ลำดับที่ 426. “หนาตุ๊บแน่น เหมือนเหล็กกนจดแป้น จดบ่แน่นจดแถม”
อ่าน (-หนา-ตุ๊บ-แน่น///เหมือน-เหล็ก-กน-จด-แป้น////จด-บ่อ-แน่น-จด-แถม-)
หมายถึง…..ความสัมพันธ์ที่มีต่อกันต้องหมั่นสานสัมพันธ์ให้มั่นคงแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
กำบ่าเก่าจึงว่า “หนาตุ๊บแน่น เหมือนเหล็กกนจดแป้น จดบ่แน่นจดแถม”
การนำไปใช้ มีความมั่นคงสามัคคีอย่างแน่นเหนียว หมั่นไปมาหาสู่กันสม่ำเสมอ ดูแลเอาใจใส่กัน
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ไมตรีแน่นแฟ้น”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “แน่นหนาน่าดู ดังตะปูตอกไม้พื้น ถ้ายังไม่แน่นให้ตอกซ้ำๆ”
ลำดับที่ 427. “หนามแก่ปล๋ายมุ่ม หนามหนุ่มปล๋ายแซว ปักบ่แผวจั้งอ่อนเบ้อ”
อ่าน (-หนาม-แก่-ป๋าย-มุ่ม///หนาม-หนุ่ม-ป๋าย-แซว///ปัก-บ่อ-แผว-จั้ง-อ่อน-เบ้อ-)
หมายถึง.....คนสูงอายุมักมีความรู้ มีประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตมากกว่าคนหนุ่มสาว กำบ่าเก่าจึงว่า “หนามแก่ปล๋ายมุ่ม หนามหนุ่มปล๋ายแซว ปักบ่แผวจั้งอ่อนเบ้อ” การนำไปใช้ เคารพนับถือผู้สูงวัย
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ขิงแก่มันเผ็ด”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “หนามแก่ทู่แข็งแทงเข้า หนามใหม่แหลมแทงอ่อนยู่”
ลำดับที่ 428. “หมาบ่เห่าบ่ดีเปี๋ยไม้ ละอ่อนบ่ไห้บ่ดีปั๋นข้าวหนม”
อ่าน (-หมา-บ่อ-เห่า-บ่อ-ดี-เปี๋ย-ไม้///ละ-อ่อน-บ่อ-ไห้///บ่อ-ดี-ปั๋น-ข้าว-หนม-)
หมายถึง...การหาข้อมูลก่อนย่อมดีว่าทำไปโดยเอาใจตัวเองว่า คิดว่ามันต้องเป็นไปตามนั้น ถ้าสอบถามก่อนทำให้ไม่เสียเวลา กำบ่าเก่าจึงว่า “หมาบ่เห่าบ่ดีเปี๋ยไม้ ละอ่อนบ่ไห้บ่ดีปั๋นข้าวหนม”
การนำไปใช้ ควรสำรวจความต้องการ มิฉะนั้นอาจเป็นการยัดเยียด เกิดความไม่เข้าใจกันได้
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “สุนัขไม่เห่าอย่าถือไม้ เด็กไม่ร้องไห้อย่าให้ขนม ”
ลำดับที่ 429. “หมาข้ามน้ำก็อุ่นใจ๋เลียตี๋น” อ่าน (-หมา-ข้าม-น้ำ-ก่อ-อุ่น-ใจ๋-เลีย-ตี๋น-)
หมายถึง...ทำเพราะหวังได้รับผลประโยชน์ตอบแทน กำบ่าเก่าจึงว่า “หมาข้ามน้ำก็อุ่นใจ๋เลียตี๋น” การนำไปใช้ อย่าทำเพราะเห็นแก่ประโยชน์ที่จะได้รับ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ หว่านพืชหวังผล”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “สุนัขข้ามลำธาร หวังเลียตีนตนเอง”
ลำดับที่ 430. “หมาบ่เห่าจะไปหลอก คนหัววอกจะไปคบมัน”
อ่าน (-หมา-บ่อ-เห่า-จะ-ไป-หลอก///คน-หัว-วอก-จะ-ไป-คบ-มัน-)
หมายถึง..…จะคบใครต้องดูให้ดีก่อน
กำบ่าเก่าจึงว่า “หมาบ่เห่าจะไปหลอก คนหัววอกจะไปคบมัน”
การนำไปใช้ ให้รู้จักการเลือกคบเพื่อน
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “สุนัขไม่เห่าห้ามแหย่ คนตอแหลอย่าคบ ”
ลำดับที่ 431. “หมาขี้มันตึงยกหางคนเดียว” อ่าน (-หมา-ขี้-มัน-ตึง-ยก-หาง-คน-เดียว-)
หมายถึง.....คนขี้โม้ มักชอบโอ้อวดสรรพคุณของตนเอง
