำไปใช้   หมั่นกระทำความดีอย่างสม่ำเสมอตลอดชีวิต

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “คนจะสวย  สวยที่ใจ  ใช่ใบหน้า  คนจะงาม  งามวาจา      ใช่ตาหวาน  คนจะแก่  แก่ความรู้   ใช่อยู่นาน  คนจะรวย  รวยศีลทาน   ใช่บ้านโต”

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “แก่เสียเปล่า”  “ชราเพราะกินข้าว  แก่เฒ่าเพราะเกิดมานาน”

ลำดับที่  66. “กิ่วปูกิ่วดอยผ่อหัน    กิ่วคนไผผ่อบ่หัน”

อ่าน  (-กิ่ว-ปู-กิ่ว-ดอย-ผ่อ-หัน///กิ่ว-คน-ไผ-ผ่อ-บ่อ-หัน-) 

หมายถึง.....โชค ลาภ วาสนา  ของคนไม่มีใครสามารถรู้ล่วงหน้าได้

กำบ่าเก่าจึงว่า    “กิ่วปูกิ่วดอยผ่อหัน   กิ่วคนไผผ่อบ่หัน” 

การนำไปใช้      เรื่อง โชค ลาภ  วาสนา อย่าไปคิดแข่งขันหรืออิจฉา ควรขยันทำกิน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง ช่องขึ้นหว่างเขามองเห็น โชคลาภวาสนามองไม่เห็น”

ลำดับที่  67. “กึ้มงึ้มดื่มใน  น้ำบ่ไหลเจี้ยวปื้น”  อ่าน  (-กึ้ม-งึ้ม-ดื่ม-ใน//น้ำ-บ่อ-ไหล-เจี้ยว-ปื้น-)

หมายถึง.....คนที่เก็บงำความรู้ความสามารถไว้ พอมีโอกาสแสดงฝีมือออกมาก็เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป           

กำบ่าเก่าจึงว่า   “กึ้มงึ้มดื่มใน น้ำบ่ไหลเจี้ยวปื้น”      การนำไปใช้     อย่าตัดสินความสามารถของบุคคลจากการดูรูปกายภายนอก   ต้องสังเกตจากการกระทำเทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “คมในฝัก///น้ำนิ่งไหลลึก”เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “เคร่งขรึมลุ่มลึก   น้ำไม่ไหลใต้น้ำเชี่ยวกราก”

ลำดับที่  68.  “แกว่งตี๋นหาหนาม”  อ่าน  (-แกว่ง-ตี๋น-หา-หนาม-)

หมายถึง....คนชอบรนหาเรื่องเดือดร้อนมาให้ตัวเองโดยใช่เหตุ    

กำบ่าเก่าจึงว่า    “แกว่งตี๋นหาหนาม” 

การนำไปใช้      อย่าหาเรื่องเดือดร้อนมาให้ตนเอง  ครอบครัว  ญาติมิตร

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “แกว่งเท้าหาเสี้ยน///รนหาที่///เอามือซุกหีบ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “แกว่งเท้าหาเสี้ยน”

ลำดับที่  69. “เก้าแหลี้ยมสิบเหลี้ยม   บ่เต้าเหลี้ยมใบคา  เก้าหนาสิบหนา  บ่เต้าหนาความรู้”               อ่าน(-เก้า-เหลี้ยม-สิบ-เหลี้ยม/บ่อ-เต้า-เหลี้ยม-ใบ-คา/เก้า-หนา-สิบ-หนา/บ่อ-เต้า-หนา-ความ-รู้-)

หมายถึง.....ความรู้มีความสำคัญต่อทุกคน  ต้องหมั่นศึกษาเพื่อใช้ประกอบอาชีพเลี้ยงตนเอง           

กำบ่าเก่าจึงว่า   “เก้าแหลี้ยมสิบเหลี้ยม    บ่เต้าเหลี้ยมใบคา    เก้าหนาสิบหนา   บ่เต้าหนาความรู้”

การนำไปใช้     หมั่นศึกษาหาความรู้   ( หนาความรู้คือมีความรู้มาก เมื่อมีความรู้มาก ย่อมมีช่องทางในการหาเลี้ยงตนเอง ทดแทนบุญคุณพ่อแม่ สร้างฐานะครอบครัว )

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “เก้าแหลมสิบแหลม แพ้แหลมใบคา เก้าหนาสิบหนา ไม่เท่าความรู้” 

ลำดับที่  70. “ไก่เกยจนคนเกยฟ้อน”  อ่าน  (-ไก่-เกย-จน-คน-เกย-ฟ้อน-)

หมายถึง.....เคยทำในเรื่องนั้นๆมาก่อนจนชินแล้ว เมื่อต้องทำอีกก็ไม่เคอะเขิน หรือรู้จักคุ้นเคยมาก่อนแล้ว       กำบ่าเก่าจึงว่า    “ไก่เกยจน  คนเกยฟ้อน” 

การนำไปใช้      อย่าใช้ความคุ้นเคยทำเรื่องผิดศีลธรรมที่ดีงาม  เช่นการลักลอบมีสัมพันธ์กัน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง    “วัวเคยขาม้าเคยขี่///ถ่านไฟเก่า”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)  “ไก่เคยชน  คนเคยฟ้อนรำ”

ลำดับที่  71. “เก๊ามันเต้าเล่มเข็ม   ปล๋ายมันเต๋มแม่น้ำ”

อ่าน  (-เก๊า-มัน-เต้า-เล่ม-เข็ม///ป๋าย-มัน-เต๋ม-แม่-น้ำ-)

หมายถึง.....เรื่องมีนิดเดียว นำไปขยายความยุแยงให้บานปลาย  ต้องกลายเป็นเรื่องใหญ่โตเดือดร้อนไปทั่ว    กำบ่าเก่าจึงว่า    “เก๊ามันเต๊าเล่มเข็ม  ปล๋ายมันเต๋มแม่น้ำ”  

การนำไปใช้      ระวังจะเข้าใจผิดกันด้วยสาเหตุจากเรื่องเล็กๆน้อยๆ  ควรสอบถามความจริงให้แน่ชัดก่อน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “บ่างช่างยุ///ยุแยงตะแคงรั่ว”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง)   “ตอนเริ่มเล็กเท่าเข็ม   ตอนสุดท้ายแผ่เต็มลำน้ำ”