จ.
ลำดับที่ 143. “จกก่องข้าว จุหมาเฒ่าแกว่งหาง”
อ่าน (-จก-ก่อง-ข้าว///จุ-หมา-เถ้า-แกว่ง-หาง-)
หมายถึง.....ทำอุบายเพื่อหลอกลวงผู้อื่นให้หลงกล
กำบ่าเก่าจึงว่า “จกก่องข้า จุหมาเฒ่าแกว่งหาง”
การนำไปใช้ ไม่ควรโกหก วางกลอุบาย หลอกลวงผู้อื่น
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “แกล้งล้วงก่องข้าว หลอกหมาเฒ่าแกว่งหาง”
ลำดับที่ 144. “จวนไปวัด เหมือนจั๊กหางเต่า จวนไปกิ๋นเหล้า คิงห้าฮาสิบ”
(-จวน-ไป-วัด///เหมือน-จั๊ก-หาง-เต่า///จวน-กิ๋น-เหล้า///คิง-ห้า-ฮา-สิบ-)
หมายถึง.....คนที่มีชีวิตหลงอยู่ในวังวนของอบายมุข
กำบ่าเก่าจึงว่า “จวนไปวัด เหมือนจั๊กหางเต่า จวนไปกิ๋นเหล้า คิงห้าฮาสิบ”
การนำไปใช้ อย่าประพฤติตนลุ่มหลงในอบายมุข
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “สุรายาเสพย์ติด เป็นภัยต่อชีวิตเป็นพิษต่อสังคม”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ชวนทำบุญ ยากเหมือนดึงหางเต่า ชวนตั้งวงเหล้า เอ็งออกห้าข้าออกสิบ ”
ลำดับที่ 145. “จะกิ๋นก็ขี้จ๊ะ จะละก็เสียดาย” อ่าน (-จะ-กิ๋น-ก่อ-ขี้-จ๊ะ///จะ-ละ-ก่อ-เสีย-ดาย)
หมายถึง....คนหวงสมบัติ ตัดใจไม่ได้ จะกินก็ตะขิดตะขวงใจ จะทิ้งไปยังเสียดายหวงแหน ตัดไม่ขาด กำบ่าเก่าจึงว่า “จะกิ๋นก็ขี้จ๊ะ จะละก็เสียดาย”
การนำไปใช้ อย่าขี้เหนียวจนเกินไป
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพยไทยกลาง“เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง///หมาหวงก้าง”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “จะกินก็รังเกียจจริงๆ จะทิ้งก็เสียดาย ”
ลำดับที่ 146. “จะว่าก๋ำพร้า แม่ก็บ่ต๋าย จะว่าสบาย ป้อก็บ่อยู่บ้าน”
อ่าน (-จะ-ว่า-ก๋ำ-พร้า///แม่-ก่อ-บ่อ-ต๋าย///จะ-ว่า-สะ-บาย///ป้อ-ก่อ-บ่อ-หยู่-บ้าน-)
หมายถึง…เด็กที่พ่อแม่หย่าร้าง แยกไปคนละทาง ต้องอยู่ในความดูแลของ ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง กำบ่าเก่าจึงว่า “จะว่าก๋ำพร้า แม่ก็บ่ต๋าย จะว่าสบาย ป้อก็บ่อยู่บ้าน”
การนำไปใช้ ยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ หันหน้าสู้ชีวิตต่อไป อย่าท้อแท้ ยังมีญาติๆให้ความช่วยเหลืออยู่
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ขาดพ่อเหมือนถ่อหัก ขาดแม่เหมือนแพแตก ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “จะเป็นกำพร้า แม่ก็ไม่ตาย จะสุขสบาย พ่อก็ทอดทิ้ง”
ลำดับที่ 147. “จะไปถกเครือหาหน่วย”อ่าน (-จะ-ไป-ถก-เครือ-หา-หน่วย-)
หมายถึง…..อย่าซักไซ้ไล่เรียงหาต้นตอของเรื่อง หรือสืบถามลำดับวงศาคณาญาติผู้อื่นจนเขาอึดอัดใจ กำบ่าเก่าจึงว่า “จะไปถกเครือหาหน่วย”
การนำไปใช้ ควรทักทาย สอบถามตามสมควร