กำบ่าเก่าจึงว่า “หมาขี้มันตึงยกหางคนเดียว” การนำไปใช้ อย่าเป็นคนขี้โม้โอ้อวดตน
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ขี้โม้โอ้อวด”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “สุนัขเวลาขี้ จะยกหางเอง ”
ลำดับที่ 432. “หมาเห่าเผียบเหมือนคนขี้ลม คนง่าวงมชอบอู้เสียงดัง”
อ่าน (-หมา-เห่า-เผียบ-เหมือน-คน-ขี้-ลม///คน-ง่าว-งม-ชอบ-อู้-เสียง-ดัง-)
หมายถึง….คนมีความรู้น้อยมักชอบคุยโม้โอ้อวด ส่งเสียงดัง ไม่มีกริยามารยาทที่เหมาะสม
กำบ่าเก่าจึงว่า“หมาเห่าเผียบเหมือนคนขี้ลม คนง่าวงมชอบอู้เสียงดัง” การนำไปใช้ อย่าให้ใครดูถูก
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ไม่มีสมบัติผู้ดี”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “หมาเห่าเปรียบคนขี้โม้ คนโง่มักชอบเสียงดัง ”
ลำดับที่ 433. “หมาเห่าตวยก้นจ๊าง” อ่าน (-หมา-เห่า-ตวย-ก้น-จ๊าง)
หมายถึง..... เรื่องไร้ประโยชน์ ทำไปก็เสียเวลาเปล่าๆ ไม่มีผลกระทบใดๆเกิดขึ้นเลย กำบ่าเก่าจึงว่า “หมาเห่าตวยก้นจ๊าง” การนำไปใช้ ควรพิจารณาว่าสิ่งไหนควรทำหรือไม่ควร อย่าทำเรื่องไร้ประโยชน์
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “สุนัขเห่าตามก้นช้าง”
ลำดับที่ 434. “หมาเห่าจะไปเห่าตวยหมา” อ่าน (-หมา-เห่า-จะ-ไป-เห่า-ตวย-หมา-)
หมายถึง….อย่าเข้าไปยุ่งกับคนพาลแม้เขาจะมาหาเรื่องก่อน
กำบ่าเก่าจึงว่า “หมาเห่าจะไปเห่าตวยหมา”
การนำไปใช้ อย่าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพวกคนชั่วเพราะเป็นการกระทำที่ไร้ประโยชน์
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “เอาทองไปรู่กระเบื้อง///เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ
เอาเนื้อไปแลกกับหนัง///เอาไม้สั้นไปรันขี้///หมากัดอย่ากัดตอบ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “สุนัขเห่าอย่าเห่าตาม”
ลำดับที่ 435. “หมาเห่าบ่ขบ” อ่าน (-หมา-เห่า-บ่อ-ขบ-)
หมายถึง.....คนที่ชอบคุยโม้ โอ้อวด มักทำอะไรไม่เป็น ทำอะไรไม่สำเร็จ
กำบ่าเก่าจึงว่า “หมาเห่าบ่ขบ” การนำไปใช้ อย่าเป็นคนขี้โม้ โอ้อวดตน
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “หมาเห่าไม่กัด”
ลำดับที่ 436. “หมาหลวงก๊านหมาหลาย” อ่าน (-หมา-หลวง-ก๊าน-หมา-หลาย-)
หมายถึง....ทำดีผู้เดียวย่อมพ่ายแพ้ต่อเหล่าคนพาลทั้งหลาย กำบ่าเก่าจึงว่า “หมาหลวงก๊านหมาหลาย” การนำไปใช้ อย่ามีเรื่องกับเหล่าคนพาล
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “น้ำน้อยแพ้ไฟ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “สุนัขโตจะแพ้เมื่อโดนรุม ”
ลำดับที่ 437. “ใหญ่บ่ตันแล้ว เมียๆผัวๆ บ่ใจ้เหมือนงัว มัดแฮ้วกิ๋นหญ้า”
อ่าน (-ใหย่-บ่อ-ตัน-แล้ว///เมีย-เมีย-ผัว-ผัว///บ่อ-ใจ้-เหมือน-งัว///มัด-แฮ้ว-กิ๋น-หย้า-)
หมายถึง..... เป็นเด็กไม่ควรพูดคุยกันในเรื่องการแต่งงาน การมีคู่ครอง การมีครอบครัว เพราะเป็นเรื่องไม่เหมาะสม ที่จะนำมาสนทนากันเล่นๆ
