ลำดับที่  409.  “ว่าหื้อเปิ้นบ่ซวามง่อนตั๋ว”    อ่าน  (-ว่า-หื้อ-เปิ้น-บ่อ-ซวม-ง่อน-ตั๋ว-)

หมายถึง….. ชอบว่าให้คนอื่น  ไม่ดูตัวเอง   

กำบ่าเก่าจึงว่า      “ว่าหื้อเปิ้นบ่ซวามง่อนตั๋ว”  

การนำไปใช้         ให้สำรวจตัวเอง    และอย่าเป็นคนชอบนินทาผู้อื่น

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ชอบนินทาเขา  ไม่ลูบท้ายทอยตนเอง”

ลำดับที่  410. “ว่าฮ้ายก็หนี   ว่าดีก็อยู่”   อ่าน   (-ว่า-ฮ้าย-ก่อ-หนี///ว่า-ดี-ก่อ-หยู่-)

หมายถึง.... คนไม่ยอมรับความผิดของตนเอง ต้องพูดดีด้วยตลอดจะอบรมสั่งสอนไม่ได้

กำบ่าเก่าจึงว่า     “ว่าฮ้ายก็หนี  ว่าดีก็อยู่”    การนำไปใช้      ต้องยอมรับและไม่หลีกเลี่ยงไป

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “สั่งสอนก็หนี  พูดดีก็อยู่”

 

 

 

 

 

ลำดับที่  411. “เว้นหมาหื้อปอศอก  เว้นวอกหื้อปอวา เว้นคนปาลา   หื้อไกล๋แสนโยชน์   

เว้นคนขี้โขด    หื้อไกล๋แสนไกล๋

อ่าน  (-เว้น-หมา-หื้อ-ปอ-สอก///เว้น-วอก-หื้อ-ปอ-วา-///เว้น-คน-ปา-ลา///หื้อ-ไก๋-แสน-โยด///

เว้น-คน-ขี้-โขด///หื้อ-ไก๋-แสน-ไก๋-)

หมายถึง.....อย่าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคนพาล     

กำบ่าเก่าจึงว่า  “เว้นหมาหื้อปอศอก   เว้นวอกหื้อปอวา  เว้นคนปาลา  หื้อไกล๋แสนโยชน์ เว้นคนขี้โขด   หื้อไกล๋แสนไกล๋”   การนำไปใช้   อย่ายุ่งเกี่ยวกับคนชั่วทุกรูปแบบ  โดยเด็ดขาด

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง  “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ห่างหมาหนึ่งศอก  ห่างลิงวอกหนึ่งวา  ห่างคนพาลไปให้ไกลสุดๆ”

ลำดับที่  412.  “วัดหัวแล้วลูบง่อน”อ่าน  (-วัด-หัว-แล้ว-ลูบ-ง่อน-)

หมายถึง....ดุด่าว่ากล่าวแล้วภายหลังมาทำเป็นพูดดี มาพูดปลอบใจ 

 กำบ่าเก่าจึงว่า    “วัดหัวแล้วลูบง่อน”       

การนำไปใช้       ไม่ควรใช้ความรุนแรงต่อกันทั้งกาย  วาจา   มาทำดีด้วยภายหลังอาจไม่สนิทใจ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ตบหัวลูบหลัง///ตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “เขกหัวแล้วลูบท้ายทอย”

ลำดับที่  413. “วัดบ่เข้า   พระเจ้าบ่ไหว้    คือคนกิเลสหนา”.

อ่าน  (-วัด-บ่อ-เข้า///พระ-เจ้า-บ่อ-ไหว้///คือ-คน-กิ-เหลด-หนา-)

หมายถึง…..คนไม่มีศีลธรรม จิตใจใฝ่ไปในทางชั่วจนไม่มีเวลาทำความดี

กำบ่าเก่าจึงว่า     “วัดบ่เข้า  พระเจ้าบ่ไหว้  คือคนกิเลสหนา”

การนำไปใช้        ควรทำตัวให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม   การปฏิบัติที่ดีงามของสังคม

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “วัดไม่กรายใกล้  พุทธรูปไม่กราบ   คือคนบาปหนา 

ลำดับที่  414. “สนุกมีไหน    ตุ๊กข์มีหั้น”  อ่าน  (-สะ-หนุก-มี-ไหน///ตุ๊ก-มี-หั้น-)

หมายถึง…..มีความสุขสนุกสนานที่ใด   ความทุกข์มักจะแฝงตัวตามมาติดๆเสมอไม่เคยขาด                  

กำบ่าเก่าจึงว่า      “สนุกมีไหนตุ๊กข์มีหั้น”   