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “สืบสาวราวเรื่อง”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “อย่าดึงรั้งเถาไม้ ไปให้ถึงผล”
ลำดับที่ 148. “จะตี๋เหล็กก็ขะใจ๋ตี๋เมื่อยามมันฮ้อน จะฟ้อนก็หื้อฟ้อนเมื่อยามเมา”
อ่าน (-จะ-ตี๋-เหล็ก-ก่อ-ขะ-ใจ๋-ตี๋-เมื่อ-ยาม-มัน-ฮ้อน///จะ-ฟ้อน-ก่อ-หื้อ-ฟ้อน-เมื่อ-ยาม-เมา-)
หมายถึง....ทำตัวเข้ากับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
กำบ่าเก่าจึงว่า “จะตี๋เหล็กก็ขะใจ๋ตี๋เมื่อยามมันฮ้อน จะฟ้อนก็หื้อฟ้อนเมื่อยามเมา”
การนำไปใช้ ทำตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ถูกกาลเทศะ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ทันการณ์//ผสมโรง”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ตีเหล็กตอนร้อน ฟ้อนรำตอนเมา ”
ลำดับที่ 149. “จะไปเปิดเสื้อหื้อเปิ้นหันหลัง จะไปลอกหนังหื้อเปิ้นหันจิ๊น”
(-จะ-ไป-เปิด-เสื้อ-หื้อ-เปิ้น-หัน-หลัง /// จะ-ไป-ลอก-หนัง-หื้อ-เปิ้น-หัน-จิ๊น-)
หมายถึง.....เรื่องส่วนตัว ความขัดแย้งในครอบครัวญาติพี่น้อง ไม่ควรนำไปเล่าให้ผู้อื่นฟัง
กำบ่าเก่าจึงว่า “จะไปเปิดเสื้อ หื้อเปิ้นหันหลัง จะไปลอกหนัง หื้อเปิ้นหันจิ๊น”
การนำไปใช้ อย่าให้มีเรื่องขัดแย้งในครอบครัว ถ้ามีเรื่องไม่เข้าใจกันก็หาทางไกล่เกลี่ยรอมชอม ให้ยุติ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ความในอย่าออก ความนอกอย่าเข้า”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “อย่าเปิดเสื้อให้เขาเห็นหลัง อย่าลอกหนังให้เขาเห็นเนื้อ”
ลำดับที่ 150. “จะไปฟังกล๋องหน้าเดียว” อ่าน (-จะ-ไป-ฟัง-ก๋อง-หน้า-เดียว-)
หมายถึง…..อย่าฟังความข้างเดียว
กำบ่าเก่าจึงว่า “จะไปฟังกล๋องหน้าเดียว”
การนำไปใช้ พิจารณารับฟังเรื่องราว ฟังเหตุผลของทุกฝ่ายอย่างครบถ้วน ตัดสินด้วยความยุติธรรม
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ฟังความข้างเดียว”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “อย่าฟังเสียงกลองเพียงข้างเดียว”
ลำดับที่ 151. “จะไปเอาคนต๋าบอดมานำตาง จะไปเอาคนต๋าฟางมาแบกไม้แคร่”
อ่าน (-จะ-ไป-เอา-คน-ต๋า-บอด-มา-นำ-ตาง///จะ-ไป-เอา-คน-ต๋า-ฟาง-มา-แบก-ไม้-แค่-)
หมายถึง.....ไม่ควรเลือกผู้ไม่มีความรู้ หรือผู้รู้ไม่จริง ผู้ที่ไม่มีความสามารถมาเป็นผู้นำ
กำบ่าเก่าจึงว่า “จะไปเอาคนต๋าบอดมานำตาง จะไปเอาคนต๋าฟางมาแบกไม้แคร่”
การนำไปใช้ พิจารณาเลือกคนจากความรู้ความสามารถที่เคยปรากฎต่อสังคม
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ดูคนดีดูที่การกระทำ ดูผู้นำดูที่การเสียสละ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “อย่าเอาคนตาบอดนำทาง นำเอาคนตาฟางมาแบกคานหาม”
ลำดับที่ 152. “จะไปหวังน้ำห้วยหน้า น้ำฟ้าบ่ไหลลงฮอม”
อ่าน (-จะ-ไป-หวัง-น้ำ-ห้วย-หน้า///น้ำ-ฟ้า-บ่อ-ไหล-ลง-ฮอม-)