กำบ่าเก่าจึงว่า “ใหญ่บ่ตันแล้ว เมียๆผัวๆ บ่ใจ้เหมือนงัว มัดแฮ้วกิ๋นหญ้า”
การนำไปใช้ เป็นเด็กเป็นเล็ก หรืออยู่ในวัยเรียนไม่ควรสนทนาเรื่องชู้สาว เรื่องการแต่งงานมีครอบครัว
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “เป็นเด็กเป็นเล็ก ไม่ควรพูดเรื่องมีครอบครัว เพราะไม่ใช่เหมือนวัวควาย นำไปผูกติดแร้วบังคับให้กินหญ้าในพื้นที่จำกัด ”
ลำดับที่ 438. “หมาหันข้าวเปลือก” อ่าน (-หมา-หัน-ข้าว-เปือก-)
หมายถึง.....อยากได้ไว้ครอบครองแต่สุดความสามารถ ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ ได้แต่คิดได้แต่มอง
กำบ่าเก่าจึงว่า “หมาหันข้าวเปลือก”
การนำไปใช้ รู้จักการเจียมตัว ปลงให้ตก
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “หมาเห็นข้าวเปลือก”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “สุนัขเห็นข้าวเปลือก”
ลำดับที่ 439. “หม้อบ่จ๊าย ไหบ่เจือน ไม้บ่เลือน เครือเขาบ่ขึ้น”
อ่าน (-หม้อ-บ่อ-จ๊าย///ไห-บ่อ-เจือน///ไม้-บ่อ-เลือน///เครือ-เขา-บ่อ-ขึ้น-)
หมายถึง.....ถ้าหญิงสาวไม่ยั่วยวนเล่นหูเล่นตาให้ท่าฉันท์ชู้สาวกับผู้ชายก่อน ผู้ชายคงไม่กล้ามายุ่งด้วย
กำบ่าเก่าจึงว่า “หม้อบ่จ๊าย ไหบ่เจือน ไม้บ่เลือน เครือเขาบ่ขึ้น”
การนำไปใช้ หญิงควรวางตัวสมกุลสตรี
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “เล่นหูเล่นตา///ทอดสะพาน”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “หม้อไม่เอน ไหย่อมไม่เอียง กิ่งไม้ไม่กรายใกล้ เถาวัลย์ก็ไม่เกาะ”
ลำดับที่ 440. “หน่อในดิน หินในต้า ปู่ย่ากับเมือง”
อ่าน (-หน่อ-ใน-ดิน/// หิน-ใน-ต้า///ปู่-ย่า-กับ-เมือง-)
หมายถึง.....สิ่งที่อยู่คู่กันมาเนิ่นนาน มีความมีสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความจริงใจต่อกัน กำบ่าเก่าจึงว่า“หน่อในดิน หินในต้า ปู่ย่ากับเมือง” การนำไปใช้ ให้รักษาความมั่นคงยั่งยืนต่อกัน
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ของคู่กัน”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “หน่อไม้ย่อมเกิดในดิน กรวดหินเกิดคู่มากับท่าน้ำ ปู่ย่าคู่บ้านเมือง”
ลำดับที่ 441. “หลับเดิ๊กลุกเจ๊า นึ่งข้าวเป่าไฟ” อ่าน (-หลับ-เดิ๊ก-ลุก-เจ๊า/นึ่ง-ข้าว-เป่า-ไ
หมายถึง….แบบอย่างการปฏิบัติตนที่ดีของหญิงล้านนาสมัยก่อน นอนดึก ตื่นเช้า เตรียมอาหารไว้รอ กำบ่าเก่าจึงว่า “หลับเดิ๊กลุกเจ๊า นึ่งข้าวเป่าไฟ” การนำไปใช้ หญิงต้องดูแลครอบครัว
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ตื่นก่อนนอนหลัง ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “นอนดึกตื่นเช้าก่อไฟนึ่งข้าว ”
