ลำดับที่ 344. “มดง่ามมักมันหมู ศัตถูมักใส่โต้ด คนขี้โขดจั้งเสียของ คนจ๋องหองบ่มีเปื้อน
คนบ่โล่งบ่เลื่อนเปิ้นจังสลิด คนทำผิดแป๋งหน้าโศกเศร้า ขี้เหล้ามักจิ้นปล๋าอาหาร แม่มานจั้ง
หุมส้ม คนเฒ่าขี้จ่มลูกหลานจัง คนขี้จิขี้จำ บ่มีบริวารเปื้อนป๊อง คนมักนุ่งมักหย้อง บ่มีเงิน ต้านบ่เจิน บ่ดีไปร่วมแหล่”
อ่าน (-มด-ง่าม-มัก-มัน-หมู//สัด-ถู-มัก-ใส่-โต้ด//คน-ขี้-โขด-จั้ง-เสีย-ของ//คน-จ๋อง-หอง-บ่อ-มี-เปื้อน
คน-บ่อ-โล่ง-บ่อ-เลื่อน//เปิ้น-จัง-สะ-หลิด//คน-ทำ-ผิด-แป๋ง-หน้า-โสก-เส้า//ขี้-เหล้า-มัก-จิ้น-ป๋า-อา-หานแม่-มาน-จั้ง-หุม-ส้ม//คน-เถ้า-ขี้-จ่ม-ลูก-หลาน-จัง//คน-ขี้-จิ-ขี้-จำ-บ่อ-มี-บอ-ริ-วาน-เปื้อน-ป๊อง//
คน-มัก-นุ่ง-มัก-หย้อง//บ่อ-มี-เงิน//ต้าน-บ่อ-เจิน//บ่อ-ดี-ไป-ร่วม-แหล่-)
หมายถึง.....ลักษณะนิสัยใจคอของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป และทำให้เกิดความเสียหายหลายรูปแบบ กำบ่าเก่าจึงว่า “มดง่ามมักมันหมู ศัตถูมักใส่โต๊ด คนขี้โขดจั้งเสียของ คนจ๋องหองบ่มีเปื่อน คนบ่โล่งบ่เลื่อน เปิ้นจังสลิด คนทำผิดแป๋งหน้าโศกเศร้า ขี้เหล้ามักจิ้นปล๋าอาหาร แม่มานจั้งหุมส้ม คนเฒ่าขี้จ่มลูกหลานจัง คนขี้จิขี้จำ บ่มีบริวารเปื้อนป๊อง คนมักนุ่งมักหย้อง บ่มีเงิน ต้านบ่เจิน บ่ดีไปร่วมแหล่”
การนำไปใช้ ควรปรับปรุงตัวเองถ้ามีลักษณะนิสัยที่ผู้อื่นไม่ชอบ ไม่ถูกต้องตามระเบียบของสังคม
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “มดดำชอบมันหมู ศัตรูมักให้โทษ คนโกรธง่ายมักเสียของ คนจองหองมักไม่มีเพื่อน ชอบวางมาดเกินไปผู้คนไม่ชอบ คนทำผิดมักทำหน้าเศร้า คนดื่มเหล้าชอบอาหารกับแกล้ม คนตั้งครรภ์ชอบทานของเปรี้ยว คนแก่ขี้บ่นลูกหลานไม่ชอบ คนดระหนี่ไม่มีบริวารเพื่อนฝูง คนชอบแต่งตัวมักไม่มีเงิน (นำไปซื้อเสื้อผ้าหมด) ถ้าไม่ได้รับเชิญไม่สมควรไปร่วม”
ลำดับที่ 345. “มีเงินคำไว้ บ่ใจ้สอย เต๋มก๋องเต้าดอย ไผบ่อวดอ้าง”
อ่าน (-มี-เงิน-คำ-ไว้///บ่อ-ใจ้-สอย///เต๋ม-ก๋อง-เต้า-ดอย///ไผ-บ่อ-อวด-อ้าง-)
หมายถึง.....คนตระหนี่จนเกินไป ไม่ยอมใช้จ่ายเงินทองเพื่อตนเองและครอบครัว ผู้คนย่อมไม่สรรเสริญ กำบ่าเก่าจึงว่า “มีเงินคำไว้ บ่ใจ้สอย เต๋มก๋องเต้าดอย ไผบ่อวดอ้าง”
การนำไปใช้ ความมัธยัสถ์ (ใช้จ่ายด้วยความประหยัด) เป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าตะหนี่(หวงไม่อยากให้ง่ายๆ)
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ขี้ไม่ให้หมากิน”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “มากมีเงินทอง แต่ไม่ใช้สอย สูงเท่ายอดดอย ใครไม่อิจฉา”
ลำดับที่ 346. “มีเงินซื้อจ๊าง บ่มีสตางค์ซื้อขอ”
อ่าน (-มี-เงิน-ซื้อ-จ๊าง///บ่อ-มี-สะ-ตาง-ซื้อ-ขอ-)
หมายถึง.....จ่ายเงินลงทุนเรื่องใหญ่ๆมากมายแต่ค่าใช้จ่ายเล็กๆน้อยๆกลับไม่ยอมเสีย
กำบ่าเก่าจึงว่า “มีเงินซื้อจ๊าง บ่มีสตางค์ซื้อขอ”
การนำไปใช้ อย่าให้เรื่องเล็กทำให้งานใหญ่เสียหาย
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย///ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “มีเงินซื้อช้างไร้สตางค์ซื้อขอ(ขอคือตะขอเหล็กที่ใช้ควบคุมช้าง)”