หมายถึง.....อย่าฝากความหวังไว้กับสิ่งที่ไม่แน่ว่าจะเป็นจริงหรือไม่ หรือหวังลมๆแล้งๆ
กำบ่าเก่าจึงว่า “จะไปหวังน้ำห้วยหน้า น้ำฟ้าบ่ไหลลงฮอม”
การนำไปใช้ อย่าฝากความหวังไว้ ในสิ่งที่ไม่แน่นอน หรือไม่รู้ว่าจะเป็นความจริงตามที่คาดคิดหรือไม่
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกก่งหน้าไม้ ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “อย่าหวังน้ำบ่อหน้า น้ำฝนจากฟ้าไม่มารวม”
ลำดับที่ 153. “จะหาบก็อาย จะสะปายก็หนัก”
อ่าน(-จะ-หาบ-ก่อ-อาย///จะ-สะ-ปาย-ก่อ-หนัก-)
หมายถึง......คนขี้เกียจ หนักไม่เอาเบาไม่สู้ คนหยิบโหย่ง ทำอะไรไม่จริงจัง หาข้ออ้างเพื่อหลบเลี่ยงงาน กำบ่าเก่าจึงว่า “จะหาบก็อาย จะสะปายก็หนัก”
การนำไปใช้ มีความขยัน มีความภูมิใจในอาชีพที่สุจริต
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “จะหาบบอกอาย จะสะพายว่าหนัก ”
ลำดับที่ 154. “จะไปตี๋กล๋องแข่งฟ้า จะไปขี่ม้าแข่งตะวัน”
อ่าน (-จะ-ไป-ตี๋-ก๋อง-แข่ง-ฟ้า///จะ-ไป-ขี่-ม้า-แข่ง-ตะ-วัน-)
หมายถึง.....อย่าทำเรื่องที่ไร้ประโยชน์ หรือพยายามแข่งบุญแข่งวาสนากับคนมั่งมี
กำบ่าเก่าจึงว่า “จะไปตี๋กล๋องแข่งฟ้า จะไปขี่ม้าแข่งตะวัน”
การนำไปใช้ รู้เจียมตน กระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว สังคมรอบข้าง
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “แข่งเรือแข่งแพแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “อย่าตีกลองแข่งเสียงฟ้า(ร้อง)อย่าขี่ม้าไล่ดวงอาทิตย์(กำลังจะลับฟ้า)”
ลำดับที่ 155. “จะจู๋งต้องไปก่อน จะส่อนต้องตวยหลัง”
อ่าน (-จะ-จู๋ง-ต้อง-ไป-ก่อน///จะ-ส่อน-ต้อง-ตวย-หลัง-)
หมายถึง.....ความสามารถของคนย่อมแตกต่างกัน บางคนชอบนำ บางคนชอบตาม
กำบ่าเก่าจึงว่า “จะจู๋งต้องไปก่อน จะส่อนต้องตวยหลัง”
การนำไปใช้ ควรรู้ตนเองอย่าฝืน หรือปกปิดไว้ผลที่ได้จะไม่ดี สามีควรเป็นผู้นำภรรยาควรตาม
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “จูงต้องไปก่อน ต้อนต้องอยู่หลัง”
(ส่อน คือการวางเชือกไว้บนตะโพกวัวควาย ค่อยฝึกให้มันรู้สัญญาณเชือกที่พาดอยู่ ว่าจะไปซ้ายขวา)
ลำดับที่ 156. “จะไปอยู่คนเดียว จะไปเตียวเป๋นหมู่ จะไปอู้กั๋นดัง จะไปฟังกำส่อ”
อ่าน(-จะ-ไป-หยู่-คน-เดียว///จะ-ไป-เตียว-เป๋น-หมู่///จะ-ไป-อู้-กั๋น-ดัง///จะ-ไป-ฟัง-กำ-ส่อ-)
หมายถึง.....ควรมีวินัยในตนเองและดูแลหมู่คณะให้ปฏิบัติตามแนวทางที่ดีงามของสังคม
กำบ่าเก่าจึงว่า “จะไปอยู่คนเดียว จะไปเตียวเป๋นหมู่ จะไปอู้กั๋นดัง จะไปฟังกำส่อ”
การนำไปใช้ ระวังตนไม่อยู่ตามลำพัง (อาจคิดมากเกิดความฟุ้งซ่าน หรือเวลามีภัยไม่มีคนช่วยเหลือ) อย่าเดินเป็นกลุ่ม (เกะกะทาง) อย่าพูดคุยกันเสียงดัง ( เสียงรบกวนผู้อื่น ) และอย่าสนใจในคำยุแยง