ลำดับที่ 442. “หลับเดิ๊กลุกเจ๊า เป๋นเจ้าต้านตังหลาย หลับเจ๊าลุกขวาย ปาลูกหลานเป๋นหนี้เป๋นข้า”อ่าน(-หลับ-เดิ๊ก-ลุก-เจ๊า///เป๋น-เจ้า-ต้าน-ตัง-หลาย///หลับ-เจ๊า-ลุก-ขวาย///ปา-ลูก-หลาน-เป๋น-หนี้-เป๋น-ข้า-)หมายถึง….ความขยันขันแข็งทำให้คนพบความเจริญก้าวหน้าในชีวิต กำบ่าเก่าจึงว่า “หลับเดิ๊กลุกเจ๊า เป๋นเจ้าต้านตังหลาย หลับเจ๊าลุกขวาย ปาลูกหลานเป๋นหนี้เป๋นข้า”การนำไปใช้ ให้เป็นคนขยันเทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ไม่มีความยากจนในหมู่ชนที่ขยัน”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “นอนดึกตื่นเช้าเป็นเจ้านาย นอนหัวค่ำตื่นสายนำพาลูกหลานเป็นขี้ข้า ”
ลำดับที่ 443.“หน้อยบ่ดีเป็นอาจารย์ หนานบ่ดีเป๋นจ้างซอ”
อ่าน (-หน้อย-บ่อ-ดี-เป็น-อา-จ๋าน///หนาน-บ่อ-ดี-เป๋น-จ้าง-ซอ-)
หมายถึง.....อย่าฝืนทำในสิ่งที่ตนเองไม่มีความถนัด หรือไม่มีความรู้มาก่อน ทำได้ก็ไม่ดี
กำบ่าเก่าจึงว่า“หน้อยบ่ดีเป็นอาจารย์ หนานบ่ดีเป๋นจ้างซอ” การนำไปใช้ อย่าทำสิ่งที่ตนไม่มีควาชำนาญ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “หน้อยไม่ควรเป็นมรรคทายก หนานไม่ควรเป็นช่างซอ”
(หน้อยคือคำเรียกผู้ที่ผ่านการบวชเณรมาแล้ว ส่วนหนานใช้เรียกผู้ที่เคยบวชพระมาก่อน)
ลำดับที่ 444. “หนูเกี๊ยดหื้อก๋องหลัว” อ่าน (-หนู-เกี๊ยด-หื้อ-ก่อง-หลัว-)
หมายถึง.....ตัวเองยังเอาตัวไม่รอดหนีไปไม่พ้น หรือเคยพึ่งพาอาศัย กลับคิดอกตัญญู คิดร้ายต่อผู้มีคุณ
กำบ่าเก่าจึงว่า “หนูเกี๊ยดหื้อก๋องหลัว”
การนำไปใช้ รับประโยชน์จากสิ่งใดควรมีสำนึกในพระคุณ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “กินบนเรือนขี้บนหลังคา”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “หนูโกรธให้กองฟืน(ที่เคยอยู่อาศัย)”
ลำดับที่ 445. “หน่วยนักหักกิ่ง กึ๊ดนักยิ่งหนักใจ ต้นไม้ต๋ายเพราะลูก คนเปิ้นดูถูก
เพราะเป๋นคนบ่มีปัญญา”
อ่าน (-หน่วย-นัก-หัก-กิ่ง///กึ๊ด-นัก-ยิ่ง-หนัก-ใจ๋///ต้น-ไม้-ต๋าย-เพราะ-ลูก///คน-เปิ้น-ดู-ถูก///
เพราะ-เป๋น-คน-บ่อ-มี-ปั๋น-ยา-)
หมายถึง.....คนคิดมากย่อมยุ่งยากใจตนเอง คนไร้ปัญญาความรอบรู้ ย่อมได้รับการดูถูก
กำบ่าเก่าจึงว่า“หน่วยนักหักกิ่ง กึ๊ดนักยิ่งหนักใจ ต้นไม้ต๋ายเพราะลูก คนเปิ้นดูถูกเพราะเป๋นคนบ่มีปัญญา”
การนำไปใช้ อย่าเป็นคนคิดมากในเรื่องไม่เป็นเรื่องและควรหมั่นศึกษาหาความรู้
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ผลมากกิ่งหักง่าย ยิ่งคิดมากยิ่งหนักใจ ไม่มีปัญญาคนจะดูถูก ”
ลำดับที่ 446. “หนีฝนก็เปิ้งฮ่มไม้” อ่าน (-หนี-ฝน-ก่อ-เปิ้ง-ฮ่ม-ไม้-)
หมายถึง.....มีความลำบากก็ควรขอความช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง กำบ่าเก่าจึงว่า “หนีฝนก็เปิ้งฮ่มไม้”
การนำไปใช้ พบความลำบากในชีวิตไม่รู้จะไปพึ่งใครควรหันหน้าพึ่งพาญาติพี่น้อง
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “หนีร้อนมาพึ่งเย็น”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “หลบฝนต้องไปอาศัยร่มไม้”
ลำดับที่ 447. “หนีหื้อเปิ้นเสียดาย ต๋ายหื้อเปิ้นได้เล่า”
อ่าน (-หนี-หื้อ-เปิ้น-เสีย-ดาย///ต๋าย-หื้อ-เปิ้น-ได้-เล่า-)
หมายถึง.....หมั่นทำความดีงามเพื่อสังคม กำบ่าเก่าจึงว่า “หนีหื้อเปิ้นเสียดาย ต๋ายหื้อเปิ้นได้เล่า”