ลำดับที่ 347. “มีเงินหื้อเปิ้นกู้ มีกำฮู้อยู่ในใบลาน เป๋นสถานตี้ว่างเปล่า”
อ่าน (-มี-เงิน-หื้อ-เปิ้น-กู้///มี-กำ-ฮู้-อยู่-ใน-ใบ-ลาน///เป๋น-สะ-ถาน-ตี้-ว่าง-เปล่า-)
หมายถึง.....มีสิ่งมีคุณค่าแต่ไม่นำมาใช้ประโยชน์
กำบ่าเก่าจึงว่า “มีเงินหื้อเปิ้นกู้ มีกำฮู้อยู่ในใบลาน เป๋นสถานตี้ว่างเปล่า”
การนำไปใช้ นำสิ่งที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์กับตนเองและครอบครัวให้มากที่สุด
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “มีเงินให้เขากู้ มีความรู้ในตำรา ไม่อ่านศึกษาเป็นสิ่งไร้ค่า”
ลำดับที่ 348. “มีดพร้าบ่หมั่นฝน มันจ้างเป๋นขี้เมี้ยง”
อ่าน (-มีด-พร้า-บ่อ-หมั่น-ฝน///มัน-จ้าง-เป๋น-ขี้-เมี้ยง-)
หมายถึง….ผู้ไม่ศึกษาวิชาความรู้ ไม่ติดตามวิทยาการใหม่ๆสม่ำเสมอจะเป็นคนล้าสมัย
กำบ่าเก่าจึงว่า “มีดพร้าบ่หมั่นฝน มันจ้างเป๋นขี้เมี้ยง”
การนำไปใช้ ควรติดตามศึกษาความรู้ที่ทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ เพราะความรู้มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น
ทุกวันๆถ้าไม่สนใจใฝ่รู้จะไม่ทันความเปลี่ยนแปลงของโลก
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “มีดไม่ขยันลับ สนิมจับเขรอะ”
ลำดับที่ 349. “มีดน้อยเคี่ยนต้นต๋าน” อ่าน (-มีด-น้อย-เคี่ยน-ต้น-ต๋าน-)
หมายถึง…..มีความอดทนมุ่งมั่น มีความเพียรพยายามที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จ
กำบ่าเก่าจึงว่า “มีดน้อยเคี่ยนต้นต๋าน”
การนำไปใช้ ควรมีความเพียรพยายามในการทำงาน
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “เข็นครกขึ้นเขา///ฝนทั่งให้เป็นเข็ม///หมายมั่นปั้นมือ
ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ใช้มีดเล่มน้อยค่อยค่อยล้มต้นตาล”
ลำดับที่ 350. “แม่ญิงยามเป๋นสาวเปิ้นดูฮ้าย เป๋นแม่ฮ้างจ๊างม่ายเปิ้นดูแควน”
อ่าน (-แม่-ยิง-ยาม-เป๋น-สาว-เปิ้น-ดู-ฮ้าย///เป๋น-แม่-ฮ้าง-จ๊าง-ม่าย-เปิ้น-ดู-แควน-)
หมายถึง....หญิงมักถูกมองในทางเสื่อมเสียมากกว่าชาย
กำบ่าเก่าจึงว่า “แม่ญิงยามเป๋นสาวเปิ้นดูฮ้าย เป๋นแม่ฮ้างจ๊างม่ายเปิ้นดูแควน”
การนำไปใช้ หญิงสาวให้ระวังกริยามารยาท อย่าให้ใครนินทาได้
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “หญิงสาวมักถูกนินทา หย่าร้างขึ้นมา คนยิ่งดูแควน”
ลำดับที่ 351. “แม่ฮ้างสามผัว งัวสามกาด”อ่าน (-แม่-ฮ้าง-สาม-ผัว///งัว-สาม-กาด-)
หมายถึง.....หญิงที่ผ่านการหย่าถึงสามครั้งมักหาคู่ครองยาก
กำบ่าเก่าจึงว่า “แม่ฮ้างสามผัว งัวสามกาด”
การนำไปใช้ หญิงเมื่อแต่งงานต้องปรนนิบัติสามี อย่าให้มีเหตุต้องหย่าร้าง ถ้าหย่าร้างส่วนมากคนมักคิดว่าเพราะผู้หญิงไม่ดี สามีทนพฤติกรรมไม่ได้จึงต้องหย่า (ทำให้หญิงหาคู่ใหม่ยาก) สังคมจะเข้าข้างชาย
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ชายสามโบสถ์ หญิงสามผัว”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ม่ายสามผัว(หาคู่ใหม่ยาก) วัวสามตลาด (ไม่มีใครซื้อ) จะขายยาก ”