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “มีสมบัติผู้ดี”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “อย่าอยู่ผู้เดียว อย่าเที่ยวเป็นกลุ่ม อย่ามั่วสุมเสียงดัง อย่าฟังคำยุ”
ลำดับที่ 157. “จะหนีก็หื้อเปิ้นเสียดาย จะต๋ายก็หื้อเปิ้นได้เล่า”
อ่าน (-จะ-หนี-ก่อ-หื้อ-เปิ้น-เสีย-ดาย///จะ-ต๋าย-ก่อ-หื้อ-เปิ้น-ได้-เล่า-)
หมายถึง.....ผู้ทำคุณความดีต่อสังคมอย่างสม่ำเสมอ ย่อมเป็นที่รักและคิดถึงของคนทั่วไป
กำบ่าเก่าจึงว่า “จะหนีก็หื้อเปิ้นเสียดาย จะต๋ายก็หื้อเปิ้นได้เล่า”
การนำไปใช้ หมั่นทำความดี เมื่อเราจากไป ผู้คนจะนึกถึงคุณงามความดีที่เราได้กระทำไว้ตลอดไป
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “อยู่ให้เขารัก จากให้เขาอาลัย”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “จะย้ายให้เขาเสียดาย จะตายจากให้เขาเล่าลือในความดี”
ลำดับที่ 158. “จะหล่อแต๊ก็หน จะจนแต๊ก็หย้าน”
อ่าน (-จะ-หล่อ-แต๊-ก่อ-หน///จะ-จน-แต๊-ก่อ-หย้าน-)
หมายถึง…..กล้าๆกลัวๆ กลัวๆกล้าๆ ไม่มั่นใจในตนเอง
กำบ่าเก่าจึงว่า “จะหล่อแต๊ก็หน จะจนแต๊ก็หย้าน”
การนำไปใช้ ให้มีความมั่นใจในตนเอง กล้าแสดงออก กล้ากระทำในสิ่งที่ดีงาม
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “กล้าๆกลัวๆกลัวๆกล้าๆ///ใจเสาะ///ใจปลาซิว”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “จะกระโจนใส่ ก็กลัวต้องถอยร่น จะวิ่งเข้าชน ก็ยังหวาดเกรง”
ลำดับที่ 159. “จ๊ะต๋าบ่ากอกแห้ง” อ่าน (-จ๊ะ-ต๋า-บ่า-กอก-แห้ง-)
หมายถึง.....คนไร้วาสนา ชะตาตก อาภัพอับโชค ทำอะไรไม่เจริญ กำบ่าเก่าจึงว่า “จ๊ะต๋าบ่ากอกแห้ง”
การนำไปใช้ ใช้ความมานะอดทนต่อสู้ชีวิต สักวันจะพบความสำเร็จ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “คนอับโชค///ดวงตก///อาภัพ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ดวงชะตามะกอกแห้ง”
ลำดับที่ 160. “จับใจ๋งูบ่จูใจ๋เขียด จับใจ๋เปี๊ยดบ่เปิงใจ๋ไม้กาน จับใจ๋หลานบ่ถูกใจ๋คนเฒ่า”
อ่าน(-จับ-ใจ๋-งู-บ่อ-จู-ใจ๋-เขียด//จับ-ใจ๋-เปี๊ยด-บ่อ-เปิง-ใจ๋-ไม้-กาน//จับ-ใจ๋-หลาน-บ่อ-ถูก-ใจ๋-คน-เถ้า-)
ลำดับที่ 161. “จับใจ๋แฮ้ง บ่แจ้งใจ๋ก๋า จับใจ๋ครูบา บ่เปิงใจ๋พระหน้อย”
อ่าน (-จับ-ใจ๋-แฮ้ง///บ่อ-แจ้ง-ใจ๋-ก๋า///จับ–ใจ๋-ครู-บา///บ่อ-เปิง-ใจ๋-พระ-หน้อย-)
หมายถึง.....เรื่องความชอบของเราย่อมแตกต่างกัน
กำบ่าเก่าจึงว่า “จับใจ๋งู บ่จูใจ๋เขียด จับใจ๋เปี๊ยด บ่เปิงใจ๋ไม้กาน จับใจ๋หลาน บ่ถูกใจ๋คนเฒ่า”
“จับบใจ๋แฮ้ง บ่แจ้งใจ๋ก๋า จับใจ๋ครูบา บ่เปิงใจ๋พระหน้อย”
การนำไปใช้ ความชอบของคนย่อมแตกต่างกัน อย่าฝืนใจให้ทำ แม้ทำก็ไม่ได้ผลดีเพราะโดนบังคับ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ ลางเนื้อชอบลางยา ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ถูกใจงูเขียดไม่ชอบ พอใจกระบุงไม่ชอบไม้คาน ถูกใจลูกหลานคนแก่ไม่ชอบ” “ถูกใจนกแร้ง กาไม่สนใจ พระสงฆ์รับไว้ สามเณรปฏิเสธ”