การนำไปใช้ หมั่นทำความดี เมื่อต้องจากไปความดีของเราจะทำให้คนอื่นคิดถึง
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “อยู่ให้เขารักจากให้เขาอาลัย”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “หนีให้เขาเสียดาย ตายให้เขาสรรเสริญ”
ลำดับที่ 448. “หนีฝนบ่ป๊นฟ้า”อ่าน (-หนี-ฝน-บ่อ-ป๊น-ฟ้า-)
หมายถึง .....คนเราย่อมผจญกับปัญหาในชีวิต ความทุกข์ การเจ็บป่วย ความแก่ชรา จนกว่าจะสิ้นใจ
กำบ่าเก่าจึงว่า “หนีฝนบ่ป๊นฟ้า” การนำไปใช้ สู้ปัญหาในชีวิตอย่างอดทนตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ชีวิตต้องสู้”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “หนีฝนแต่ไม่พ้นขอบฟ้า”
ลำดับที่ 449. “หนังแห้งบ่เกยปอง”อ่าน (-หนัง-แห้ง-บ่อ-เกย-ปอง-)
หมายถึง.....คนไม่เคยมีอำนาจ พอได้อำนาจก็ใช้ข่มเหงรังแกผู้อื่น หรือคนยากจนพอร่ำรวยขึ้นมาก็ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย อวดความมั่งมี กำบ่าเก่าจึงว่า “หนังแห้งบ่เกยปอง”
การนำไปใช้ อย่าเหลิงอำนาจ หรือใช้อำนาจไปในทางไม่ถูกต้อง และถ้าร่ำรวยขึ้นมาอย่าสุรุ่ยสุร่าย
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “คางคกขึ้นวอ///กิ้งก่าได้ทอง”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “หนังควายแห้งไม่เคยพอง”(หนังควายแห้งหั่นเป็นชิ้นเท่านิ้วก้อย นำไปลงทอดในน้ำมันร้อนๆจะพองตัวมีขนาดโตกว่าเดิมหลายเท่า)
ลำดับที่ 450. “หันเงินหน้าดำ หันคำหน้าเส้า”
อ่าน (-หัน-เงิน-หน้า-ดำ///หัน-คำ-หน้า-เส้า-)
หมายถึง.....คนเห็นแก่เงินทอง อามิสสินจ้าง มีความโลภมาก จนลืมความถูกต้อง ลืมความยุติธรรม กำบ่าเก่าจึงว่า “หันเงินหน้าดำ หันคำหน้าเส้า ” การนำไปใช้ อย่าตกเป็นทาสของเงิน
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “เห็นเงินตาโต”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “เห็นเงินหน้าดำ หน้าหมองคล้ำเมื่อเจอทอง”
ลำดับที่ 451. “หันเปิ้นมี จะไปใคร่ได้ หันเปิ้นขี้ไร้ จะไปดูแควน”
อ่าน (-หัน-เปิ้น-มี-จะ-ไป-ใค่-ได้///หัน-เปิ้น-ขี้-ไร้-จะ-ไป-ดู-แควน-)
หมายถึง…..เห็นเขาร่ำรวยอย่าอิจฉาริษยาและเมื่อพบคนลำบากยากจนอย่าดูถูกดูแควน กำบ่าเก่าจึงว่า
“หันเปิ้นมีจะไปใคร่ได้ หันเปิ้นขี้ไร้จะไปดูแควน” การนำไปใช้ ตั้งใจหากิน อย่ารังเกียจคนยากจน”
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “แข่งเรือแข่งแพแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “เห็นคนมั่งมี อย่าคิดอยากได้ เห็นคนยากไร้ อย่าดูถูกดูแควน”
ลำดับที่ 452. “หันสาวก็ใคร่หยอก หันดอกก็ใคร่ดม”
อ่าน (-หัน-สาว-ก่อ-ใค่-หยอก///หัน-ดอก-ก่อ-ใค่-ดม-)
หมายถึง…..อาการโดยทั่วไปของคนหนุ่มสาว กำบ่าเก่าจึงว่า “หันสาวก็ใคร่หยอก หันดอกก็ใคร่ดม” การนำไปใช้ ควรทำตัวเหมาะสม อย่าล่วงเกินผู้อื่น
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “แตกเนื้อหนุ่ม”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “เห็นสาวก็อยากจะหยอก เห็นดอกก็อยากดม”