ลำดับที่ 352. “มีดจะเสียก็เสียเพราะต๋าไม้ คนดีจะเสียก็เสียเพราะเหล้า”
อ่าน (-มีด-จะ-เสีย-ก่อ-เสีย-เพราะ-ต๋า-ไม้ ///คน-ดี-จะ-เสีย-ก่อ-เสีย-เพราะ-เหล้า-)
หมายถึง.....สิ่งเสพย์ติดทุกชนิด ทำให้คนดีๆหมดอนาคต
กำบ่าเก่าจึงว่า “มีดจะเสียก็เสียเพราะต๋าไม้ คนดีจะเสียก็เสียเพราะเหล้า”
การนำไปใช้ อย่ายุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพย์ติด
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “สุรายาเสพย์ติด เป็นภัยต่อชีวิต เป็นพิษต่อสังคม”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ คมมีดเสียเพราะฟันตาไม้ (แข็ง/มีดบิ่น) คนดีเสียเพราะสุรายาเสพย์ติด”
ลำดับที่ 353. “เม่าบินบนบ่หมป๊นปากอึ่ง” อ่าน (-เม่า-บิน-บน-บ่อ-หม-ป๊น-ปาก-อึ่ง-)
หมายถึง.....ของที่จะได้เป็นของเราอยู่แล้ว ควรมีความอดทนใจเย็นรอเวลา
กำบ่าเก่าจึงว่า “เม่าบินบน บ่หมป๊นปากอึ่ง”
การนำไปใช้ อดทนรอจังหวะที่จะสมหวังบางครั้งต้องใช้เวลา
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “แมลงเม่าที่บินวน ยากรอดพ้นปากอื่งอ่าง ”
ลำดับที่ 354.“แมลงงนกิ๋นย้อนเหลือบ” อ่าน (-แมง-งน-กิ๋น-ย้อน-เหลือบ-)
หมายถึง…ได้ประโยชน์จากความสามารถของผู้อื่น
กำบ่าเก่าจึงว่า “แมลงงนกิ๋นย้อนเหลือบ”
การนำไปใช้ ถ้าอยากมีอนาคตที่ดีต้องพึ่งพาตนเอง การพึ่งผู้อื่นสักวันโดนทิ้งจะลำบาก
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “แมลงวันได้กินเลือดจากแผลที่เหลือบเจาะไว้”
ลำดับที่ 355. “แมลงงนมักจิ๊นเน่า แมลงเม่ามักหมไฟ”
อ่าน (-แมง-งน-มัก-จิ๊น-เน่า///แมง-เม่า-มัก-หม-ไฟ-)
หมายถึง….. ผู้ที่มีมีใจชอบการพนัน อบายมุข ย่อมจะวนเวียนหวนกลับไปหาอีกจนได้
กำบ่าเก่าจึงว่า “แมลงงนมักจิ๊นเน่า แมลงเม่ามักหมไฟ”
การนำไปใช้ อย่ายุ่งเกี่ยวกับอบายมุข
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ผีพนันเข้าสิง”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “แมลงวันชอบเนื้อเน่า แมลงเม่าชอบไฟ”
ลำดับที่ 356. “แมงบ้งบ่ต๋ายกลั้นใบไม้” อ่าน (-แมง-บ้ง-บ่อ-ต๋าย-กั้น-ใบ-ไม้-)
หมายถึง.....คนเราถ้ามีกำลังใจต่อสู้ชีวิต ย่อมไม่ตกอับล่มจม
กำบ่าเก่าจึงว่า “แมงบ้งบ่ต๋ายกลั้นใบไม้”
การนำไปใช้ ถ้าขยันและดิ้นรนขวานขวาย ไม่เลือกงาน หนักเอาเบาสู้ ในงานสุจริต ย่อมเลี้ยงตนเองได้
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ชีวิตไม่สิ้นก็ดิ้นไป ชีวิตไม่ดิ้นก็สิ้นใจ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ตัวบุ้งตัวหนอนยังไม่ตายเพราะอดใบไม้”
ลำดับที่ 357. “แมวกับหัวปล๋า หมากับหนูปุ๊ก ก็สุดเสี้ยงอั้นของลำ”
อ่าน (-แมว-กับ-หัว-ป๋า///หมา-กับ-หนู-ปุ๊ก///ก่อ-สุด-เสี้ยง-อั้น-ของ-ลำ-)
หมายถึง....มีความเหมาะสมกัน ของคู่กัน เข้ากันได้ดี
กำบ่าเก่าจึงว่า “แมวกับหัวปล๋า หมากับหนูปุ๊ก ก็สุดเสี้ยงอั้นของลำ”
การนำไปใช้ ระวังสิ่งคู่กันที่จะก่ออันตรายต่อผู้อื่น
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “คู่สร้างคู่สม///กิ่งทองใบหยก”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “แมวกับหัวปลา หมากับหนูพุก ช่างเหมาะสมกันจริง”