ลำดับที่ 162. “จา-ติว่าน้ำบ่หลอนขาดปล๋า จา-ติว่านาบ่หลอนขาดข้าว”
อ่าน (-จ๋า-ติ-ว่า-น้ำ-บ่อ-หลอน-ขาด-ป๋า///จ๋า-ติ-ว่า-นา-บ่อ-หลอน-ขาด-ข้าว-)
หมายถึง.....คนเราถ้ามีความอดทนตั้งใจจริง ขยันทำมาหากินคงไม่ขัดสนยากไร้
กำบ่าเก่าจึงว่า “จา-ติว่าน้ำบ่หลอนขาดปล๋า จา-ติว่านาบ่หลอนขาดข้าว”
การนำไปใช้ มีความตั้งใจอย่างจริงจังในการทำงาน จะหาช่องทางเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพยไทยกลาง “ไม่มีความยากจนในหมู่ชนที่ขยัน”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”
ลำดับที่ 163. “จ๊างบ่ต๋ายฟั่งถอดงา หมาบ่ต๋ายฟั่งถอดเขี้ยว”
อ่าน (-จ๊าง-บ่อ-ต๋าย-ฟั่ง-ถอด-งา///หมา-บ่อ-ต๋าย-ฟั่ง-ถอด-เขี้ยว-)
หมายถึง.....บิดามารดายังมีชีวิต ลูกๆกลับแย่งทรัพย์สมบัติ
กำบ่าเก่าจึงว่า “จ๊างบ่ต๋ายฟั่งถอดงา หมาบ่ต๋ายฟั่งถอดเขี้ยว”
การนำไปใช้ ถ้าบิดามารดายังมีชีวิต อย่าได้คิดแบ่งสมบัติ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “อกตัญญู”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ช้างไม่ล้มอย่ารีบถอดงา หมาไม่ตายอย่ารีบถอดเขี้ยว”
ลำดับที่ 164. “จิ้นบ่เน่าหนอนบ่จี กำบ่มีเขาบ่ว่า”
อ่าน (-จิ้น-บ่อ-เน่า-หนอน-บ่อ-จี///กำ-บ่อ-มี-เขา-บ่อ-ว่า-)
หมายถึง.....เรื่องไม่มีความจริงเขาคงไม่นำมาเล่าลือ
กำบ่าเก่าจึงว่า “จิ้นบ่เน่าหนอนบ่จี กำบ่มีเขาบ่ว่า”
การนำไปใช้ ให้พิจารณาเรื่องที่รับฟังมาอาจมีมูลความจริงอยู่บ้าง
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ไม่มีมูลฝอยหมาไม่ขี้”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “เนื้อไม่เน่าหนอนไม่ไช เรื่องไม่จริงคงไม่มีคนเล่า”
ลำดับที่ 165. “จ๊างเฒ่าย่ำงวง ปล๋าตั๋วหลวงต๋ายน้ำตื้น”
อ่าน (-จ๊าง-เถ้า-ย่ำ-งวง///ป๋า-ตั๋ว-หลวง-ต๋าย-น้ำ-ตื้น-)
หมายถึง.....คนฉลาดมีความรู้ มาพลาดท่าเสียทีด้วยเรื่องง่ายๆ
กำบ่าเก่าจึงว่า “จ๊างเฒ่าย่ำงวง ปล๋าหลวงต๋ายน้ำตื้น”
การนำไปใช้ มีความละเอียดรอบคอบ อย่าให้พลาดในเรื่องง่ายๆ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ปลาตายน้ำตื้น”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ช้างเฒ่าเหยียบงวง ปลาตัวโตตายน้ำตื้น”
ลำดับที่ 166. “จี่พริกตัองมีครู จี่ปู๋ต้องมีลาย”
อ่าน (-จี่-พริก-ต้อง-มี-ครู///จี่-ปู๋-ต้อง-มี-ลาย-)
หมายถึง….อย่าดูถูกผู้อื่น บางสิ่งบางอย่างต้องมีเคล็ดลับหรือเทคนิคเฉพาะที่เรียนรู้มาจากครูบาอาจารย์ กำบ่าเก่าจึงว่า “จี่พริกต้องมีครู จี่ปู๋ต้องมีลาย”
การนำไปใช้ อย่าดูถูกวิธีการ ความสามารถของผู้อื่น
