ลำดับที่  385. “ยามเป๋นดี   มีเก้าป้าสิบป้า  เสื้อปุดหลังขาดหน้า  ป้าคนเดียวก็บ่หัน”

อ่าน  (-ยาม-เป๋น-ดี/มี-เก้า-ป้า-สิบ-ป้า/เสื้อ-ปุด-หลัง-ขาด-หน้า/ป้า-คน-เดียว-ก่อ-บ่อ-หัน-)

หมายถึง....ถึงครายากจนตกอับไม่ได้รับความช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ยามเป๋นดี   มีเก้าป้าสิบป้า  เสื้อปุดหลังขาดหน้า  ป้าคนเดียวก็บ่หัน”

การนำไปใช้      ขยันทำงานมีความอดทน ทำมาหากินเก็บออมทรัพย์ไว้ใช้   ยามยากจนไปขอความช่วยเหลือจะลำบากใจ แม้กับญาติพี่น้อง

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ เมื่อมั่งมี  มากมาย  มิตรหมายมอง  เมื่อมัวหมอง  มิตรมอง  เหมือนหมูหมา  เมื่อมีมั่ง  มากมิตร  เมียงมองมา  เมื่อมอดม้วย  มิตรหมาหมา  ไม่มามอง”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-(คำไทยกลาง) “ยามร่ำรวย  มากมีเครือญาติ ยากจนเงินขาด  ญาติเราไม่สน”

ลำดับที่  386. “ยามมีกิ๋นติกๆ   ยามบ่มีพับต๋าหยิบๆ”

อ่าน (-ยาม-มี-กิ๋น-ติก-ติก///ยาม-บ่อ-มี-พับ-ต๋า-หยิบ-หยิบ-)

หมายถึง.....ยามมั่งมีใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย  ถึงคราวตกอับไร้เงินทองก็จนปัญญา  คิดแก้ปัญหาไม่ออก 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ยามมีกิ๋นติกๆยามบ่มีพับต๋าหยิบๆ”   

การนำไปใช้      ควรประหยัดอดออม  ชอบกินล้างกินผลาญ  ถึงคราวยากจนคนจะสมน้ำหน้า

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “กินล้างกินผลาญ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “มั่งมีจ่ายไม่ยั้ง  หมดตัวมานั่ง  ทำตาปริบๆ  ”

ลำดับที่  387. “ยามหนุ่มหื้อขะใจ๋หา  เฒ่ามาจะได้นอนสะแกงผ่อ”

อ่าน (-ยาม-หนุ่ม-หื้อ-ขะ-ใจ๋-หา///เถ้า-มา-จะ-ได้-นอน-สะ-แกง-ผ่อ-)

หมายถึง..... วัยหนุ่มสาวมีกำลังแข็งแรงขยันทำงานเก็บออมเงินไว้ ย่างวัยชราจะสบาย

กำบ่าเก่าจึงว่า   “ยามหนุ่มหื้อขะใจ๋หา  เฒ่ามาจะได้นอนสะแกงผ่อ”  

การนำไปใช้     หาเงินทองออมไว้ตอนมีกำลังแข็งแรง

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ลำบากตอนหนุ่มดีกว่ากลุ้มตอนแก่”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ยามหนุ่มสาวให้ขยันหา  ยาชราค่อยนอนตะแคงดู”

ลำดับที่  388.  “ยามเมื่อน้องฮัก   น้ำส้มว่าหวาน  ใจ๋บ่เจยบาน  น้ำต๋าลว่าส้ม”

(-ยาม-เมื่อ-น้อง-ฮัก///น้ำ-ส้ม-ว่า-หวาน///ใจ๋-บ่อ-เจย-บาน///น้ำ-ต๋าน-ว่า-ส้ม-)

หมายถึง.....ยามแรกรักทุกอย่างดูสดใส  พอนานวันไปก็จืดจาง มีแต่ความน่าเบื่อหน่าย

กำบ่าเก่าจึงว่า       “ยามเมื่อน้องฮักน้ำส้มว่าหวาน   ใจ๋บ่เจยบานน้ำต๋าลว่าส้ม”   

การนำไปใช้         ถนอมความรักที่มีต่อกันไว้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ยามักกันรสเปรี้ยวบอกหวาน ใจ  พอเบื่อน้ำตาลยังว่าเปรี้ยว” 

ลำดับที่  389. “ยินกำเข้าหู   อย่าถูออกปาก   จักยากใจ๋เมื่อทีลูน”

อ่าน  (-ยิน-กำ-เข้า-หู///หย่า-ถู-ออกปาก///จัก-ยาก-ใจ๋-เมื่อ-ที-ลูน-)