ลำดับที่ 358. “เมื่อคืนเป๋นนกจัน เมื่อวันเป๋นนกเก๊า”
อ่าน (-เมื่อ-คืน-เป๋น-นก-จัน///เมื่อ-วัน-เป๋น-นก-เก๊า-)
หมายถึง…..คนชอบเที่ยวเตร่ตอนกลางคืน ทำให้เสียงานตอนกลางวัน (เพราะง่วงนอน)
กำบ่าเก่าจึงว่า “เมื่อคืนเป๋นนกจัน เมื่อวันเป๋นนกเก๊า”
การนำไปใช้ อย่าเที่ยวกลางคืนจนเป็นผลเสียต่องานกลางวัน
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “กลางคืนออกล่าเหมือนนกจัน กลางวันนอนเหมือนนกฮูก”
ลำดับที่ 359. “มีแล้วขะใจ๋ฝาก หาบแล้วขะใจ๋ปล๋ง หลงแล้วหื้อขะใจ๋แก้ ต๋นเป๋นตี้เปิ้งของต๋น”
อ่าน (-มี-แล้ว-ขะ-ใจ๋-ฝาก//หาบ-แล้ว-ขะ-ใจ๋-ป๋ง//หลง-แล้ว-หื้อ-ขะ-ใจ๋-แก้// ต๋น-เป๋น-ตี้-เปิ้ง-ของ-ต๋น-)
หมายถึง.....รู้ตัวว่าหลงสิ่งเสพย์ติด หมกมุ่นในอบายมุข ให้รีบแก้ไขทันทีอย่ารีรอ ตนเป็นที่พึ่งของตน
กำบ่าเก่าจึงว่า “มีแล้วขะใจ๋ฝาก หาบแล้วขะใจ๋ปล๋ง หลงแล้วหื้อขะใจ๋แก้ ต๋นเป๋นตี้เปิ้งของต๋น”
การนำไปใช้ อย่าหลงใหลในสิ่งที่จะทำลายอนาคตตนเอง ให้ตั้งใจเรียน
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “หลงทางเสียเวลา หลงติดยาเสียอนาคต”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “มีแล้วให้ฝาก หาบหนักให้วาง หลงเข้าทางอบายมุขรีบแก้ไข”
ลำดับที่ 360. “แมวขึ้นค่วน บ่ม่วนใจ๋หนู” อ่าน (-แมว-ขึ้น-ค่วน///บ่อ-ม่วน-ใจ๋-หนู-)
หมายถึง.....ถูกอกถูกใจฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งอาจจะรู้สึกทุกข์ทรมานในเรื่องเดียวกันนี้ก็ได้ เช่นเรื่องที่ผู้ใหญ่ตักเตือนห้ามปรามๆไว้ เด็กๆอาจไม่กล้า หรือแสดงออกอย่างไม่เต็มที่
กำบ่าเก่าจึงว่า “แมวขึ้นค่วน บ่ม่วนใจ๋หนู”
การนำไปใช้ อย่าเอาแต่ใจตัวเอง ควรปรึกษาหารือ หาข้อสรุปโดยใช้เหตุผลที่ดีที่สุดในการตัดสิน
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “เอาใจเขามาใส่ใจเรา”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “แม้วขึ้นเพดาน หนูลนลานผวา”
ลำดับที่ 361. “แมวบ่ลี้บ่ได้กิ๋นหนู” อ่าน (-แมว-บ่อ-ลี้-บ่อ-ได้-กิ๋น-หนู-)
หมายถึง.....ถ้าขาดความรู้ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญในอาชีพก็หาเลี้ยงตนเองไม่ได้
กำบ่าเก่าจึงว่า “แมวบ่ลี้ บ่ได้กิ๋นหนู”
การนำไปใช้ ต้องศึกษาความรู้ให้ช่ำชองในงานอาชีพ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “แมวที่ไม่ซ่อนตัว คงไม่ได้กินหนู”
ลำดับที่ 362. “เมื่อยามหนุ่มขะใจ๋เซาะเข้า เมื่อยามเฒ่าจะได้นอนกล่อม”
อ่าน (-เมื่อ-ยาม-หนุ่ม-ขะ-ใจ๋-เซาะ-เข้า///เมื่อ-ยาม-เถ้า-จะ-ได้-นอน-กล่อม-)
หมายถึง….ในวัยหนุ่มสาวมีกำลังแข็งแรงควรขยันทำงานเก็บออมเงินไว้ วัยชราจะสบาย
กำบ่าเก่าจึงว่า “เมื่อยามหนุ่มขะใจ๋เซาะเข้า เมื่อยามเฒ่าจะได้นอนกล่อม”
การนำไปใช้ หาเงินทองไว้ตอนหนุ่มสาว
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ลำบากตอนหนุ่ม ดีกว่ากลุ้มตอนแก่”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “วัยหนุ่มสาวให้รีบหา เข้าวัยชราจะสุขสบาย”