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ศิษย์มีครู”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ปิ้งพริกต้องมีครู(มีเคล็ดลับ) ปิ้งปูต้องมีเทคนิค”
ลำดับที่ 167. “จิกดอยอยู่ปื้นตี๋นคนขึ้น จะไปลื่นคนมีเพียร ”
อ่าน (-จิก-ดอย-หยู่-ปื้น-ตี๋น-คน-ขึ้น///จะ-ไป-ลื่น-คน-มี-เปียน-)
หมายถึง....อย่าได้ดูถูกดูหมิ่นความเพียรพยายามของผู้อื่น
กำบ่าเก่าจึงว่า “จิกดอยอยู่ปื้นตี๋นคนขึ้น จะไปลื่นคนมีเพียร ”
การนำไปใช้ อย่าดูถูกความตั้งใจ ความพากเพียรของคน
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ยอดเขาอยู่ใต้เท้าคนขึ้น อย่าหมิ่นความพยายามของคน”
ลำดับที่ 168. “เจ็บต๊องต๋างแม่มาน” อ่าน (-เจ็บ-ต๊อง-ต๋าง-แม่-มาน-)
หมายถึง.....เป็นเดือดเป็นแค้นหรือทุกข์ใจแทนคนอื่นจนเกินไป
กำบ่าเก่าจึงว่า “เจ็บต๊องต๋างแม่มาน”
การนำไปใช้ อย่าเป็นทุกข์แทนผู้อื่นจนออกหน้าออกตาจะโดนหมั่นไส้ ควรเห็นใจตามสมควร
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ไม่มีความยากจนในหมู่ชนที่ขยัน”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “เจ็บท้องแทนคนตั้งครรภ์”
ลำดับที่ 169. “เจ้ามีเวียกมีก๋าร หื้อแล่นจ้วย”
อ่าน ( -เจ้า-มี-เวียก-มี-ก๋าน///หื้อ-แล่น-จ้วย-)
หมายถึง.....การไม่นิ่งดูดายเมื่อเจ้านาย หรือสังคมชุมชนมีงานเพื่อส่วนรวม ควรรีบไปให้ความช่วยเหลือ กำบ่าเก่าจึงว่า “เจ้ามีเวียกมีก๋าร หื้อแล่นจ้วย”
การนำไปใช้ เสนอตัวช่วยเหลือผู้คนในสังคมรอบข้าง ตามความสามารถ อย่าให้เขาต้องเรียกหา
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “เจ้านายมีงาน รีบรีบเร่งเข้าไปช่วย”
ลำดับที่ 170. “จิ๊นฮองหน้าเขียง” อ่าน (- จิ๊น-ฮอง-หน้า-เขียง-)
หมายถึง....การออกหน้ารับผิดชอบแทนผู้อื่น
กำบ่าเก่าจึงว่า “จิ๊นฮองหน้าเขียง”
การนำไปใช้ อย่าเสนอตัวรับหน้าแทนผู้อื่นไปทุกเรื่อง อาจพบความเดือดร้อนวุ่นวาย
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “หนังหน้าไฟ ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “เนื้อรองหน้าเขียง ”
ลำดับที่ 171. “เจ้าสอนอย่าเกี๊ยด” อ่าน (- เจ้า-สอน-หย่า-เกี๊ยด-)
หมายถึง..... ผู้มีพระคุณหรือนายว่ากล่าวตักเตือน อย่าโกรธหรือขัดเคืองใจควรน้อมรับคำสั่งสอน
กำบ่าเก่าจึงว่า “เจ้าสอนอย่าเกี๊ยด”
การนำไปใช้ ให้ความเคารพผู้มีพระคุณเมื่อท่านอบรมสั่งสอน
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “เจ้านายท่านสอน อย่าทำงอนโมโห”
ลำดับที่ 172. “จุหมาหน้อยขึ้นดอย” อ่าน (-จุ-หมา-หน้อย-ขึ้น-ดอย-)
หมายถึง.....ถูกหลอกลวงให้มีความหวังแต่ไม่ได้รับรางวัลตามสัญญ
กำบ่าเก่าจึงว่า “จุหมาหน้อยขึ้นดอย” การนำไปใช้ พิจารณาใคร่ครวญว่าเรากำลังโดนเขาหลอกอยู่หรือเปล่า เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “โดนหลอกใช้”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “หลอกสุนัขน้อยขึ้นเขา”