การนำไปใช้        ยามมีความสุข  อย่าลืมความทุกข์ที่ตามมา

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง  “รักสนุก  จะทุกข์ถนัด”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “สนุกที่ไหน  ระวังทุกข์ใจจะตามมา

 

ลำดับที่  415. “สุขมีข้าวไว้กิ๋น  สุขมีดินไว้อยู่   สุขมีกู้นอนนำ  สุขมีเงินคำเต๋มไต้   สุขมีเฮือนใหญ่มุงกระดาน     สุขมีลูกหลานมานั่งเฝ้า สุขยามเฒ่าได้ฟังธรรม”

อ่าน    (สุก-มี-ข้าว-ไว้-กิ๋น///สุก-มี-ดิน-ไว้-หยู่///สุก-มี-กู้-นอน-นำ///สุก-มี-เงิน-คำ-เต๋ม-ไต้///

สุก- มี-เฮือน-ใหย่-มุง-กระ-ดาน///สุก-มี-ลูก-หลาน-มา-นั่ง-เฝ้า///สุก-ยาม-เถ้า-ได้-ฟัง-ทำ-)

หมายถึง.....ความสุขของผู้คนล้านนาสมัยก่อน  ปัจจุบันความสุขเหล่านี้ก็เปลี่ยนไปบ้างตามกาลเวลา

กำบ่าเก่าจึงว่า      “สุขมีข้าวไว้กิ๋น     สุขมีดินไว้อยู่     สุขมีกู้นอนนำ    สุขมีเงินคำเต๋มไต้     สุขมีเฮือนใหญ่

มุงกระดาน    สุขมีลูกหลานมานั่งเฝ้า    สุขยามเฒ่าได้ฟังธรรม”              

การนำไปใช้       อยากมีความสุขที่แท้จริง  ให้ทำใจให้สงบโดยอาศัยหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ 

เพราะความสุขตามกำบ่าเก่าคำนี้ ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมสิ่งแวดล้อม   เช่นจะสุขจากที่ลูกหลานมานั่งเฝ้าตอนป่วยไข้อาจจะไม่ได้  เนื่องจากลูกหลานต้องไปทำงานที่ต่างๆและเมื่อเราไม่ได้ตามที่นึกคิดอาจเกิดทุกข์  จึงควรแก้ด้วยการฝึกจิตใจให้สงบ  ไม่ยึดติดในโลกของวัตถุจนเกินไป

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “สุขใดเล่าเท่าสงบ///จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “สุขมีข้าวในยุ้ง  สุขมีที่ดินอยู่  สุขมีคู่ทุกข์คู่ยาก  สุขมีเงินเต็มถุง  สุขมีบ้านใหญ่มุงไม้กระดาน  สุขมีลูกหลานมาดูแลยามป่วยไข้ สุขได้ฟังพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์”

ลำดับที่  416.  สวรรค์มีอยู่ในอก  หม้อนาฮกมีอยู่ในใจ๋  หม้อไฟมีอยู่ตี้ปาก   ความตุ๊กข์กับยาก  อยู่ตี้ตี๋นกับมือ

อ่าน  (สะ-หวัน-มี-หยู่-ใน-อก///หม้อ-นา-ฮก-มี-หยู่-ใน-ใจ๋///หม้อ-ไฟ-มี-หยู่-ตี้-ปาก///

ความ-ตุ๊ก-กับ-ยาก///หยู่-ตี้-ตี๋น-กับ-มือ-)

หมายถึง.....จะสุขหรือทุกข์อยู่ที่การกระทำของตน  พูดดีหรือนินทาอยู่ที่ปาก  ร่ำรวยหรือยากจนอยู่ที่ขยัน

กำบ่าเก่าจึงว่า  “สวรรค์มีอยู่ในอก   หม้อนาฮกมีอยู่ในใจ๋  หม้อไฟมีอยู่ตี้ปาก  ความตุ๊กข์กับยาก  อยู่ตี้ตี๋นกับมือ”

การนำไปใช้    การดำเนินชีวิตควรมีสติอยู่เสมอ  ไม่เข้าไปก้าวก่ายในเรื่องส่วนตัวของคนอื่น จะทุกข์ใจ 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง  “สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ///สวรรค์ในอก  นรกในใจ ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง สวรรค์และนรกอยู่ที่ใจ พูดดีหรือไม่ดีอยู่ที่ปาก จนยากอยู่ที่ความขยัน 

ลำดับที่  417. “สอนเปิ้นไต่ขัว    ตั๋วกลั๋วตกน้ำ”

อ่าน  (-สอน-เปิ้น-ไต่-ขัว///ตั๋ว-กั๋ว-ตก-น้ำ-)

หมายถึง….ชอบสอนผู้อื่นแต่ตนเเองทำเป็นตัวอย่างไม่ได้  

กำบ่าเก่าจึงว่า    “สอนเปิ้นไต่ขัว   ตั๋วกลั๋วตกน้ำ”      