ลำดับที่ 363. “แมวบ่หื้อหน้า หมาบ่ยี่เขี้ยว”
อ่าน (-แมว-บ่อ-หื้อ-หน้า///หมา-บ่อ-ยี่-เขี้ยว-)
หมายถึง....ถ้าหญิงสาวไม่ยั่วยวนเล่นหูเล่นตาให้ท่าฉันท์ชู้สาวกับผู้ชายก่อน ผู้ชายคงไม่กล้ามายุ่งด้วย
กำบ่าเก่าจึงว่า “แมวบ่หื้อหน้า หมาบ่ยี่เขี้ยว”
การนำไปใช้ ควรรักนวลสงวนตัว
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “เล่นหูเล่นตา///ทอดสะพาน”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “แมวไม่ให้ท่า หมาไม่แยกเขี้ยว”
ลำดับที่ 364. “มักเล่นเสียกำยำ มักกำเสียของ ”
อ่าน (-มัก-เล่น-เสีย-กำ-ยำ///มัก-กำ-เสีย-ของ-)
หมายถึง.....ผู้ใหญ่ที่วางตัวไม่เหมาะสมจะขาดความยำเกรงจากผู้อื่น และคนที่ชอบนินทา ดูถูกดูหมิ่นผู้อื่น จะได้รับความเดือดร้อน ถ้าเขาฟ้องร้องต้องเสียค่าปรับไหม
กำบ่าเก่าจึงว่า “มักเล่นเสียกำยำ มักกำเสียของ ”
การนำไปใช้ ระวังการใช้คำพูด และควรวางตัวให้เหมาะสมกับฐานะ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “เล่นกับหมาหมาเลียปาก เล่นกับสากสากต่อยหัว”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ชอบล้อเล่นเสียความยำเกรง ชอบนินทาเสียเงินทองข้าวของ”
ลำดับที่ 365. “เมื่อเจ๊าบ่ดีย่างเฮือนแฮง เมื่อแลงบ่ดีย่างเฮือนดัง”
อ่าน (-เมื่อ-เจ๊า-บ่อ-ดี-ย่าง-เฮือน-แฮง///เมื่อ-แลง-บ่อ-ดี-ย่าง-เฮือน-ดัง-)
หมายถึง….รักษากริยามารยาททางกาย วาจา ใจ ตลอดเวลา ไม่ว่าอยู่บ้านตนเองหรือผู้อื่น
กำบ่าเก่าจึงว่า “เมื่อเจ๊าบ่ดีย่างเฮือนแฮง เมื่อแลงบ่ดีย่างเฮือนดัง”
การนำไปใช้ ระวังกริยามารยาททุกสถานที่
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “มีสมบัติผู้ดี”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “เดินเบาๆทั้งเช้าทั้งเย็น”
ลำดับที่ 366. “มัดเต่าหื้อมัดแขน มัดแลนหื้อมัดศอกแป้ มัดแย้หื้อมัดกล๋าง”
อ่าน (-มัด-เต่า-หื้อ-มัด-แขน///มัด-แลน-หื้อ-มัด-สอก-แป้///มัด-แย้-หื้อ-มัด-ก๋าง-)
หมายถึง.....การกระทำตามวิธีการที่ถูกต้องทำให้เกิดผลดี ไม่ต้องมาคอยแก้ปัญหา
กำบ่าเก่าจึงว่า “มัดเต่าหื้อมัดแขน มัดแลนหื้อมัดศอกแป้ มัดแย้หื้อมัดกล๋าง”
การนำไปใช้ ควรทำตามวิธีการที่ถูกต้อง
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “มัดเต่ามัดรวบขา ตะกวดมัดไพล่หลัง มัดแย้มัดกลางลำตัว ”
ลำดับที่ 367. “ไม้ก๊ดเอาไว้แป๋งขอ เหล็กงอเอาไว้แป๋งเคียว คนก๊ดอย่างเดียวใจ้ก๋ารบ่ได้”
อ่าน (-ไม้-ก๊ด-เอา-ไว้-แป๋ง-ขอ///เหล็ก-งอ-เอา-ไว้-แป๋ง-เกียว///คน-ก๊ด-หย่าง-เดียว-ใจ้-ก๋าน-บ่อ-ได้-)
หมายถึง....คนทุจริตคิดไม่ซื่อต่อผู้อื่นอยู่เสมอ คือคนที่หาประโยชน์ในตัวไม่ได้เลย
กำบ่าเก่าจึงว่า “ไม้ก๊ดเอาไว้แป๋งขอ เหล็กงอเอาไว้แป๋งเคียว คนก๊ดอย่างเดียวใจ้ก๋ารบ่ได้”
การนำไปใช้ ระวังคนทุจริตคิดไม่ซื่อ นอกจากประโยชน์ในตัวไม่มีแล้ว ยังจะให้โทษกับผู้อื่นได้อีก
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “คดในข้องอในกระดูก”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ไม้คดทำขอ เหล็กงอทำเคียว คนคดอย่างเดียว ทำประโยชน์ไม่ได้ ”