ลำดับที่ 173. “เจ้าน้องก็จั๊กไปตางซ้าย เจ้าอ้ายก็จั๊กไปตางขวา เจ้าน้องก็ว่าจะจี่ เจ้าปี้ก็ว่าจะเผา”
อ่าน (-เจ้า-น้อง-จั๊ก-ไป-ตาง-ซ้าย/เจ้า-อ้าย-จั๊ก-ไป-ตาง-ขวา/เจ้า-น้อง-ก่อ-ว่า-จะ-จี่/เจ้า-ปี้-ก่อ-ว่า-จะ-เผา-)
หมายถึง…มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน มีความขัดแย้งกันเสมอ
กำบ่าเก่าจึงว่า “เจ้าน้องก็จั๊กไปตางซ้าย เจ้าอ้ายก็จั๊กไปตางขวา เจ้าน้องก็ว่าจะจี่ เจ้าปี้ก็ว่าจะเผา”
การนำไปใช้ ควรใช้เหตุผลในการยุติข้อขัดแย้ง
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “มากหมอมากความ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “น้องจะขยับซ้าย พี่ย้ายไปขวา น้องบอกปิ้งดี พี่บอกต้องเผา”
ลำดับที่ 174. “เจ๊าได้หลาย ขวายได้หน้อย” อ่าน (-เจ๊า-ได้-หลาย///ขวาย-ได้-หน้อย-)
หมายถึง....เริ่มงานก่อนย่อมได้งานมากกว่า กำบ่าเก่าจึงว่า “เจ๊าได้หลาย ขวายได้หน้อย”
การนำไปใช้ อย่ารอเวลาในการทำมาหากิน รีบลงมือทำทันที
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “การเริ่มต้นที่ดีเท่ากับสำเร็จไปครึ่งหนึ่ง”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “เริ่มก่อนได้มากมาย เริ่มสายได้นิดหน่อย”
ลำดับที่ 175. “เจ๊าก็ว่ายังงาย ขวายก็ว่าแดดฮ้อน”
อ่าน (- เจ๊า-ก่อ-ว่า-ยัง-งาย///ขวาย-ก่อ-ว่า-แดด-ฮ้อน-)
หมายถึง.....คนขี้เกียจ หาข้ออ้างเพื่อหลบเลี่ยงงาน
กำบ่าเก่าจึงว่า “เจ๊าก็ว่ายังงาย ขวายก็ว่าแดดฮ้อน”
การนำไปใช้ อย่าเป็นคนเห็นแก่ตัว อ้างโน่นอ้างนี่เพื่อเอาตัวรอดไปวันๆ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ผัดวันประกันพรุ่ง”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ให้ทำงานบอกยังรุ่งสาง (เวลาจวนสว่าง) พอสว่างอ้างแดดร้อน”
ลำดับที่ 176. “โจรปล้นยังเหลือเฮือนไว้ ไฟไหม้ยังเหลือแผ่นดิน
แต่ก๋ารพนันมันกิน แม้แต่แผ่นดินก็บ่ค้างอยู่”
อ่าน (-โจ๋น-ป้น-ยัง-เหลือ-เฮือน-ไว้///ไฟ-ไหม้-ยัง-เหลือ-แผ่น-ดิน///
แต่-ก๋าน-พะ-นัน-มัน-กิ๋น///แม้-แต่-แผ่น-ดิน-ก่อ-บ่อ-ค้าง-อยู่-)
หมายถึง.....การพนันทำให้ทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ทุกสิ่งทุกอย่างต้องสูญสิ้นไป ไม่มีสิ่งใดเหลือเลย
กำบ่าเก่าจึงว่า “โจรปล้นยังเหลือเฮือนไว้ ไฟไหม้ยังเหลือแผ่นดิน แต่การพนันมันกิน
แม้แต่แผ่นดินก็บ่ค้างอยู่”
การนำไปใช้ อย่ายุ่งเกี่ยวอบายมุข การพนันทุกรูปแบบ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “หมดเนื้อหมดตัว”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “โจรปล้นเหลือบ้าน ไฟผลาญเหลือที่ดิน การพนันผลาญสิ้นไม่มีเหลือ”