การนำไปใช้       อย่าสั่งสอนผู้อื่น  ถ้าตนเองยังประพฤติตนเป็นตัวอย่างไม่ได้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ตัวอย่างที่ดี  มีค่ากว่าคำสอน//แม่ปูกับลูกปู”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “สอนผู้อื่นข้ามสะพาน  ตนเองกลัวตกน้ำ

ลำดับที่  418.  “สะหลาดแล่งหิ้นแล่งแข็ง” 

อ่าน  (-สะ-หลาด-แล่ง-หิ้น-แล่ง-แข็ง-)

หมายถึง....คนสูงอายุมักมีความรู้  มีประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตมากกว่าคนหนุ่มสาว

กำบ่าเก่าจึงว่า     “สะหลาดแล่งหิ้นแล่งแข็ง”      

การนำไปใช้       ต้องการคำแนะนำในการดำเนินชีวิตควรปรึกษาผู้สูงอายุ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ขิงแก่มันเผ็ด”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ไม้กวาดทางมะพร้าว  ยิ่งสั้นยิ่งแข็ง”

ลำดับที่  419.  “สิบเถื่อนพร้าบ่เต้าคมขวาน  หลานสิบคนบ่เต้าลูกเต้า

อ่าน  (-สิบ-เถื่อน-พร้า-บ่อ-เต้า-คม-ขวาน///หลาน-สิบ-คน-บ่อ-เต้า-ลูก-เต้า-)

หมายถึง....ลูกย่อมให้ความเอาใจใส่  ดูแลบิดามารดาได้ดีกว่าหลาน 

กำบ่าเก่าจึงว่า     “สิบเถื่อนพร้า   บ่เต้าคมขวาน  หลานสิบคน  บ่เต้าลูกเต้า” 

การนำไปใช้   ควรให้ลูกดูแลตนเองจะได้ไม่ลำบากใจ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “สิบคมมีด ไม่สู้หนึ่งคมขวาน สิบคนหลาน  ไม่เท่าลูกตนเอง”

ลำดับที่  420. “ส้มก็ปอเกลื๋อ” อ่าน  (-ส้ม-ก่อ-ปอ-เกื๋อ-)

หมายถึง.....ต่างคนต่างไม่ยอมกัน มีความจัดจ้านพอๆกัน ไม่ยอมลดราวาศอกกัน

กำบ่าเก่าจึงว่า  “ส้มก็ปอเกลื๋อ”  

การนำไปใช้ ไม่ควรมีนิสัยอาฆาตมาดร้าย  ไม่ยอมใครง่ายๆ

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “ขิงก็รา ข่าก็แรง”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “ส้มมีพอดีเกลือ”

ลำดับที่  421. “สิบปากว่า    บ่เต้าต๋าหัน  สิบต๋าหัน บ่เต๋ามือซวาม”

อ่าน  (-สิบ-ปาก-ว่า-บ่อ-เต้า-ต๋า-หัน///สิบ-ต๋า-หัน-บ่อ-เต๋า-มือ-ซวม-)

หมายถึง…..เรื่องที่ได้ยินมามีความจริงหรือไม่  ต้องไปพิสูจน์ด้วยตัวเอง  

กำบ่าเก่าจึงว่า  “สิบปากว่า   

บ่เต้าต๋าหัน  สิบต๋าหัน บ่เต๋ามือซวาม”   

การนำไปใช้  ถ้าต้องการทราบความจริงควรไปดูด้วยตาตนเอง

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น   สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ

 

 

ลำดับที่  422. “สุดเจ้นไม้  ได้เจ้นหลัว”อ่าน  (-สุด-เจ้น-ไม้///ได้-เจ้น-หลัว-)

หมายถึง.....นำไปใช้ทำประโยชน์โดยตรงหรือไม่ได้แล้ว อาจพลิกแพลง  ดัดแปลงไปใช้ประโยชน์ทางอื่น      กำบ่าเก่าจึงว่า  “สุดเจ้นไม้ ได้เจ้นหลัว”  

การนำไปใช้  พิจารณานำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “หมดคุณค่าไม้ (เอาไปสร้างอะไรไม่ได้แล้ว)  ยังนำไปทำฟืนได้”

ลำดับที่  423.   “สิบเหลี่ยมซาวเหลี่ยม   บ่เต้าเหลี่ยมใบแขม   

สิบแหลมซาวแหลม    บ่เต้าแหลมใบข้าว 

สิบเหล้าซาวเหล้า        บ่เต้าเหล้าเดือนเกี๋ยง

สิบเสียงซาวเสียง        บ่เต้าเสียงแมงว้าง

สิบจ๊างซาวจ๊าง           บ่เต้าจ๊างเอราวัณ

สิบวันซาววัน             บ่เต้าวันนี้วันเดียว

อ่าน    (-สิบ-เหลี่ยม-ซาว-เหลี่ยม///บ่อ-เต้า-เหลี่ยม-ใบ-แขม///สิบ-แหลม-ซาว-แหลม//