ลำดับที่ 369. “ไม้โก่นก๊างก็เปื่อคมเสียม ขุดเลาะเลียมฮากงูนฮากแก้ว”
อ่าน (-ไม้-โก่น-ก๊าง-ก่อ-เปื่อ-คม-เสียม///ขุด-เลาะ-เลียม-ฮาก-งูน-ฮาก-แก้ว-)
หมายถึง.....การมีความเพียรพยายาม มีความอดทนไม่ย่อท้อทำให้คนประสบความสำเร็จ
กำบ่าเก่าจึงว่า “ไม้โก่นก๊างก็เปื่อคมเสียม ขุดเลาะเลียมฮากงูนฮากแก้ว”
การนำไปใช้ มีความเพียรพยายามในการทำงาน
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ไม้ใหญ่โค่นล้ม เพราะคมเสียมเจาะ เซาะเล็มรากแก้ว”
ลำดับที่ 370. “ไม้ต่างปล้องปี้น้องต่างใจ๋”
อ่าน (-ไม้-ต่าง-ป้อง-ปี้-น้อง-ต่าง-ใจ๋-)
หมายถึง…. คนเราย่อมมีความนึกคิด มีจิตใจที่แตกต่างกัน แม้เป็นพี่น้องท้องเดียวกัน
กำบ่าเก่าจึงว่า “ไม้ต่างปล้อง ปี้น้องต่างใจ๋”
การนำไปใช้ เข้าใจในความแตกต่างทางความคิดของบุคคล อย่าโต้เถียงไปเสียทุกเรื่อง
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ต่างจิตต่างใจ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ลำไผ่มีหลายปล้อง พี่น้องต่างจิตใจ
ลำดับที่ 371. “ไม้ต้าวล้มนอนหงาย บ่ดีกล๋ายข้ามเหยียบ”
อ่าน (-ไม้-ต้าว-ล้ม-นอน-หงาย///บ่อ-ดี-ก๋าย-ข้าม-เหยียบ-)
หมายถึง.....อย่าซ้ำเติมผู้ประสบเคราะห์กรรม
กำบ่าเก่าจึงว่า “ไม้ต้าวล้มนอนหงาย บ่ดีกล๋ายข้ามเหยียบ”
การนำไปใช้ เห็นออกเห็นใจผู้ได้รับเคราะห์กรรม
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “คนล้มอย่าข้าม”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ไม้โค่นอย่าข้าม”
ลำดับที่ 372. “ไม้ตึงก๋อเลือกได้ดีนึ่งปล้อง ลูกตึงต๊องเลือกดีได้นึ่งคน”
อ่าน (-ไม้-ตึง-ก๋อ-เลือก-ได้-ดี-นึ่ง-ป้อง///ลูก-ตึง-ต๊อง-เลือก-ดีไ-ด้-นึ่ง-คน-)
หมายถึง..... มีลูกหลายคน มีเพียงคนเดียวที่รักพ่อรักแม่ เชื่อฟังคำสั่งสอน และคอยดูแลปรนนิบัติ
กำบ่าเก่าจึงว่า “ไม้ตึงก๋อเลือกได้ดีนึ่งปล้อง ลูกตึงต๊องเลือกดีได้นึ่งคน”
การนำไปใช้ มีความกตัญญู ต่อบิดามารดา ผู้มีพระคุณ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ไผ่ทั้งกอเลือกได้หนึ่งปล้อง ทั้งหมดพี่น้องเลือกได้คนเดียว ”
ลำดับที่ 373. “ไม้ถ่อสั้น ไผบ่ล่ำเอาไปหยั่งวัง”
อ่าน (-ไม้-ถ่อ-สั้น///ไผ-บ่อ-ล่ำ-เอา-ไป-หยั่ง-วัง-)
หมายถึง.....มีความรู้น้อยอย่าอวดรู้กับผู้มีปัญญา หรือทำสิ่งเกินความสามารถตนเอง
กำบ่าเก่าจึงว่า “ไม้ถ่อสั้น ไผบ่ล่ำเอาไปหยั่งวัง”
การนำไปใช้ รู้จักประมาณตัวเอง อย่าอวดรู้
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ไม้ถ่อสั้นอย่านำไปหยั่งความลึกของวังน้ำ”
ลำดับที่ 374.“ไม้บ่เนิ้งเผิ้งไหนจักต๋อม หมาบ่งอมแมวบ่ยี่เขี้ยว”
อ่าน (-ไม้-บ่อ-เนิ้ง-เผิ้ง-ไหน-จัก-ต๋อม///หมา-บ่อ-งอม-แมว-บ่อ-ยี่-เขี้ยว-)
หมายถึง.....ถ้าหญิงสาวไม่ยั่วยวนเล่นหูเล่นตาให้ท่าฉันท์ชู้สาวกับผู้ชายก่อน ผู้ชายคงไม่กล้ามายุ่งด้วย
กำบ่าเก่าจึงว่า “ไม้บ่เนิ้ง เผิ้งไหนจักต๋อม หมาบ่งอม แมวบ่ยี่เขี้ยว”
การนำไปใช้ เป็นหญิงต้องรักนวลสงวนตัว