ลำดับที่ 177. “เจือสาดหลบขี้หมา” อ่าน (-เจื๋อ-สาด-หลบ-ขี้-หมา-)
หมายถึง....ปกปิดความผิดของตนเองไว้
กำบ่าเก่าจึงว่า “เจื๋อสาดหลบขี้หมา”
การนำไปใช้ ควรกระทำแต่ความดี ถ้าทำชั่วต้องทุกข์ใจตลอดเวลาเพราะคอยปกปิดความผิดของตนเอง
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “เต่าใหญ่ไข่กลบ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ปูเสื่อทับขี้หมา”
ลำดับที่ 178. “ใจ๋ใสเป๋นบุญ ใจ๋ขุ่นเป๋นบาป”
อ่าน (-ใจ๋-ใส-เป๋น-บุน///ใจ๋-ขุ่น-เป๋น-บาบ-)
หมายถึง.....จิตใจดีงามทำให้มีความสุข แต่ใจอกุศล มีความอิจฉาริษยาทำให้เกิดทุกข์
กำบ่าเก่าจึงว่า “ใจ๋ใสเป๋นบุญ ใจ๋ขุ่นเป๋นบาป”
การนำไปใช้ ควรมีความรู้สึกนึกคิดที่ดีงาม มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “กระทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ใจใสเป็นบุญ ใจขุ่นเป็นบาป”
ลำดับที่ 179. “ใจ๋เจ้าใจ๋ไพร่ มันก็ห้อยอยู่ตี้เดียวกั๋น”
อ่าน (-ใจ๋-เจ้า-ใจ๋-ไพร่///มัน-ก่อ-ห้อย-อยู่-ตี้ –เดียว-กั๋น-)
หมายถึง.....ไม่ว่าจะร่ำรวยหรือยากจน ทุกคนย่อมอยากหลุดพ้นจากความทุกข์และอยากพบแต่ความสุข
กำบ่าเก่าจึงว่า “ใจ๋เจ้าใจ๋ไพร่ มันก็ห้อยอยู่ตี้เดียวกั๋น”
การนำไปใช้ รู้จักเห็นใจผู้อื่น
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ///ใจเขาใจเรา”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ใจนายหรือไพร่ ย่อมห้อยอยู่ใน ตำแหน่งเดียวกัน”
ลำดับที่ 180. “ใจ๋บ่แข็ง บ่ได้ขี่จ๊างงา ใจ๋บ่กล้า บ่ได้เป๋นป้อเลี้ยง”
อ่าน (-ใจ๋-บ่อ-แข็ง///บ่อ-ได้-ขี่-จ๊าง-งา///ใจ๋-บ่อ-ก้า///บ่อ-ได้-เป๋น-ป้อ-เลี้ยง-)
หมายถึง.....คนที่มีจิตใจเข้มแข็ง กล้าตัดสินใจ อดทนต่อสู้อุปสรรค ย่อมพบความเจริญก้าวหน้าในชีวิต กำบ่าเก่าจึงว่า “ใจ๋บ่แข็ง บ่ได้ขี่จ๊างงา ใจ๋บ่กล้า บ่ได้เป๋นป้อเลี้ยง”
การนำไปใช้ บางครั้ง บางคราว บางเรื่องบางราว ต้องกล้าตัดสินใจ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “โชคลาภบำเรอคนใจเด็ด”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ใจไม่แข็งแกร่ง อดขี่ช้างงา ใจไม่ค่อยกล้า คงไม่ได้เป็นเศรษฐี”
ลำดับที่ 181. “เจื๊อบ่าแต๋งลาย มันตึงบ่ขึ้นซั้ง”
อ่าน (-เจื้อ-บ่า-แตง-ลาย///มัน-ตึง-บ่อ-ขึ้น-ซั้ง-)
หมายถึง.....คนมีนิสัยขี้เกียจแม้ได้รับการสนับสนุนเพียงใด ก็ไม่พัฒนาตนเองให้เจริญได้ กลับทำตัวตกต่ำ กำบ่าเก่าจึงว่า “เจื๊อบ่าแต๋งลาย มันตึงบ่ขึ้นซั้ง”
การนำไปใช้ รู้คุณบิดามารดาญาติพี่น้องที่คอยสนับสนุน ด้วยการทุ่มเทให้กับการเรียนมากที่สุด
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ขุนไม่ขึ้น///ขุนไม่เชื่อง///ไม่เอาถ่าน”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “แตงไทย จะอย่างไรก็ไม่ขึ้นค้าง (เถาจะเลี้อยไปตามพื้นดิน)”