บ่อ-เต้า-แหลม-ใบ-ข้าว///สิบ-เหล้า-ซาว-เหล้า///บ่อ-เต้า-เหล้า-เดือน-เกี๋ยง///

สิบ-เสียง-ซาว-เสียง///บ่อ-เต้า-เสียง-แมง-ว้าง///สิบ-จ๊าง-ซาว-จ๊าง///บ่อ-เต้า-จ๊าง-เอ-รา-วัน///

สิบ-วัน-ซาว-วัน///บ่อ-เต้า-วัน-นี้-วัน-เดียว-)

หมายถึง.....อย่าชอบผัดวันประกันพรุ่ง  ให้เริ่มลงมือทำในทันที

กำบ่าเก่าจึงว่า  “สิบเหลี่ยมซาวเหลี่ยม   บ่เต้าเหลี่ยมใบแขม    สิบแหลมซาวแหลม   บ่เต้าแหลมใบข้าว  

สิบเหล้าซาวเหล้า   บ่เต้าเหล้าเดือนเกี๋ยง   สิบเสียงซาวเสียง    บ่เต้าเสียงแมงว้าง    สิบจ๊างซาวจ๊าง   

บ่เต้าจ๊างเอราวัณ    สิบวันซาววัน    บ่เต้าวันนี้วันเดียว”                     

การนำไปใช้  การทำงานอย่ามัวรอวันเวลา   

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “จงทำวันนี้ให้ดีที่สุด”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “สิ่งมีเหลี่ยมสิบอย่างยี่สิบอย่าง ไม่เท่าเหลี่ยมของใบแขม  สิ่งที่แหลมสิบอย่างยี่สิบอย่าง ไม่เท่าความแหลมของใบข้าว  เหล้าดีสิบที่ยี่สิบแห่งไม่(รสดี)เท่าเหล้าเดือนเกี๋ยง(เดือนสิบเอ็ด)  เสียงดังสิบเสียงยี่สิบเสียงไม่เท่าเสียงของแมลงว้าง(จักจั่นแม่ม่ายลองไน)  ช้างสิบเชือกยี่สิบเชือกไม่น่าเกรงขามเท่าช้างเอราวัณ (ช้างทรงของพระอินทร์)  สิบวันยี่สิบวันไม่สำคัญหรือมีค่าเท่าลงมือทำในวันนี้”

 

 

 

ลำดับที่  424. “ไส้ยังเป๋นหนอน มีลูกหลานหื้อสอนแค้มๆ”

อ่าน  (-ไส้-ยัง-เป๋น-หนอน///มี-ลูก-หลาน-หื้อ-สอน-แค้ม-แค้ม-)

หมายถึง.....การอบรมลูกหลานให้ได้ดี  ต้องติดตามควบคุมดูแลอย่างเข้มงวดจริงจัง  

กำบ่าเก่าจึงว่า       “ไส้ยังเป๋นหนอน มีลูกหลานหื้อสอนแค้มๆ” 

การนำไปใช้         ควรอบรมสั่งสอนลูกหลานอย่างจริงจัง  และลูกหลานต้องเชื่อฟังคำสอนของบิดามารดา 

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “รักวัวให้ผูก  รักลูกให้ตี”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง   “ไส้ยังมีวันเป็นหนอน  มีลูกหลานต้องสอนให้เชื่อฟังถ้อยคำจริงๆ

ลำดับที่  425.  “เสียมบ่คมใส่ด้ามหนักๆ  กำฮู้บ่นักหื้อหมั่นฮ่ำหมั่นเฮียน

อ่าน  (-เสียม-บ่อ-คม-ใส่-ด้าม-หนัก-หนัก///กำ-ฮู้-บ่อ-นัก-หื้อ-หมั่น-ฮ่ำ-หมั่น-เฮียน-)

หมายถึง…..อยากมีความรู้ต้องขยันหมั่นเพียรเรียนหนังสือ

กำบ่าเก่าจึงว่า““เสียมบ่คมใส่ด้ามหนักๆ   กำฮู้บ่นักหื้อหมั่นฮ่ำหมั่นเฮียน      

การนำไปใช้  ให้หมั่นศึกษาหาความรู้

เทียบสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย ไทยกลาง   “อยากมีความรู้ให้หมั่นศึกษา”

เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง  “เสียมไม่คมต้องใส่ด้ามหนัก  ความรู้ไม่มากต้องขยันหมั่นเรียน