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “เล่นหูเล่นตา///ทอดสะพาน”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ไม้ไม่โน้มโค้ง ผึ้งไม่ทำรัง ชายต้องระวัง ถ้าหญิงไม่เล่นด้วย ”
ลำดับที่ 375. “ไม้ไผ่ต๋านักจ้องใจ้แป๋งเกิ๋น คนบ่มีเงินจ้องใจ้ฮับจ้าง”
อ่าน (-ไม้-ไผ่-ต๋า-นัก-จ้อง-ใจ้-แป๋ง-เกิ๋น////คน-บ่อ-มี-เงิน-จ้อง-ใจ้-ฮับ-จ้าง-)
หมายถึง....ช่องทางทำกินหาเงินมาเลี้ยงชีพของคนยากจน คือใช้แรงกายรับจ้างทำงานแลกเงิน
กำบ่าเก่าจึงว่า “ไม้ไผ่ต๋านักจ้องใจ้แป๋งเกิ๋น คนบ่มีเงินจ๊องใจ๊ฮับจ้าง”
การนำไปใช้ ให้ตั้งใจเล่าเรียน เพื่อนำความรู้มาประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองและครอบครัวแทนขายแรง
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ใช้แรงแลกเงิน”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ไม้ไผ่ตาถี่ใช้ทำบันได ใครไม่มีเงินมีช่องทางคือการรับจ้าง”
ลำดับที่ 376. “ไม้ปล๋ายกุด บ่ดีเอาแป๋งตอก แม่ญิงหน้าลอก บ่ดีเอาเป๋นเมีย”
อ่าน (-ไม้-ป๋าย-กุด///บ่อ-ดี-เอา-แป๋ง-ตอก/// แม่-ยิง-หน้า-ลอก///บ่อ-ดี-เอา-เป๋น-เมีย-)
หมายถึง.....ผู้หญิงหน้าด้านไม่ควรสู่ขอมาเป็นภรรยา
กำบ่าเก่าจึงว่า “ไม้ปล๋ายกุดบ่ดีเอาแป๋งตอก แม่ญิงหน้าลอกบ่ดีเอาเป๋นเมีย”
การนำไปใช้ จะไปสู่ขอใครมาเป็นภรรยา ต้องสืบประวัติให้รู้แน่ก่อน
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ดูช้างดูหาง ดูนางดูแม่ ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ไม้ที่กุดด้วนอย่านำมาทำตอก (ได้ตอกแข็งหักง่าย) ผู้หญิงหน้าไม่อาย (มีกริยามารยาทไม่เหมาะสม)ไม่ควรสู่ขอมาเป็นภรรยา”
ลำดับที่ 377. “ไม้เล่มเดียว บ่เป๋นก๋อ ป๋อเล่มเดียว บ่เป๋นเหล่า”
อ่าน (-ไม้-เล่ม-เดียว-บ่อ-เป๋น-ก๋อ///ป๋อ-เล่ม-เดียว-บ่อ-เป๋น-เหล่า-)
หมายถึง...คนเราอยู่ในสังคมต้องมีญาติสนิทมิตรสหาย จะอาศัยตามลำพังไม่พึ่งพาใครไม่ได้
กำบ่าเก่าจึงว่า “ไม้เล่มเดียวบ่เป๋นก๋อ ป๋อเล่มเดียวบ่เป๋นเหล่า”
การนำไปใช้ ให้ความช่วยเหลือสังคม
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ไม้ต้นเดียวไม่เรียกกอ ปอต้นเดียวไม่เรียกป่า”
ลำดับที่ 378. “ไม้หนุ่มมัดไม้แก่ขายกิ๋น” อ่าน (-ไม้-หนุ่ม-มัด-ไม้-แก่-ขาย-กิ๋น-)
หมายถึง.....คนแก่ที่ทำตัวไม่น่านับถือ จนลูกหลานต้องเตือน
กำบ่าเก่าจึงว่า “ไม้หนุ่มมัดไม้แก่ขายกิ๋น”
การนำไปใช้ ถ้าอายุมากขึ้น ควรทำตัวให้เป็นที่เคารพ น่าศรัทธา อย่าให้ลูกหลานต้องว่ากล่าวตักเตือน
(ไม้อายุน้อยมักนำมาจักเป็นเส้นตอกใช้มัดสิ่งต่างๆรวมทั้งใช้มัดลำต้นไม้แก่ขาย(ไม้แก่ไม่นิยมทำเส้นตอก//เพราะได้ตอกแข็งหักง่าย ไม้แก่มักจำหน่ายทั้งลำเพื่อใช้งานด้านทำพวกโครงสร้างกระท่อมไม้ไผ่ )
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ถอนหงอก”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ไม้อ่อนมัดไม้แก่ขายกิน”
ลำดับที่ 379. “ไม้สอดต๋าก๋วย” อ่าน (-ไม้-สอด-ต๋า-ก๋วย-)
หมายถึง.....คนมีความผิด เมื่อโดนเขาตำหนิ ก็เป็นไปตามคำเขาว่า หาข้อแก้ตัวไม่ได้
กำบ่าเก่าจึงว่า “ไม้สอดต๋าก๋วย”