ลำดับที่ 453. “หันจ๊างขี้ จะไปขี้ตวยจ๊าง” อ่าน (-หัน-จ๊าง-ขี้///จะ-ไป-ขี้-ตวย-จ๊าง-)
หมายถึง….อย่าอวดรวย อย่าแข่งบุญ แข่งวาสนา แข่งฐานะกับคนร่ำรวยเงินทอง
กำบ่าเก่าจึงว่า “หันจ๊างขี้ จะไปขี้ตวยจ๊าง”
การนำไปใช้ ให้รู้จักประมาณตนเอง อย่าทำตัวเกินฐานะ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “แข่งเรือแข่งแพแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “เห็นช้างขี้อย่าขี้ตามช้าง”
ลำดับที่ 454. “หัวใจ๋คน ไผหยั่งบ่ตึ๋ก มหาสมุทรสุดลึก ยังหยั่งได้แผวทราย”
อ่าน (-หัว-ใจ๋-คน-ไผ-หยั่ง-บ่อ-ตึ๋ก///มะ-หา-สะ-หมุด-สุด-ลึก///ยัง-หยั่ง-ได้-แผว-ซาย-)
หมายถึง.....จิตใจของคนยากที่จะหยั่งรู้ได้
กำบ่าเก่าจึงว่า “หัวใจ๋คนไผหยั่งบ่ตึ๋ก มหาสมุทรสุดลึก ยังหยั่งได้แผวทราย”
การนำไปใช้ อย่าคิดเดาใจใคร เพราะจะเสียเวลาและอาจโดนหลอกลวง
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “มหาสมุทรสุดลึกล้น คนณา สายดิ่งทิ้งทอดมา หยั่งได้ เขาสูงอาจวัดวา กำหนด จิตมนุษย์นั้นไซร้ ยากแท้หยั่งถึง”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “หัวใจคนหยั่งไม่ถึง มหาสมุทรสุดลึกหยั่งถึงทราย”
ลำดับที่ 455. “หัวป๊นก้นยัง” อ่าน (-หัว-ป๊น-ก้น-ยัง)
หมายถึง.....ยังแก้ไขปัญหาไม่หมด ยังไม่ผ่านพ้นอุปสรรคไปอย่างตลอดรอดฝั่ง
กำบ่าเก่าจึงว่า “หัวป๊นก้นยัง”
การนำไปใช้ ต้องดูแลแก้ไขให้ผ่านพ้นปัญหา จึงค่อยวางใจ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ไปไม่รอด”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “หัวพ้นไปแล้วแต่ก้นยังติดอยู่”
ลำดับที่ 456. “หันไม้เนิ้ง จะไปเบี้ยวปากใส่”
อ่าน (-หัน-ไม้-เนิ้ง///จะ-ไป-เบี้ยว-ปาก-ใส่-)
หมายถึง.... อย่าดูถูกผู้อื่น ซ้ำเติมผู้ที่ประสบเคราะห์กรรม และไม่เป็นคนที่ชอบติไปทุกเรื่อง
กำบ่าเก่าจึงว่า “หันไม้เนิ้ง จะไปเบี้ยวปากใส่”
การนำไปใช้ อย่าดูถูกดูแควนผู้อื่นผู้อื่น
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ไม้ลำต้นไม่ตรง อย่าเบือนปากให้”
ลำดับที่ 457. “เหล็กดีบ่ต้องตี๋หลายเต๋า” อ่าน (-เหล็ก-ดี-บ่อ-ต้อง-ตี๋-หลาย-เต๋า-)
หมายถึง...คนดีมีความฉลาด ไม่ต้องอบรมสั่งสอนมากนัก กำบ่าเก่าจึงว่า “เหล็กดี บ่ต้องตี๋หลายเต๋า”
การนำไปใช้ หมั่นศึกษาหาความรู้ เชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้อาวุโส จะได้เป็นคนมีคุณภาพ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “เหล็กเนื้อดี ไม่ต้องนำไปตีหลายเตา”
ลำดับที่ 458. “เหล็กตั๋วบ่คม เอาไปสิ่วไม้ มันจ้างอ่อนเป้อที่ลูน”
อ่าน (-เหล็ก-ตั๋ว-บ่อ-คม///เอา-ไป-สิ่ว-ไม้///มัน-จ้าง-อ่อน-เป้อ-ที-ลูน-)
หมายถึง….ถ้าเป็นคนมีความรู้น้อย อย่าอวดฉลาดกับผู้รู้ จะพบความอับอายขายหน้า
กำบ่าเก่าจึงว่า “เหล็กตั๋วบ่คม เอาไปสิ่วไม้ มันจ้างอ่อนเป้อที่ลูน”
การนำไปใช้ อย่าอวดเก่งกับผู้รู้