หมายถึง.....ได้ยินคำเล่าลือมา อย่ารีบนำไปกระจายข่าว  ควรพิจารณาว่าจริงหรือเท็จ     

กำบ่าเก่าจึงว่า    “ยินกำเข้าหู อย่าถูออกปาก จักยากใจ๋ เมื่อทีลูน” 

การนำไปใช้      ไม่ทราบข้อเท็จจริงในเรื่องใดอย่านำไปเล่าต่อ  เรื่องที่เล่าลือมาอาจไม่เป็นความจริง  จะโดนฟ้องร้องข้อหาหมิ่นประมาท 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ฟังไม่ได้ศัพท์  จับไปกระเดียด”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “คำลือเข้าหู   อย่ารีบบอกไป  ระวังผิดใจ   เกิดเรื่องเดือดร้อน”

ลำดับที่  390. “เยี๊ยะก๋ารเอ็นยาน”  อ่าน  (-เยี๊ยะ-ก๋าน-เอ็น-ยาน-)

หมายถึง....คนขี้เกียจสันหลังยาว   ให้ทำงานก็ทำแบบไร้เรี่ยวแรง ไม่ตั้งใจทำอย่างจริงจัง 

กำบ่าเก่าจึงว่า    “เยี๊ยะก๋ารเอ็นยาน”   

การนำไปใช้       ควรทำงานอย่างขยันขันแข็ง

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ขี้เกียจสันหลังยาว”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ทำงานเหมือนไร้เรี่ยวแรง(เพราะขึ้เกียจ)”

 

 

ลำดับที่  391.  “เยี๊ยะก๋ารคนเดียวเหมือนต๋าย   เยี๊ยะก๋ารคนหลายเหมือนเล่น”

อ่าน  (-เยี๊ยะ-ก๋าน-คน-เดียว-เหมือน-ต๋าย///เยี๊ยะ-ก๋าน-คน-หลาย-เหมือน-เล่น-)

หมายถึง.....ความสามัคคีในหมู่คณะจะทำให้งานประสบความสำเร็จลงได้อย่างง่ายดาย

กำบ่าเก่าจึงว่า      “เยี๊ยะก๋ารคนเดียวเหมือนต๋าย     เยี๊ยะก๋ารคนหลายเหมือนเล่น”  

การนำไปใช้        ให้มีความสามัคคี 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “สามัคคีคือพลัง///ความสามัคคีนำสุขมาให้”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ทำเองแทบตาย  ช่วยกันมากมาย  เหมือนทำเล่นๆ”

ลำดับที่  392. “เยี๊ยะก๋ารอันใด หื้อเยี๊ยะต๋ามบ้านเมือง  อย่าหื้อผิดฮีตบ้านกองเมือง ” 

อ่าน  (-เยี๊ยะ-ก๋าน-อัน-ใด///หื้อ-เยี๊ยะ-ต๋าม-บ้าน-เมือง///หย่า-หื้อ-ผิด-ฮีด-บ้าน-กอง-เมือง -)

หมายถึง.....ควรประพฤติตนถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ตามจารีตประเพณีและกฎหมายบ้านเมือง  

กำบ่าเก่าจึงว่า      “เยี๊ยะก๋ารอันใด   หื้อเยี๊ยะต๋ามบ้านเมือง    อย่าหื้อผิดฮีตบ้านกองเมือง”         

การนำไปใช้        อย่าทำผิดกฏหมาย  ศีลธรรม  จารีตประเพณีที่ดีงาม

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ทำการงานใดอย่าทำผิดกฏหมายบ้านเมือง”

ลำดับที่  393. “เยี๊ยะปอหลาบปราบปออยู่” 

อ่าน  (-เยี๊ยะ-ปอ-หลาบ-ปราบ-ปอ-หยู่-)

หมายถึง.....สั่งสอนพอให้เข็ดหลาบ พอให้รู้สำนึก การลงโทษที่รุนแรงเกินไปอาจเกิดปัญหาตามมาได้

กำบ่าเก่าจึงว่า    “เยี๊ยะปอหลาบปราบปออยู่”  

การนำไปใช้       อย่าใช้อารมณ์ตอนสั่งสอนลูกหลาน 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “เตือนพอเข็ดหลาบ  ปรามปราบพอสมควร”

ลำดับที่  394. “เยี๊ยะนาหล้า  เป๋นขี้ข้าควาย   มีเมียขวาย  เป๋นขี้ข้าลูก”

อ่าน  (-เยี๊ยะ-นา-หล้า///เป๋น-ขี้-ข้า-ควาย///มี-เมีย-ขวาย///เป๋น-ขี้-ข้า-ลูก-)

หมายถึง.....กระทำการไม่ถูกกาลเทศะ  ไม่เป็นไปตามเวลาที่เหมาะสม ย่อมได้ผลประโยชน์ไม่เต็มที่      