การนำไปใช้ ควรทำความดีอย่างสม่ำเสมอ จะได้ไม่โดนตำหนิ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “พูดไม่ออก”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ไม้สอดตาตะกร้า”(สอดเข้าด้านใดก็ทะลุ)
ลำดับที่ 380. “ไม้สูงกว่าไม้ หักเปื่อลมฝน คนสูงกว่าคน ก๊านภัยต๋นหั้น”
อ่าน (-ไม้-สูง-กว่า-ไม้-หัก-เปื่อ-ลม-ฝน///คน-สูง-กว่า-คน-ก๊าน-ไพ-ต๋น-หั้น-)
หมายถึง.....อย่าทำตัวเด่นดังจนเกินไปจะเป็นภัยกับตัวเอง
กำบ่าเก่าจึงว่า “ไม้สูงกว่าไม้ หักเปื่อลมฝน คนสูงกว่าคน ก๊านภัยต๋นหั้น”
การนำไปใช้ ให้ระวังตนอย่าทำตัวเด่นดังในหมู่คณะ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “แพ้ภัยตนเอง”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ไม้สูงกว่าพุ่ม หักยามพายุใหญ่ เด่นดังเกินไป แพ้ภัยตนเอง”
ลำดับที่ 381. “ไม้แส้หน้อยเฆี่ยนเจ็บ” อ่าน (-ไม้-แส้-หน้อย-เขี้ยน-เจ็บ-)
หมายถึง….คำพูดสั้นๆที่กินใจหรือการกระทำที่มีความหมายแฝงอยู่ ทำให้ต้องคิด
กำบ่าเก่าจึงว่า “ไม้แส้หน้อย เฆี่ยนเจ็บ”
การนำไปใช้ เมื่อได้ฟังคำพูดกินใจ ควรพิจารณาว่าเป็นจริงดังที่เขาว่าหรือไม่ จะปรับปรุงตนเองอย่างไร
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ไม้เรียวอันเล็กๆแต่เฆี่ยนเจ็บ”
ลำดับที่ 382. “ไม้อ่อนก้อม เปื่อคมมีดเหลา คนเฮาหูเบา เพราะกำกึ๊ดตื้น”
อ่าน (-ไม้-อ่อน-ก้อม///เปื่อ-คม-มีด-เหลา///คน-เฮา-หู-เบา///เพราะ-กำ-กึ๊ด-ตื้น)
หมายถึง....อย่าเชื่ออะไรง่ายเกินไป ควรนำเรื่องที่ได้รับฟังมาคิดพิจารณาก่อน
กำบ่าเก่าจึงว่า “ไม้อ่อนก้อมเปื่อคมมีดเหลา คนหูเบาเพราะกำกึ๊ดตื้น”
การนำไปใช้ อย่าเชื่ออะไรง่าย ควรคิดพิจารณาให้รอบคอบก่อน
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ฟังหูไว้หู///หูเบา”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ไม้อ่อนเพราะคมมีดเหลา คนหูเบาเพราะไม่นำไปคิด”
ลำดับที่ 383. “ไม้อ่อนบ่ห่อนหัก คนหล็วกฮู้อ่อนน้อม”
อ่าน (-ไม้-อ่อน-บ่อ-ห่อน-หัก///คน-หล็วก-ฮู้-อ่อน-น้อม-)
หมายถึง.....เป็นเรื่องธรรมดาที่คนฉลาดมักนอบน้อมถ่อมตน
กำบ่าเก่าจึงว่า “ไม้อ่อนบ่ห่อนหัก คนหล็วกฮู้อ่อนน้อม”
การนำไปใช้ ผู้นอบน้อมถ่อมตนมักจะได้รับความเมตตา ได้รับความช่วยเหลือจากผู้คนทั่วไป
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “เป็นผู้น้อยค่อยก้มประนมกร”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ไม้อ่อนลู่ลมไม่หัก คนฉลาดมักอ่อนน้อม”
ลำดับที่ 384. “ไม้ฮากบ่เลิ๊ก กิ่งก้านยาวเกิ๋น ตั้งอยู่บ่เมิน ลมจ้างปั๊ดเสิ้ง”
อ่าน (-ไม้-ฮาก-บ่อ-เลิ๊ก///กิ่ง-ก้าน-ยาว-เกิ๋น///ตั้ง-หยู่-บ่อ-เมิน///ลม-จ้าง-ปั๊ด-เสิ้ง-)
หมายถึง.....การทำสิ่งใดควรมีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้นๆอย่างแท้จริง เพื่อแก้ปัญหาในอนาคต
กำบ่าเก่าจึงว่า “ไม้ฮากบ่เลิ๊ก กิ่งก้านยาวเกิ๋น ตั้งอยู่บ่เมิน ลมจ้างปั๊ดเสิ้ง ”
การนำไปใช้ ควรศึกษาความรู้พื้นฐานไว้ให้รู้จริง ในอนาคตมีปัญหาเกิดขึ้นจะสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ต้นไม้รากไม่ลึก (ฐานไม่ดี) กิ่งยาวไกล โดนพายุใหญ่พัดเอียงกระเท่เร่”