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “กบในกะลา”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “สิ่วเหล็กของตนเองไม่คม เอาไปสิ่วไม้ มักจะบิ่นเสียหาย”
ลำดับที่ 459. “หล็วกก๊านแหลม” อ่าน (-หล็วก-ก๊าน-แหลม-)
หมายถึง.....ผู้ที่มีปฏิภาณไหวพริบดี ย่อมชนะผู้ที่มีแต่ความฉลาดแต่ไม่หลักแหลม
กำบ่าเก่าจึงว่า “หล็วกก๊านแหลม”
การนำไปใช้ ใช้ไหวพริบปฏิภาณในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ฉลาดว่าแน่ยังแพ้ปฏิภาณไหวพริบ”
ลำดับที่ 460. “หล็วกบ้านนอกบ่เต้าสอกกอกในเวียง สิบในเวียงบ่เปียงในคอก
สิบในคอกบ่เต้าวอกขี้ยา สิบขี้ยาบ่เต้าฮาจะหื้อ สิบจะหื้อบ่เต้าดักจื้อกื้อเตียวหนี”
อ่าน (-หล็วก-บ้าน-นอก-บ่อ-เต้า-สอก-กอก-ใน-เวียง/สิบ-ใน-เวียง/บ่อ-เปียง-ใน-คอก/สิบ-ใน-คอก-บ่อ-เต้า-วอก-ขี้-ยา/สิบ-ขี้-ยา-บ่อ-เต้า-ฮา-จะ-หื้อ/สิบ-จะ-หื้อ-บ่อ-เต้า-ดัก-จื้อ-กื้อ-เตียว-หนี-)
หมายถึง....ความโกหก ตอแหลของคนนั้นมีมากหลายชั้นเชิงลีลาท่าทาง
กำบ่าเก่าจึงว่า “หล็วกบ้านนอก บ่เต้าสอกกอกในเวียง สิบในเวียงบ่เปียงในคอก สิบในคอกบ่เต้าวอกขี้ยา สิบขี้ยาบ่เต้าฮาจะหื้อ สิบจะหื้อ บ่เต้าดักจื้อกื้อเตียวหนี”
การนำไปใช้ อย่าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคนพาล
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “โกหกตอแหล”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ฉลาดบ้านนอกหรือจะสู้โง่ในเมือง โง่ในเมืองยังพ่ายแพ้ความตอแหล คนขี้คุก ขี้คุกว่าแน่ยังพ่ายแพ้พวกติดยา พวกติดยายังแพ้พวกสัญญาว่า เดี๋ยวให้เดี๋ยวให้ (แต่ไม่ให้สักที)
ทั้งหมดยังแพ้พวกสุดท้าย คือพวกไม่พูดไม่จาแต่ว่า เดินหนีลูกเดียว”
ลำดับที่ 461. “หล็วกคนเดียว บ่เต้าเง่าตึงหมู่”
อ่าน (-หล็วก-คน-เดียว///บ่อ-เต้า-เง่า-ตึง-หมู่-)
หมายถึง.....ฉลาดแต่ผู้เดียวในหมู่คนโง่ ก็ไม่มีประโยชน์
กำบ่าเก่าจึงว่า “หล็วกคนเดียว บ่เต้าเง่าตึงหมู่”
การนำไปใช้ ในบางเรื่องบางครั้งต้องตามคนหมู่มาก ขัดแย้งไปก็เสียเวลาเปล่า
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ฉลาดคนเดียว ไม่เท่าโง่ทั้งกลุ่ม”
ลำดับที่ 462. “หื้ออยู่ดีๆ อย่าหาเหล็กจีมาคว่านก้น”
อ่าน (-หื้อ-หยู่-ดี-ดี///หย่า-หา-เหล็ก-จี-มา-คว่าน-ก้น-)
หมายถึง….อย่าหาเรื่องร้ายมาให้ตัวเอง
กำบ่าเก่าจึงว่า “หื้ออยู่ดีๆ อย่าหาเหล็กจีมาคว่านก้น”
การนำไปใช้ อย่าไปหาเรื่องมาให้ตัวเองเดือดร้อน
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ แกว่งเท้าหาเสี้ยน///เอามือซุกหีบ///หาเหาใส่หัว”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ให้อยู่อย่างสงบ อย่าเที่ยวหาสว่านมาเจาะตูดตนเอง”
ลำดับที่ 463. “หื้อฮู้แก่หู หื้อดูแก่ต๋า หื้อพิจารณาถี่ๆ”
อ่าน (-หื้อ-ฮู้-แก่-หู-หื้อ-ดู-แก่-ต๋า///หื้อ-ปิ๊ด-จา-ระ-นา-ถี่-ถี่-)
หมายถึง….ก่อนจะตัดสินใจใดๆ ควรพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ
กำบ่าเก่าจึงว่า “หื้อฮู้แก่หู หื้อดูแก่ต๋า หื้อพิจารณาถี่ๆ”
การนำไปใช้ ควรมีความละเอียดรอบคอบ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ให้ได้ยินกับหู ให้ได้ดูกับตา พิจารณารอบคอบ”
ลำดับที่ 464. “หื้อทำตั๋วเป๋นนกยางขอก กันบินออกหื้อเปิ้นหันขาว”
อ่าน (-หื้อ-ทำ-ตั๋ว-เป๋น-นก-ยาง-ขอก-///กัน-บิน-ออก-หื้อ-เปิ้น-หัน-ขาว-)
หมายถึง…..คนที่หมั่นทำความดีสม่ำเสมอ ย่อมเป็นที่เลื่องลือ มีคนรู้จักยกย่องสรรเสริญ
กำบ่าเก่าจึงว่า “หื้อทำตั๋วเป๋นนกยางขอก กันบินออกหื้อเปิ้นหันขาว”
การนำไปใช้ หมั่นกระทำความดีกับสังคม
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ควรทำตัวเหมือนนกกระยาง ยามโผบินเห็นขนสีขาวสวยงาม”
ลำดับที่ 465. “หมูไถนาหมาล่นลัด” อ่าน (-หมู-ไถ-นา-หมา-ล่น-ลัด-)
หมายถึง.....เราลงมือกระทำแต่ผู้อื่นมาฉกฉวยผลประโยชน์ไป
กำบ่าเก่าจึงว่า “หมูไถนา หมาล่นลัด”
การนำไปใช้ ระวังดูแลผลประโยชน์ของตนเอง
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ชุบมือเปิบ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “หมูไถนา หมาวิ่งลัด” (คำนี้มาจากนิทานที่เล่ากันต่อๆมาว่า เทวดาคิดจะเสกข้าวกับรำให้สัตว์สองชนิดกินคือหมูกับหมา แต่ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะให้ใครกินรำหรือกินข้าว จึงบอกว่าใครไถพื้นดินเพื่อปลูกข้าวได้จะให้กินข้าว หมูจึงก้มหน้าก้มตาเอาจมูกไถดินไปเรื่อยๆ เหนื่อยเพลียก็หลับไป หมาจึงแอบวิ่งลัดบริเวณที่ดินที่หมูไถทิ้งไว้ ปรากฎเป็นรอยเท้าหมาเต็มไปหมด เทวดาจึงเสกให้หมาได้กินข้าว ส่วนหมูให้กินแกลบรำตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา)
ลำดับที่ 466. “หางหมาลอดฮั้ว ถุดถู้ถุดถู คนเนรคุณ ฮ้ายหลัง ดีหน้า”
อ่าน (-หาง-หมา-ลอด-ฮั้ว///ถุด-ถู้-ถุด-ถู///คน-เน-ระ-คุน//ฮ้าย-หลัง-ดี-หน้า-)
หมายถึง.....คนเนรคุณ ต่อหน้าทำดี ลับหลังนินทาว่าร้าย
กำบ่าเก่าจึงว่า “หางหมาลอดฮั้ว ถุดถู้ถุดถู คนเนรคุณ ฮ้ายหลัง ดีหน้า” การนำไปใช้ อย่าใกล้คนชั่ว
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก///หน้าไหว้หลังหลอก”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “สุนัขลอดรั้ว ลำบากลำบน คนเนรคุณ หน้าไหว้หลังหลอก”
ลำดับที่ 467. “แหไปเต๊อะนก หล้างถูกบ้วงสักวัน ด้วงอยู่ในไม้ ไผผ่อบ่หัน
จักต๋ายสักวัน กับนกบ่าแห้”
อ่าน (-แห-ไป-เต๊อะ-นก///หล้าง-ถูก-บ้วง-สัก-วัน///ด้วง-อยู่-ใน-ไม้///ไผ-ผ่อ-บ่อ-หัน///
จัก-ต๋าย-สัก-วัน///กับ-นก-บ่า-แห้-)
หมายถึง.....อย่าหยิ่งผยองจนเกินไป สักวันเกิดพลาดพลั้งเสียที จะโดนคนสมน้ำหน้า
กำบ่าเก่าจึงว่า “แหไปเต๊อะนก หล้างถูกบ้วงสักวัน ด้วงอยู่ในไม้ ไผผ่อบ่หัน จักต๋ายสักวัน กับนกบ่าแห้”
การนำไปใช้ อย่าหยิ่งผยอง
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “จองหองพองขน”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “อย่าหยิ่งนกน้อย จะโดนบ่วงแร้ว ด้วงในโพรงไม้ ไม่มีใครเห็น ยังโดน