กำบ่าเก่าจึงว่า   “เยียะนาหล้า เป๋นขี้ข้าควาย  มีเมียขวาย เป๋นขี้ข้าลูก”  

การนำไปใช้     ในการทำงานต่างๆที่ต้องอาศัยช่วงเวลา  ควรคำนึงถึงเวลาที่เหมาะสมด้วย

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “มีลูกไม่ทันใช้”(แก่ตายเสียก่อน)

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ทำนาเลยฤดู  เป็นขี้ข้าควาย(ได้ข้าวน้อย) แต่งตอนแก่  ไม่ได้กินแรงลูก  ”

 

 

ลำดับที่  395. เยี๊ยะก๋ารอ้างว่าบ่มีแฮง  ต่าหีบน้ำแก๋งเสียงอย่างฟ้าฮ้อง

อ่าน  (-เยี๊ยะ-ก๋าน-อ้าง-ว่า-บ่อ-มี-แฮง///ต่า-หีบ-น้ำ-แก๋ง-เสียง-หย่าง-ฟ้า-ฮ้อง-)

หมายถึง.....คนขี้เกียจสันหลังยาว หาข้ออ้างเพื่อหลบงาน แต่ตอนทานอาหารกลับทานอย่างเต็มที่

กำบ่าเก่าจึงว่า      “เยี๊ยะก๋ารอ้างว่าบ่มีแฮง   ต่าหีบน้ำแก๋ง เสียงอย่างฟ้าฮ้อง” 

การนำไปใช้        อย่าหลบเลี่ยงงาน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “เห็นแก่ตัว  เห็นแก่กิน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ให้ช่วยทำงาน   บอกไร้เรี่ยวแรง    ตอนซดน้ำแกง    ดังเสียงฟ้าร้อง

ลำดับที่  396. “เยี๊ยะก๋ารอันใด   หื้อเยี้ยะแต้แต้   เยี้ยะเหลาะๆแหละๆ   มันบ่ปอกิ๋นแล”

อ่าน (-เยี๊ยะ-ก๋าน-อัน-ใด/หื้อ-เยี้ยะ-แต้-แต้-เยี้ยะ-เหลาะ-เหลาะ-แหละ-แหละ//มัน-บ่อ-ปอ-กิ๋น-แล-)

หมายถึง.....ทำงานควรตั้งใจทำจริงจังทำให้ประสบผลสำเร็จ

กำบ่าเก่าจึงว่า     “เยี๊ยะก๋านอันใดหื้อเยี้ยะแต้แต้ เยี้ยะเหลาะๆแหละๆมันบ่ปอกิ๋นแล”  

การนำไปใช้       อย่าทำเล่นๆต้องมีความตั้งใจในการทำงาน

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ทำอะไรทำจริง”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง     “ทำอะไรทำจริง   ทำเล่นๆไม่พอกิน”

ลำดับที่  397. “เยี๊ยะก็หื้อเยี๊ยะแต้ดีหลี    จักได้เป๋นเศรษฐีสักวันหนึ่ง”

อ่าน  (-เยี๊ยะ-ก่อ-หื้อ-เยี๊ยะ-แต้-ดี-หลี-///จัก-ได้-เป๋น-เสด-ถี-สัก-วัน-หนึ่ง-)

หมายถึง..... ตั้งใจทำงานอย่างจริงจัง  ประหยัดอดออม    จะประสบผลสำเร็จในชีวิต

กำบ่าเก่าจึงว่า        “เยี๊ยะก็หื้อเยี๊ยะแต้ดีหลี  จักได้เป๋นเศรษฐีสักวันหนึ่ง” 

การนำไปใช้          ต้องมีความตั้งใจทำงานอย่างจริงจัง

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “สู้แล้วรวย”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ทำงานทุ่มเทจริงจัง   สักวันจักได้เป็นเศรษฐี”

ลำดับที่  398. “เยี่ยวปล๋อมฝน   สะเลียมปล๋อมใบ”อ่าน (-เยี่ยว-ป๋อม-ฝน///สะ-เลียม-ป๋อม-ใบ-)

หมายถึง.....เอาตัวรอดโดยอาศัยผู้อื่น

กำบ่าเก่าจึงว่า     “เยี่ยวปล๋อมฝนสะเลียมปล๋อมใบ” 

การนำไปใช้         อย่าอาศัยผู้อื่นโดยหวังเพียงการเอาตัวเองรอด  สักวันจะพบความลำบาก

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง  “ยืมจมูกคนอื่นหายใจ///ขายผ้าเอาหน้ารอด”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “เยี่ยวปนสายฝน  ไร้คนสงสัย”